การแก้ไขปัญหาสังคมในปัจจุบันนั้น คงไม่สามารถที่จะโยนความรับผิดชอบไปให้ภาครัฐเพียงอย่างเดียว ด้วยศักยภาพในเรื่องทรัพยากร และความเชี่ยวชาญหลักของบริษัทเอง จึงมีหลาย ๆ องค์กรนำแนวคิดของการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value – CSV) ที่ Michael E. Porter ได้นำเสนอไว้ว่า “CSV คือ การนำวิธีการทางธุรกิจมาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม โดยคำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ มาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน” โดยการดำเนินงานภายใต้แนวคิด CSV จะอยู่ภายใต้เงื่อนไข
Tag: CSR-DIW
“ช่องสาริกา โมเดล” นับเป็นแนวคิดในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนของเครือเบทาโกร ที่ได้นำแนวคิดในด้าน Productivity Management เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านใน ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี โดยล่าสุดได้ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Productivity World ของ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ฉบับที่ 119 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558) ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่จบปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์อย่างคุณวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ทำให้มองว่าการทำ CSR แบบเดิม ๆ
ข่าวคราวความเคลื่อนไหวที่เป็นประเด็นใหญ่อีกประเด็นหนึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ การออกมารวมตัวคัดค้าน “ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. …” เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา โดยข้อเท็จจริงแล้วในเรื่องสิทธิการรับรู้เรื่อง GMOs ของผู้บริโภคในประเทศไทยฉลาก มีมานานตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ครอบคลุมอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารที่มี GMOs เพียง 2 ชนิด คือ ถั่วเหลืองและข้าวโพด ใน
ในปัจจุบันหลายธุรกิจมีการนำระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (contract farming) มาใช้ในการจัดการบริหารความแน่นอนของแหล่งวัตถุดิบของบริษัท โดยมองว่าวัตถุดิบเป็นแหล่งต้นน้ำที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิต หากเกิดการขาดแคลน ไม่มีคุณภาพ และจำนวนไม่แน่นอน จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตในขั้นต่อไป จะว่าไปแล้ว คอนแทรคฟาร์มมิ่ง ถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะมีหลายบริษัทที่ใช้ระบบนี้ในการทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จ เช่น บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) หรือเครือเบทาโกร ที่ทำระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งโดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีมานานกว่า 30 ปี ก็ประสบความสำเร็จดีทั้งบริษัทและเกษตรกร ข้อดีของการทำคอนแทรคฟาร์มมิ่ง 1. เกษตรกรมีผลผลิตขายแน่นอน
ข่าวอื้อฉาว ในวงการยานยนต์ของโลก เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายน 2558 ที่ผ่านมา ที่ปรากฏเป็นข่าวว่าค่ายรถยนต์ชื่อดังจากเยอรมนี ถูกจับได้ว่ามีการติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อโกงผลการทดสอบการปล่อยมลภาวะ โดยซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งในรถยนต์ดังกล่าวจะสามารถตรวจจับได้ว่ารถยนต์ไม่ได้อยู่ในสภาพการขับขี่ปกติ ก็จะทำการเปิดระบบการควบคุมการปล่อยมลพิษอย่างเต็มที่ เพื่อให้รถยนต์ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบค่ามลพิษของเจ้าหน้าที่ สามารถตรวจวัดได้ค่าสอดคล้องกับมาตรฐานการปล่อยค่ามลพิษตามที่กฎหมายกำหนด แต่เมื่ออยู่ในสภาพการขับขี่ปกติ ระบบการควบคุมการปล่อยมลพิษก็จะไม่ทำงาน เพื่อให้เครื่องยนต์มีสมรรถนะในการขับขี่อย่างสูงสุด เพราะหากระบบการควบคุมการปล่อยมลพิษทำงานก็จะส่งผลต่อสมรรถนะการทำงานของเครื่องยนต์ จะเห็นว่าการดูแลสิ่งแวดล้อม ไม่ได้จำกัดความรับผิดชอบอยู่ที่โรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น บริษัทใด หรือบุคคลใดก็ตามที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นประเด็น การป้องกันมลพิษ (Prevention of pollution) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
