fbpx

เริ่มต้นปรับปรุงกระบวนการ ด้วยการขจัดความสูญเสีย 8 ประการในการทำงาน

ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างนี้ พนักงานหลาย ๆ คนคงได้รับมอบหมายนโยบายจากผู้บริหาร หัวหน้างาน ให้ช่วยกันหาแนวทางในการปรับปรุงงาน เพื่อลดต้นทุนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต

หลายคนอาจจะเริ่มต้นไม่ถูก ไม่รู้จะมองหาไอเดียในการลดต้นทุนอย่างไร ?

เทคนิคหนึ่งที่อยากจะแนะนำ ก็คือ ให้ลองเริ่มต้นค้นหาจากการทำงานรอบ ๆ ตัว ว่ามีความสูญเสียอะไรบ้างหรือเปล่า ?

8 wastes

ความสูญเสียโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกออกได้ 8 ประเภทด้วยกัน

Defects – งานผิด คือ การทำงานผิดพลาด เกิดงานเสียเกิดขึ้น ทำให้ต้องทิ้งชิ้นงานนั้นหรือต้องเสียเวลาและทรัพยากรมาแก้ไขงานให้ถูกต้อง ทำให้ต้นทุนของธุรกิจสูงขึ้น ถ้าของเสียเหล่านี้หลุดถึงมือลูกค้าก็จะเกิดข้อร้องเรียนและทำให้บริษัทเสียชื่อเสียงและธุรกิจในอนาคตได้

Overproduction – ผลิตเกิน คือ การผลิตที่มากเกินไป เกินกว่าความต้องการของลูกค้า ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตและการดำเนินงานสูงขึ้น ความสูญเสียข้อนี้ถือเป็นต้นตอของความสูญเสียอีกหลายๆ ข้อตามมา เช่น เมื่อผลิตมากเกินไป ก็ทำให้เกิดสินค้าคงคลังมาก พอมีสินค้าคงคลังมากก็ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายงานที่เกินจำเป็น ทำให้เกิดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นในการจัดเก็บและตรวจสอบ เร่งผลิตมากก็อาจทำให้เกิดปัญหาคุณภาพและความผิดพลาดในการทำงาน

Waiting – คอยนาน คือ การรอคอยงาน อันเนื่องมาจากกระบวนการก่อนหน้า หรือขั้นตอนก่อนหน้า ทำให้ความเร็วในการทำงานไม่สอดคล้อง เช่น ต้องหยุดรอเครื่องจักรกำลังซ่อม หยุดรอคอยคำสั่งในการทำงาน การรอคอยทำให้ใช้ประโยชน์จากแรงงานและเครื่องจักรได้ไม่เต็มที่ ทำให้เสียเวลาในการทำงานมากกว่าปกติ

Non-Utilized Talent – ใช้คนไม่ตรงกับงาน คือ การที่ไม่สามารถใช้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ได้เต็มประสิทธิภาพ

Transportation – ย้ายบ่อย คือ การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ งานระหว่างกระบวนการ สินค้าสำเร็จรูปจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ซึ่งการเคลื่อนย้ายที่บ่อย ซ้ำซ้อน มากเกินความจำเป็น ทำให้สถานที่ปฏิบัติงานดูสับสนวุ่นวาย และเสี่ยงต่อการทำให้งานเสียหายหรือเกิดอุบัติเหตุ

Inventory – สต็อกบาน คือ มีการเก็บ Stock วัตถุดิบ สินค้าในกระบวนการผลิต (Work In Process, WIP) และ Stock สินค้าสำเร็จรูปมากเกินความจำเป็น ซึ่งนับเป็นต้นทุน (Cost) มหาศาลของธุรกิจ เพราะมูลค่าของStock วัตถุดิบ สินค้าในกระบวนการผลิต (Work In Process, WIP) และ Stock สินค้าสำเร็จรูป คือ เงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจที่จมอยู่ในโรงงาน

Motion – เดิน เอื้อม หัน คือ การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นในการทำงาน เช่น การเสียเวลาหาของที่ต้องใช้งานเนื่องจากจัดของไม่เป็นระเบียบ การปฏิบัติงานในท่าทางที่ต้องเอื้อมตลอดเวลา ซึ่งส่งผลทำให้ความสามารถในการทำงานมีค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น  ทำให้เกิดการเมื่อยล้าในการทำงาน

Extra-processing – ขั้นตอนไร้ค่า คือ งานที่มีขั้นตอนมากเกินความจำเป็น หรือมีขั้นตอนการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้ใช้เวลาและทรัพยากรในการทำงาน เช่น คน เครื่องจักร วัตถุดิบ มากขึ้น ผลที่เกิด คือ การทำงานเป็นไปอย่างเชื่องช้า ลูกค้าต้องรอคอยสินค้าและบริการเป็นเวลานาน และต้นทุนของธุรกิจสูงขึ้น

8 ความสูญเสียที่ได้กล่าวมานั้น เรียกย่อ ๆ เป็นภาษาอังกฤษ ได้ว่า

“DOWNTIME”

หรือจะเรียกเป็นภาษาไทยให้คล้องจองกันก็ได้

“ย้ายบ่อย คอยนาน สต็อกบาน งานผิด ผลิตเกิน เดิน เอื้อม หัน ขั้นตอนไร้ค่า ใช้คนไม่ตรงกับงาน”

สิ่งที่น่ากลัวที่สุด ในบรรดา ความสูญเสีย 8 ประการ  นี้ มีอยู่ 2 ประเภท คือ Inventory และ Overproduction เพราะนอกจากจะทำให้เงินทุนไปจมอยู่กับ มูลค่า Stock วัตถุดิบ, มูลค่าสินค้าระหว่างผลิต WIP (Work in Process) และมูลค่า Stock สินค้า แล้ว ยังเป็นเสมือนม่านลวงตาที่จะคอยหลอกเราว่ากระบวนการทำงานราบรื่นไม่มีปัญหา เพราะมีสินค้าพร้อมส่งลูกค้าอยู่ตลอดเวลา แต่แท้ที่จริงแล้วภายในยังมีความสูญเสียอื่น ๆ อีกมากมาย

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

086-7771833

สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมได้ในหลักสูตร

“Business Process Improvement by Lean Thinking”

“7 Wastes – เทคนิคการลดความสูญเสียทั้ง 7 ประการ”

สนใจติดต่อฝึกอบรม

A@LERT Learning and Consultant

098-7633150 (มิลค์)

081-7113466 (เพชร)

LINE : @Lert

E-mail : contact@nairienroo.com

Related Posts