ปี 2016 ที่ผ่านมา นับว่าเป็นปีที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติมในหลายเรื่อง ในหลากหลายมิติ ในหลากหลายบทบาท บทบาทหุ้นส่วนร้าน House of Commons-Cafe&Space มีความสุขในการทำงานในบทบาทนี้มากที่สุด ดีใจที่ร้าน House of Commons-Cafe&Space ได้เป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างความคิดเห็นต่างอย่างแท้จริง ดีใจที่เพชรมีความสุขในการทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Project Manager หนังสือ “ถูกทางเกรียน เมื่อลูกเปลี่ยนเรา” ของอาจารย์ต้น
Tag: Life is Learning
หากพูดถึงคำว่าเป้าหมาย หลาย ๆ คนคงคิดถึงเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องส่วนตัว หรือในเรื่องงาน เป้าหมายนั้นอาจมีที่มาที่แตกต่างกันออกไป บางส่วนมาจากที่คนอื่นกำหนดให้ บางส่วนเราอาจจะต้องเป็นคนกำหนดเป้าหมายขึ้นมาเอง เมื่อมีค่าเป้าหมายตั้งไว้ ก็ต้องนำมาเปรียบเทียบกับค่าปัจจุบันที่เป็นอยู่ ก็จะเห็นช่องว่างระหว่างค่าเป้าหมายกับค่าปัจจุบัน นั่นคือสิ่งที่เป็นปัญหา (Problem) ที่เราต้องขจัดให้หมดไป หรือมองในอีกมุมหนึ่งมันคือความท้าทาย (Challenge) ที่เราต้องก้าวไปให้ถึง ดังนั้นเป้าหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการแข่งขัน และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ลองนึกภาพดูสิครับถ้าการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ อย่างเช่น การแข่งขันวิ่ง 100
“San Francisco becomes first city to ban the sale of plastic bottles” ได้อ่านข่าวนี้ทาง Facebook เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้นึกถึง “แป๊ะเก็บขวด” คนหนึ่ง ที่ทุกเย็นจะแวะมาที่ร้าน House of Commons – Cafe&Space เพื่อมาเก็บขวดแก้ว
“ความกลัว ความเชื่อ อำนาจ” (บทความนี้ถูกตีพิมพ์ลงใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2559) ครอบครัวนับเป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด แต่นับเป็นหน่วยทางสังคมที่ทรงอิทธิพลมากต่อการเติบโตของเด็กคนหนึ่ง เพราะเด็กจะเติบโตมาภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผู้นำครอบครัว ผู้ที่มีอิทธิพลสูงสุดในครอบครัว (ไม่ว่าจะเป็นพ่อ หรือจะเป็นแม่ หรือจะเป็นพ่อและแม่ทั้งสองคนที่มีอิทธิพลร่วมกัน) เป็นผู้กำหนดให้ ซึ่งเป็นไปตามความเชื่อ ความปราถนาดีที่คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็กเหล่านั้น ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อของผู้นำครอบครัว ก็คือ ประสบการณ์ที่ตนเองประสบพบเจอมาในแต่ละช่วงวัย ทำให้เกิดความระแวดระวัง ความกลัวต่อสภาพแวดล้อมของสังคมภายนอกที่เป็นอันตราย ทำให้เกิดเบ้าหลอมทางความคิดชุดหนึ่งขึ้นมาจนกลายเป็นความเชื่อว่าสภาพแวดล้อมใดที่ดีต่อเด็ก
(บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม 2558) “เรากำลังแสวงหาอะไร ?” หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับประโยคนี้ เมื่อเอ่ยถึงชื่อหนังสือของท่าน จ.กฤษณมูรติ แต่ในบทความวันนี้ คงจะไม่ได้นำเนื้อหาในหนังสือเล่มดังกล่าวมาเล่าสู่กันฟังแต่อย่างใด แต่อยากจะชวนท่านผู้อ่านใคร่ครวญ และขบคิดไปด้วยกัน เนื่องในโอกาสที่ปี ๒๕๕๘ กำลังจะผ่านพ้นไป และปีพุทธศักราชใหม่ ๒๕๕๙ กำลังจะเริ่มต้นขึ้น “เรากำลังแสวงหาอะไร ?” เป็นประโยคคำถามที่ดีเลยทีเดียว ที่ทำให้ตัวเรานั้นต้องหยุดคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะก้าวเดินต่อไป
(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ 23/11/2557) ในชีวิตของทุกคนไม่ว่าผู้ใหญ่ หรือเด็ก ล้วนแต่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างต่างนานา ไม่ว่าจะเล็กหรือว่าใหญ่ เพียงแต่ใครจะมองว่าสิ่งนั้นเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้น หรือเป็นสิ่งนั้นเป็นความท้าทายที่ทำให้เราเติบโตทางปัญญา แท้ที่จริงแล้วประเภทของปัญหา สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท Standard Problem คือ ความแตกต่างระหว่าง “สิ่งที่เป็นอยู่” กับ “สิ่งที่ควรจะเป็น” Challenge
(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ 23/11/2557) ในชีวิตของทุกคนไม่ว่าผู้ใหญ่ หรือเด็ก ล้วนแต่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างต่างนานา ไม่ว่าจะเล็กหรือว่าใหญ่ เพียงแต่ใครจะมองว่าสิ่งนั้นเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้น หรือเป็นสิ่งนั้นเป็นความท้าทายที่ทำให้เราเติบโตทางปัญญา แท้ที่จริงแล้วประเภทของปัญหา สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท Standard Problem คือ ความแตกต่างระหว่าง “สิ่งที่เป็นอยู่” กับ “สิ่งที่ควรจะเป็น” Challenge
ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้ไปบรรยายหลักสูตร “Heart of Analytical Thinking skills – HATs) ให้กับครูผู้บริหารโรงเรียน และบุคลากรผู้สอน ของ โรงเรียนหินกอง (พิบูลอนุสรณ์) จ.สระบุรี และโรงเรียนบ้านเขาแดง (ราษฎร์อุปถัมภ์) จ.สงขลา ภายใต้การสนับสนุนจาก ปตท. ในชื่อโครงการ “โรงเรียนพลังไทย” เพื่อพัฒนาแลกเปลี่ยนทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์
เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2557 ผู้เขียนได้ไปร่วมงานสัมมนา “Super Corporate Power สร้างพลังเพื่อองค์กรที่แข็งแกร่ง” ที่จัดโดย ธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับ นานมีบุ๊คส์ ก่อนเริ่มงานสัมมนาผู้เขียนได้แวะเลือกซื้อหนังสือที่บูธของนานมีบุ๊คส์ หนึ่งในหนังสือเล่มหนึ่งที่เลือกมาวันนั้น และอยากจะหยิบมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ คือ หนังสือที่ชื่อว่า “คุยกับลูกด้วยวิธีชี้แนะดีกว่า Coaching Conversation” น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่ทำหน้าที่วิทยากร และที่ปรึกษาอย่างผม ที่หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอมุมมองในการนำทักษะการ Coaching
(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ 13/07/2557) “Please listen carefully and try to hear what i am not saying” – Charles Finn สุ-จิ-ปุ-ลิ ทักษะการฟัง คือ