“ดูแลพนักงานเสมือนหนึ่ง คนในครอบครัวเดียวกัน” หนึ่งในข้อความที่เห็นติดอยู่ที่โรงงาน ตอนเข้าไปทำงานที่โรงงานเยื่อกระดาษสยาม เครือซิเมนต์ไทย ช่างเป็นถ้อยความที่สร้างความอบอุ่นใจเป็นอย่างมาก และตอนทำงานอยู่ที่เครือซิเมนต์ไทยก็ได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดีทั้งในเรื่อง Safety ในการทำงาน และที่สำคัญอย่างยิ่ง ก็คือ การได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ ตลอดเวลา ในทัศนคติส่วนตัวนั้นในเรื่องการทำ CSR ในประเด็นการปฏิบัติด้านแรงงาน (Labour Practice) ผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง “การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรมจะเกิดขึ้นมิได้เลย หากผู้บริหารองค์กรมองเพียงว่า…พนักงาน เป็น ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource)
เมื่อต้นปีที่ผ่านมาสำนักข่าวชื่อดัง เอพี และ นิวยอร์ก ไทมส์ ได้สืบเสาะและเผยแพร่เรื่องราวการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรมในอุตสาหกรรมประมง ซึ่งกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วประเทศไทยและทั่วโลก โดยอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับตัวแทนจัดจำหน่ายดังที่ข่าวรายงาน คือ ไทยยูเนี่ยน สภาพความเป็นอยู่ตามรายงานที่ว่าในแต่ละวันจะมีอาหารบนเรือใน 1 มื้อ ประกอบด้วยข้าวหนึ่งชาม ผสมกับปลาหมึกต้ม หรือปลาที่ถูกโยนทิ้งอื่นๆ ให้ดื่มน้ำที่ไม่สะอาด และในห้องครัวหรือที่ต่างๆ ก็เต็มไปด้วยแมลงสาบ ห้องน้ำก็เป็นเพียงไม้กระดานที่เคลื่อนออกได้ ยามค่ำคืนสัตว์และแมลงก็มาตอมกินชามข้าวที่ไม่ได้ล้างของลูกเรือ ถูกบังคับให้ทำงานกะละ 20-22 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่มีวันหยุดพัก เกิดคำถามที่ว่ามีการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อแรงงานหรือไม่ ?
การกำกับดูแลองค์กร (Organiztional governance) ไม่เพียงแต่เน้นในเรื่องการบริหารจัดการองค์กรด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้เท่านั้น ตัวอย่างของบริษัท ENRON ถือเป็นกรณีศึกษาในเรื่องการขาดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการทำธุรกิจเป็นอย่างดี โดยบริษัท ENRON มีการทำทุจริตปลอมแปลงตัวเลขทางการเงิน ปกปิดรายจ่าย เพื่อให้งบการเงินของบริษัทดูดีมีกำไรเป็นที่สนใจของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี Arthur Anderson ร่วมกระทำการทุจริตด้วย ท้ายที่สุดต้องถูกฟ้องร้องล้มละลาย และสูญเสียความน่าเชื่อถือ หรืออย่างกรณีล่าสุดที่ผู้บริหาร CP ALL ถูก ก.ล.ต.ปรับ ในการใช้ข้อมูลอินไซด์เดอร์ซื้อหุ้น
ในการทำ CSR สิ่งสำคัญเริ่มเลย คือ การยอมรับต่อความรับผิดชอบต่อสังคม (Recognizing social responsibility) ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมและการตัดสินใจขององค์กร ด้วยความโปร่งใส มีจริยธรรม และให้สำคัญกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้มีส่วนได้เสีย และสังคม ไม่ว่าจะเป็น ระดับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้เสีย ระดับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสังคม ระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกับสังคม เนื่องด้วยการตัดสินใจ และการดำเนินงานขององค์กร ย่อมส่งผลกระทบ (Impacts) ซึ่งประกอบไปด้วยผลประโยชน์ (Interests) และนำไปสู่ความคาดหวัง
ความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม คือ ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมขององค์กร ด้วยความโปร่งใสและมีจริยธรรม โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จะต้องตั้งมั่นอยู่บน หลักการความรับผิดชอบต่อสังคม 7 ประการ 1.หลักการความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในสิ่งที่เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากองค์กร โดยองค์กรควรยอมรับการตรวจสอบ และพร้อมที่จะรับผิดชอบในผลการตรวจสอบนั้น 2.หลักการความโปร่งใส (Transparency) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรมีความโปร่งใสในการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมขององค์กร ที่มีผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม