การมุ่งเน้นที่วัตถุประสงค์ ใส่ใจกระบวนการ (Focus on Objectives, Process Oriented) เป็นหลักการทำงานที่สำคัญที่จะนำไปสู่การทำงานที่ประสบความสำเร็จ การทำงานที่อยู่บนพื้นฐานเหตุ และผล ซึ่งแตกต่างจากการทำงานโดยที่มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ (Result Oriented) แต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้สนใจเหตุปัจจัยที่มาที่ไปที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการ อันจะส่งผลทำให้การแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ตรงจุด และการตัดสินใจใด ๆ เกิดความผิดพลาดได้ โดยการมุ่งเน้นที่วัตถุประสงค์ ใส่ใจกระบวนการ (Focus on Objectives,
Tag: อบรม TQM
การบริหารงานโดยใช้ข้อเท็จจริง (Management by Fact) เป็นแนวคิดการทำงานที่สำคัญมาก บริษัทญี่ปุ่นมีหลักในการทำงานที่เรียกว่า 3G คือ Genba ลงไปดูที่หน้างานจริง, Genbutsu สัมผัสของจริง และ Genjitsu สำรวจสภาพแวดล้อมสถานการณ์จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการแก้ปัญหา และตัดสินใจต่าง ๆ เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้จัดการโรงงาน ควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และเป็นส่วนสำคัญที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้อง
การให้ความสำคัญที่ลูกค้า (Customer Focused) เป็นแนวคิดการทำงานที่สำคัญอย่างยิ่งในการเริ่มต้นปรับปรุงกระบวนการทำงาน ซึ่งทุกคนล้วนแล้วแต่มีลูกค้าที่ตนเองต้องเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าภายใน (Internal Customer) หรือลูกค้าภายนอก (External Customer) หัวใจหลักสำคัญต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจกับคำว่า “การให้ความสำคัญที่ลูกค้า (Customer Focused)” ให้ถึงแก่นแท้เสียก่อน โดยต้องเริ่มต้นรับฟังเสียงของลูกค้า (Voice of Customer) ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่ง เพราะที่ลูกค้าบ่นเรา ตำหนิเรา Complaint ในเรื่องสินค้า
แก่นแท้ TQM #1 การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (PDCA) การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง คือ แนวคิดการทำงานที่สำคัญที่จะช่วยพัฒนา และยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหลักการพื้นฐานที่สำคัญของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ก็คือ แนวคิด PDCA แนวคิด PDCA ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Walter Shewhart ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรม และต่อมาวงจร PDCA ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มากขึ้น เมื่อปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพ อย่าง
ในการบริหารจัดการสมัยใหม่ สิ่งที่องค์กรพยายามเฟ้นหาก็คือ กรอบการบริหารจัดการที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน จากการศึกษาวิจัยในบทความ “A Framework for Successful TQM Implementation and Its Effect on the Organizational Sustainability Development” ได้พบว่า การนำ TQM เข้ามาเป็นเครื่องมือในการบริหารองค์กร จะก่อให้เกิดปัจจัยที่จะเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความยั่งยืน ได้แก่ Top