ในโลกแห่งการแข่งขันทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน องค์กรจะต้องมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งในแง่คุณภาพ (Quality) ระยะเวลาในส่งมอบ (Time) และต้นทุน (Cost) กิจกรรมเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) นับเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพนักงานทุกระดับตั้งแต่ระดับบริหาร (Top Management) จนถึงระดับหน้างาน (Shop Floor) ผ่านกิจกรรมปรับปรุงงานต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ การตอบสนองความต้องการลูกค้าอันนำมาสู่ผลกำไรขององค์กร นักส่งเสริมกิจกรรมเพิ่มผลผลิต (Productivity Facilitator) ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการดำเนินกิจกรรมเพิ่มผลผลิตโดยทำหน้าที่กระตุ้น
Tag: 7 QC Tools
ประเด็นสำคัญในการแก้ปัญหาด้วย QC Story และ QC 7 Tools มีดังนี้ มุมมองในการทำความเข้าใจกับปัญหา คือ ความแตกต่างระหว่าง ผลงานที่เกิดขึ้นจริง (Actual Performance) กับผลงานที่ควรจะเป็น (Should Performance) ดังนั้นถ้าแก้ปัญหาได้สำเร็จจริง ผลงานจะต้องดีขึ้น สิ่งที่สำคัญก่อนการวิเคราะห์สาเหตุ คือ ต้องสังเกตการณ์อาการ ปรากฏการณ์ที่เป็นตัวบ่งชี้ปัญหาอย่างละเอียดโดยใช้หลัก 5G คือ
TQM, QCC, QC Story และ 7 QC Tools มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร ? TQM ย่อมาจาก Total Quality Management แต่ไม่ใช่เรื่องของแผนกคุณภาพเพียงแผนกเดียว เป็นเรื่องของการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้ได้สินค้า / บริการที่มีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า การนำแนวคิดการบริหารแบบ TQM มาใช้ให้ประสบผลสำเร็จนั้น ต้องส่งเสริมให้พนักงานทุกคนช่วยกันคิดปรับปรุงงานและแก้ไขปัญหาที่หน้างานของตนเองผ่านการรวมกลุ่มทำกิจกรรมด้วยกันในรูปแบบกลุ่ม
ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) หรืออาจจะเรียกในอีกชื่อว่า ผังแสดงสาเหตุและผล (Casue and Effect Diagram) หรือหลายคนอาจจะเรียกชื่อตามผู้คิดค้นเครื่องมือนี้ คือ แผนผังอิชิกาว่า (Ishikawa Diagram) ซึ่งเครื่องมือนี้ได้รับการพัฒนาครั้งแรกเมื่อปี 1943 โดยศาสตราจารย์คาโอรุ อิชิกาว่า แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว สำนักมาตรฐานอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น (JIS) ได้นิยามความหมายของผังก้างปลาไว้ดังนี้ “ผังก้างปลา เป็นแผนผังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสาเหตุหลาย