(มาว่ากันตอนในตอนที่ 2 กับ LEED มาตรฐานอาคารเขียว) ความน่าสนใจของ LEED ที่ออกแบบเกณฑ์การให้คะแนนมาอย่างเป็นระบบด้วยการผลักดันไปให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริงคือ 1. ปัจจัยที่ส่งผลมากก็จะมีสัดส่วนที่เป็นคะแนนเต็มสูงกว่าปัจจัยที่ส่งผลน้อย 2. ข้อที่ได้คะแนนเต็มจะมีคะแนนพิเศษเพิ่มให้ ทั้งสองส่วนนี้มองว่าเป็น LEAD factors หรือเป็นปัจจัยที่ชักนำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายพยายามให้ความสำคัญกับมิติที่ส่งผลต่อการสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จุดที่น่าสนใจอีกเรื่องของการประเมินมาตรฐาน LEED คือการมุ่งไปที่การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดวงจรชีวิตของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างระบบการให้คะแนนแต่ละข้อจะแยกอย่างละเอียดเพื่อส่งเสริมเป้าหมายความยั่งยืนในแต่ละมิติอย่างชัดเจน เช่น คะแนนของการใช้วัสดุรีไซเคิลจะแยกเป็นวัสดุรีไซเคิลที่มาจากท้องถิ่นกับจากสถานที่อื่นที่ต้องขนส่งมา คะแนนจะไม่เท่ากัน รวมถึงประเภทของวัสดุรีไซเคิลที่เคยผ่านการใช้งานมาแล้ว หรือยังไม่เคยใช้งานมาก่อนก็ได้คะแนนไม่เท่ากัน จะเห็นว่าเกณฑ์การประเมินทุกหมวด