fbpx

"Thought Model" แผนภาพความคิดเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์

illo_mental_model

เมื่อเริ่มต้นที่จะวิเคราะห์เรื่องใด สิ่งสำคัญเลย ก็คือ ทุกคนในทีมจะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันเสียก่อน การใช้คำพูดเพียงอย่างเดียวในการสื่อสาร ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้

เครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยทำให้เราสื่อสารกันเข้าใจถูกต้องตรงกัน ก็คือ การเขียนออกมาเป็นแผนภาพความคิด (Thought Model) ซึ่งแผนภาพความคิดอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเด็นที่เราพูดคุยกันอยู่ เช่น

  • เราอาจจะเลือกใช้ Ansoff Matrix ในการพูดคุยกันในกรณีที่เรากำลังคุยกันในเรื่องกลยุทธ์ด้านการตลาด

Ansoff-matrix

  • เราอาจจะเลือกใช้ Five Force Analysis เมื่อเรากำลังวิเคราะห์ภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่เราอยู่

porters-five-forces-3-638

  • เราอาจจะเลือกใช้ Value Stream Mapping เมื่อเราต้องการมองภาพรวม เพื่อลดความสูญเสียต่าง ๆ

VSM-example

ยังมีรูปแบบ Thought Model อื่น ๆ อีกมากมาย หรือในบางเรื่องก็จะมี Template หลักให้คุณนำไปประยุกต์ใช้ได้อยู่แล้ว ในบางเรื่องคุณอาจจะต้องเขียนแผนภาพความคิด (Thought Model) ของคุณขึ้นมาเอง

การเขียนแผนภาพความคิด (Thought Model) มีหลักเกณฑ์พื้นฐานอยู่หลัก ๆ ดังนี้

  1. Objective – วัตถุประสงค์ของเรื่องที่ทำการคุยกัน วิเคราะห์กัน
  2. Key Element – ประเด็นที่คุยกันมีอะไรเป็น Key Element ที่สำคัญ
  3. Relation – แต่ละ Key Element มีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดยดูความสัมพันธ์ในเชิง Logic and Linkage ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบพื้นฐาน ได้แก่ Tree Diagram, Matrix เป็นต้น

ดูรายละเอียดหลักสูตร “Systems Problem Solving and Decision Making”

สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466

contact@nairienroo.com

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts