Facilitator หรือที่เราคุ้นหูกันในภาษาไทยคือ “กระบวนกร” ในขณะที่อีกหลายคนเรียกว่า นักอำนวยการเรียนรู้, นักไกล่เกลี่ย ฯลฯ และไม่ว่าจะมีชื่อเรียกใด Guru กล่าวถึงบทบาทของ “กระบวนกร” ว่าหมายถึง “ผู้ดำเนินกระบวนการเพื่อให้เกิดความง่ายต่อกลุ่มผู้มีส่วนร่วมเพื่อบรรลุข้อสรุปร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (to make things easy for participants to conclude something together)”. กลุ่มผู้มีส่วนร่วมหรือกลุ่มผู้เกี่ยวข้องอาจหมายถึงสมาชิกในองค์กรเดียวกัน หรือผู้มีส่วนร่วมจากต่างองค์กร
Tag: Facilitator
เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2557 ผู้เขียนได้ไปร่วมงานสัมมนา “Super Corporate Power สร้างพลังเพื่อองค์กรที่แข็งแกร่ง” ที่จัดโดย ธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับ นานมีบุ๊คส์ ก่อนเริ่มงานสัมมนาผู้เขียนได้แวะเลือกซื้อหนังสือที่บูธของนานมีบุ๊คส์ หนึ่งในหนังสือเล่มหนึ่งที่เลือกมาวันนั้น และอยากจะหยิบมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ คือ หนังสือที่ชื่อว่า “คุยกับลูกด้วยวิธีชี้แนะดีกว่า Coaching Conversation” น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่ทำหน้าที่วิทยากร และที่ปรึกษาอย่างผม ที่หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอมุมมองในการนำทักษะการ Coaching
(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ 08/06/2557) “ครูที่ดี จุดประกาย ความใฝ่รู้ ให้เด็กสู้ สร้างสรรค์สิ่งปราถนา ครูไม่ดี ยึดอัตตา ตนเป็นใหญ่ กดเด็กไว้ ด้วยความรู้ ในกะลา” บทกลอนข้างต้นเป็นบทกลอนที่ผู้เขียนแต่งขึ้นเองจากประสบการณ์ที่ได้ไปเป็นคุณครูที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ต้องยอมรับกันว่า ความสำคัญของอาชีพครูที่ได้ชื่อว่าเป็นแม่พิมพ์ของชาติ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศ แต่กลับไม่ได้รับการเหลียวแลให้ความสำคัญจากรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด อาชีพครูนับว่าได้เงินเดือนน้อยมาก เมื่อเทียบกับอาชีพอื่น
(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ 05/01/2557) ในช่วงที่ผู้เขียนได้มีโอกาสทำงานในธุรกิจกระดาษและบรรจุภัณฑ์ เครือซิเมนต์ไทย SCG-Paper ระหว่างปี 2540-2549 ผู้เขียนได้มีโอกาสทำงานในหลากหลายตำแหน่ง หนึ่งในนั้น คือ ตำแหน่ง Learning Facilitator ในช่วงนั้นผู้เขียนเรียนรู้ในการเป็น Learning Facilitator จากการไปเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ในแนวทาง Constructionism ที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ที่คุณพารณ