fbpx

หลายโรงงานที่รับซื้อวัตถุดิบเป็นของสด เพื่อนำเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า น่าจะเจอปัญหาอย่างหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ บางครั้งราคาวัตถุดิบก็ช่างเย้ายวนใจให้ซื้อเสียเหลือเกิน แต่ปริมาณก็อาจจะมีไม่มาก จะเดินเครื่องผลิตที่ไม่รู้จะคุ้มค่าแรง ค่าไฟหรือเปล่า ? ปัญหาในลักษณะนี้ คงต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุนการผลิต (บาทต่อหน่วย) ที่ผันแปรไปตามปริมาณการผลิต (หน่วย) ว่าเป็นเช่นไร ? เพื่อนำข้อมูลในส่วนตรงนี้ไปให้ฝ่ายที่จัดหาวัตถุดิบเข้าโรงงาน ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะรับซื้อหรือไม่ ? จะเห็นได้ว่า การบริหารต้นทุนที่ดี ต้องอาศัยข้อมูลตัวเลขที่แท้จริงของแต่ละส่วน เข้ามาประกอบการพิจารณากันให้ดี สร้างเป็น Model

Read More

ก่อนเริ่มทำกิจกรรมปรับปรุงงานใด ๆ สิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจก่อน ก็คือในเรื่องบัญชีต้นทุน เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนของกิจการเราว่าเป็นอย่างไร ? การทำกิจกรรมปรับปรุงงานแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วม จะต้องเริ่มจากจุดนี้ โดยผู้บริหารระดับสูงขององค์กรจะต้องกำหนดเป้าหมายในภาพรวมว่าต้องการกำไรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ? เมื่อกระจายเป้าหมายไปแล้ว ฝ่ายขายต้องไปทำยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ? ไปลดต้นทุนการบริหารงานขายเท่าไหร่ ? ฝ่ายผลิตต้องไปลดต้นทุนเท่าไหร่ ? ถ้าเราลองไปวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต (Manufacturing Cost) ก็จะประกอบไปด้วยต้นทุนวัตถุดิบ (Raw Material Cost) ต้นทุนโสหุ้ยการผลิต

Read More

หลาย ๆ โรงงานที่ผลิตสินค้าบรรจุถุงขายเป็นแพ็กกรัม แพ็กกิโล ปัญหาอย่างหนึ่งที่ต้องเผชิญก็คือ จะควบคุมกระบวนการบรรจุถุงอย่างไร เพื่อไม่ให้ชั่งน้ำหนักสินค้าขาดไป ต่ำกว่าค่าน้ำหนักที่ระบุไว้ข้างถุง แต่จะชั่งเผื่อเกินไปมาก ก็จะทำให้กำไรหดหาย ดังนั้นในกระบวนการบรรจุถุง (Packing) จะต้องมีการเฝ้าติดตาม (monitor) ขีดความสามารถในการควบคุมกระบวนการ (Process Capability) ว่าสามารถควบคุมค่าน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักสินค้าที่กำหนดได้หรือไม่ จากรูปข้างบน Spec. ในการควบคุมน้ำหนักสินค้าค่าจะอยู่ระหว่างช่วง 200 g – 205

Read More

หัวใจสำคัญของผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตสินค้า คือ ต้นทุนสินค้า การบริหารต้นทุนสินค้า โดยการทำโครงการประเภทลดต้นทุน (Cost Down) เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่จะทำให้ได้ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น (Profit Up) ยกตัวอย่าง เช่น สินค้าตัวหนึ่งราคา 100 บาทต่อหน่วย ต้นทุนสินค้าอยู่ที่ 60 บาทต่อหน่วย กำไรเท่ากับ 40 บาทต่อหน่วย หากในแต่ละเดือนโรงงานแห่งนี้มียอดขายสินค้าที่ 10,000 หน่วย จะได้รายรับทั้งสิ้น

Read More

ในช่วงภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้ บริษัทต่าง ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหากลยุทธ์หลากหลายเข้ามาบริหารจัดการ เพื่อนำพาองค์กรให้ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจไปให้ได้ ซึ่งสามารถทำได้ 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ กลยุทธ์ฝ่าด่านภายนอก คือ การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเป็นตัวนำที่จะสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน เพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น ราคาขายที่เพิ่มขึ้น กลยุทธ์รีดไขมันภายใน คือ การนำระบบการบริหารงานแบบลีน (Lean Management) เข้ามาช่วยจัดการการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสียในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อทำให้ต้นทุนลดต่ำลง ก็จะส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้น

Read More