fbpx

พัฒนาตนเองจากโลกภายในด้วย "ซาเทียร์"

satir-book

โลกแห่งการเรียนรู้ยังคงก้าวเดินต่อไป วันนี้ก้าวมาสู่การเรียนรู้โลกภายในกับ “ซาเทียร์” ที่จัดโดย เสมสิกขาลัย นำโดยกระบวนกร 3 ท่าน คือ

  1. ศ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ
  2. นพ.ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์
  3. คุณศิริวรรณ ทวีวัฒนปรีชา

เริ่มต้นกิจกรรมในวันนี้ กระบวนกรได้ชวนเราให้สำรวจในข้อดีของตนเอง มองเห็นคุณค่าในตนเอง ให้เราจับคู่และเล่าข้อดีของตนเองให้คู่ของเราฟัง และเมื่เราเป็นผู้รับฟังก็ขอให้ฟังด้วยความชื่นชม Appreciate Listening

จากนั้นกระบวนกรก็นำเราให้ทำความเข้าใจในเรื่องความสอดคล้องกลมกลืน (Congruence) ผ่านวงกลมแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่าง Self-Other-Context ที่เราต้องอยู่ในสภาวะที่สมดุล คือ ตัวเราเองไม่เดือดร้อน ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ไม่ทำให้บริบทโดยรอบได้รับผลกระทบ

สิ่งหนึ่งที่กระบวนกรชวนให้เราตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้ของเราเอง คือ หลังจากผ่าน 3 วันนี้ไปแล้วอยากให้ตัวเองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างไร ?

Satir Model ถูกพัฒนาและคิดค้นโดย Virginia Satir สตรีชาวอเมริกัน โดยเป็นแนวคิดด้นจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ความเข้าใจตนเอง ให้ความสนใจความสัมพันธ์ระหว่าง ฉันกับฉัน เป็นสำคัญ

“ซาเทียร์” ให้เรายอมรับตัวเองในความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ 100% บางครั้งอาจปิดประตูแล้วหนีบมือตัวเอง บางครั้งก็ใช้มีดแล้วมีดบาดโดนนิ้ว บางครั้งอาจมาสายบ้าง มันเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ โกรธก็ให้รู้ว่าโกรธ แต่ต้องควบคุมพฤติกรรมการแสดงความโกรธให้อยู่ในขอบเขตที่ไม่ไปทำร้ายคนอื่น

ร่างกายคนเราต้องการ “อาหารหล่อเลี้ยงร่างกาย” ฉันใด ก็ย่อมต้องการ “อาหารหล่อเลี้ยงจิตใจ” ฉันนั้น

“อาหารใจ” 10 หมู่หลัก ๆ ที่คนต้องการ ได้แก่

  1. ความรัก
  2. การยอมรับ
  3. ความเป็นอิสระ
  4. ความชื่นชม
  5. ความรู้สึกมีคุณค่า
  6. ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
  7. ความมั่นคงปลอดภัย
  8. ความสัมพันธ์เชื่อมโยง
  9. ความใกล้ชิด
  10. ความสงบสันติ

เราต้องหมั่นคอยสังเกตว่าจิตใจเราทำงานอย่างไร เวลามีอะไรเข้ามากระทบเรา เรามีความคิดอย่างไร เรามีความรู้สึกอย่างไร

การทำความเข้าใจการทำงานของจิตใจค่อนข้างเป็นเรื่องนามธรรมที่จับต้องได้อย่าง ไม่เหมือนร่างกายที่มีการศึกษาการทำงานของร่างกายโดย “กายวิภาค” ในด้านจิตใจนั้น เราใช้แนวคิดในเรื่องภูเขาน้ำแข็ง มาใช้เป็นแผนที่แสดงกลไกการทำงานของจิตใจ

iceber-metaphor

สิ่งที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง จะทับซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ

  1. Feeling – อารมณ์ ความรู้สึกที่เราแสดงออก
  2. Feeling about Feeling – อารมณ์ ความรู้สึก ที่มีต่อความรู้สึกที่เราแสดงออก เช่น เรามีความรู้สึกผิดที่เราแสดงความโมโหออกไป
  3. Perception – ความคิดที่เรามีต่อตนเอง (Self) ต่อผู้อื่น (Other) ต่อบริบท (Context)
  4. Expectation – ความคาดหวังที่เรามีต่อตนเอง (Self) ต่อผู้อื่น (Other) ต่อบริบท (Context)
  5. Yearning – อาหารใจ
  6. Self – พลังชีวิต

การเปลี่ยนแปลงตนเองภายใต้แนวคิดภูเขาน้ำแข็ง อยู่ที่ว่าเราจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงในส่วน Feeling, Perception, Expectation หรือต้องเข้าไปเติมเต็มอาหารใจ เช่น เด็กแว๊นท์ที่เขามีพฤติกรรมแสดงออกเช่นนั้น เพราะต้องการได้รับการยอมรับ

สิ่งที่ต้องค้นหาก็คือ เราเอาตัวเองไปผูกติดกับเงื่อนไขบางอย่างมากจนเกินไปหรือไม่ ? เช่น

  • ฉันจะรู้สึก มั่นคง ก็ต่อเมื่อ …
  • ฉันจะรู้สึก เป็นที่ยอมรับ ก็ต่อเมื่อ…
  • ฉันจะรู้สึก เป็นที่รัก ก็ต่อเมื่อ…
  • ฉันจะรู้สึก เป็นอิสระ ก็ต่อเมื่อ…

จงยอมรับในสิ่งที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบัน ต้องเริ่มจากการตระหนักรู้ ยอมรับ จึงจะนำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงตนเอง

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts