หวังผลระยะยาว วัดผลระยะสั้น ? คำถามนี้ผุดขึ้นในหัวขณะกำลังนั่งอบรมสัมมนา ณ โรงแรมแห่งหนึ่ง ความคิดเชื่อมโยงไปกับหลักสูตร “เทคนิคการกำหนดตัวชี้วัด และเป้าหมายให้บรรลุผล” ที่กำลังออกแบบอยู่ ว่าหากเราเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหลักสูตร เราจะมีวิธีการวัดผลอื่น ๆ อย่างไรบ้าง นอกเหนือจากการประเมินผลหลังการฝึกอบรม เพื่อวัดผลการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนที่เกิดขึ้นในระยะยาว มองในมุมกลับกัน เราเองในฐานะที่เป็นวิทยากรจะออกแบบกระบวนการเรียนรู้อย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน คิดย้อนอดีตกลับไปตอนทำโครงการ C-Pulp#3 และ C-Pulp#4 ที่เป็นโครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของพนักงานในเครือ SCG
Tag: Constructionism
ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้รับเชิญจาก สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้ไปแบ่งปันประสบการณ์การเป็นกระบวนกร (Facilitator) ให้กับชุมชนกระบวนกร ในงาน CoP#16 ที่มีอาจารย์เอกรัตน์ รวยรวย เป็นผู้ประสานงานในการกิจกรรมเรียนรู้ครั้งนี้ให้เกิดขึ้น ผู้เขียนได้เล่าประสบการณ์การเป็นกระบวนกร (Facilitator) ตั้งแต่สมัยที่มีโอกาสมาทำงานที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย เพื่อเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบ Constructionism เพื่อนำไปปรับใช้ในโครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของพนักงาน ธุรกิจกระดาษและบรรจุภัณฑ์ เครือซิเมนต์ไทย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า โครงการ C-Pulp
(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ 26/01/2557) “เรียนเป็นเรียน เล่นเป็นเล่น” คำพร่ำสอนของผู้ใหญ่ที่เน้นย้ำต่อเด็ก ๆ ในเรื่องระเบียบวินัย ความตั้งใจสนใจเรียนอย่างจริงจัง จนทำให้เรื่องเรียนกลายเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ พอถึงเวลาเล่นเด็กส่วนใหญ่ก็นิยมเล่นเกมผ่านมือถือ แท็บเล็ต หรือไม่ก็ไปตามร้านเกมต่าง ๆ แถวบ้านซึ่งเปิดบริการ 24 ชั่วโมง จนกลายเป็นแหล่งมั่วสุมสำหรับเด็ก เริ่มต้นจากเล่นเกม ไปจนถึงหัดสูบบุหรี่ ซิ่งมอเตอร์ไซค์ต่าง