โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร? “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร?” ประโยคคำถามยอดฮิตประโยคหนึ่งที่ผู้ใหญ่มักชอบถามเด็ก และคำตอบที่ได้ก็จะเป็นอยากเป็นคุณหมอบ้าง อยากเป็นนางพยาบาลบ้าง อยากเป็นวิศวกรบ้าง อยากเป็นคุณครูบ้าง หรือในยุคสมัยนี้อาจจะเปลี่ยนไปแล้วว่าอยากเป็นนักร้องบ้าง อยากเป็นดาราบ้าง อยากเป็นนักแบดมินตันมือ 1 ของโลกบ้าง สิ่งสำคัญคงไม่ใช่คำตอบว่าอยากเป็นอะไร แท้ที่จริงแล้วความสำคัญอยู่ที่เป้าหมายที่แท้จริงว่ามีความชัดเจนเพียงใด ในหนังสือวรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค เรื่อง “อลิซ ในดินแดนมหัศจรรย์ (Alice in Wonderland)” มีตอนหนึ่งที่อลิซ ออกเดินทางแล้วไปเจอกับแมวตัวหนึ่ง “คุณเหมียวเชสเชอร์จ๊ะ ช่วยบอกหน่อยสิ
Tag: อบรม Systematic Thinking
ใครว่าเด็กน้อยคิดไม่เป็น เหตุเกิดที่โรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง คนขับรถตู้ : คุณพ่อรับน้องไอซ์กลับบ้านไปแล้วใช่ไหมครับ เพราะน้องไอซ์ไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนแล้ว คุณพ่อ : เปล่านะครับ หลังจากที่ตามหากันวุ่นอยู่ซักพัก คนขับรถตู้ : คุณพ่อครับ เจอน้องไอซ์แล้วนะครับ คุณพ่อ : ขอบคุณครับ ในช่วงรับประทานอาหารเย็นที่บ้าน คุณพ่อจึงเริ่มบทสนทนากับน้องไอซ์ คุณพ่อ : น้องไอซ์ตอนเย็นหลังเลิกเรียนหนูไปไหนอ่ะลูก คนขับรถตู้ถึงหาหนูไม่เจอ น้องไอซ์ :
ในการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน ล้วนรายรอบไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ทั้งจากการสนทนากับคนรอบข้าง ทั้งจากการประชุมต่าง ๆ นานาและจากการรับรู้ผ่านทางสื่อหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และ Internet สิ่งสำคัญ คือ เราจะเลือกรับฟังเพื่อคัดกรองข้อมูล (Data) ที่ถาโถมเข้ามาอย่างไร เพื่อให้ได้แก่นประเด็นสำคัญ (Key Issues) ของเรื่องราวนั้น ๆ การรับฟังที่ดีนั้น ผู้รับฟังข่าวสาร อย่าทำตัวเป็น “Passive
ในโลกปัจจุบันสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Free TV, Cable TV, หนังแผ่น VCD/DVD รวมทั้งไปถึงหนังสือนั้น ต่างมีจำนวนมากมาย ดังนั้นการเลือกที่จะเสพสื่อนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กในยุคโลกาภิวัฒน์ การที่พ่อแม่ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับลูก หรือได้มีเวลาดูหนัง-อ่านหนังสือพร้อมไปเขา ก็จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เขาได้เรียนรู้แง่คิดต่าง ๆ จากสื่อเหล่านั้น หนังสือเล่มหนึ่งที่ผู้เขียนอยากจะแนะนำให้อ่าน คือ “สอนลูกให้คิดเป็น” เขียนโดย ดร.เสรี พงศ์พิศ ที่บอกเล่าแง่คิดมุมมองต่าง ๆ
(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ 10/11/2556) ประเด็นร้อนแรงในสังคมขณะนี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง พรบ.นิรโทษกรรม ซึ่งแน่นอนว่าหลายฝ่ายต่างเรียกร้องหาความยุติธรรม สิ่งที่อยากชวนคิดในวันนี้ คือ ความยุติธรรม คือ อะไร? ลองอ่านสถานการณ์ข้างล่างนี้ดูครับ ในโบกี้รถไฟขบวนหนึ่ง มีชาย 3 คนนั่งอยู่ด้วยกัน หนึ่งในสามคนนั้นเป็นนักธุรกิจที่มั่งคั่ง ส่วนอีกสองคนที่เหลือฐานะไม่ได้ร่ำรวยอะไร แต่มี Sandwich ติดตัวมาด้วย
(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ 27/10/2556) “…อื่นๆ อีกมากมาย อีกมากมาย อีกมากมายที่ไม่รู้ อาจจะจริงเราเห็นอยู่ เผื่อใจไว้ ที่ยังไม่เห็น…” ท่อนฮุคของเพลง “อื่น ๆ อีกมากมาย” ของวงดนตรี “เฉลียง” สะท้อนให้เห็นถึงมุมมอง และทัศนคติในการมองโลกได้เป็นอย่างดี สิ่งที่เรารับรู้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น… เครื่องมือพื้นฐานด้านการคิดตัวหนึ่งที่จะช่วยให้เรามองสิ่งต่าง ๆ
(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ 20/10/2556) จากผลการสำรวจความคิดเห็นเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติปี 2556 ที่ผ่านมา โดย “อาชีวะโพล” ที่ทำการสำรวจเด็ก ๆ จำนวน 1,214 คน ในหัวข้อที่ว่า “ของขวัญวันเด็กที่อยากได้ที่สุดในปีนี้ คือ อะไร?” คำตอบที่ได้ออกมาดังนี้ อันดับ 1 โทรศัพท์มือถือ
(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ 08/09/2556) เมื่อพูดถึงการบ้านสำหรับเด็กน้อยหลาย ๆ คนแล้ว อาจจะเปรียบเสมือนยาขมหม้อใหญ่ เมื่อเลิกเรียนมาเด็กส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับการวิ่งเล่นกับเพื่อน ๆ ในหมู่บ้าน หรือนั่งดูการ์ตูน กว่าจะเริ่มทำการบ้านก็มืดค่ำดึกดื่น สำหรับสถานการณ์นี้ สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรฝึกฝนให้กับน้อย คือ เครื่องมือพื้นฐานด้านการคิดตัวหนึ่งที่ชื่อว่า FIP (First Important
(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ 11/08/2556) เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา กระแสข่าวเกี่ยวกับละครซีรี่ส์วัยรุ่นยอดฮิตได้ถูกกล่าวถึงอย่างมาก ทั้งในกรณีที่ถูก กสทช. สั่งให้ส่งเทปที่ยังไม่ได้ออกอากาศไปตรวจสอบเนื้อหา รวมไปถึงข่าวที่นักแสดงสาวละครเรื่องดังกล่าว มีภาพขณะกำลังเสพยา หลุดว่อนโลกออนไลน์ ซึ่งเจ้าตัว และคุณพ่อก็ออกมายอมรับความจริงต่อสิ่งที่เกิดขึ้น “…ผมสอนลูกตลอดครับ ว่าเราโกหกทุกๆ คนได้ แต่เราไม่สามารถโกหกตัวเองได้…” คือวลีที่คุณพ่อของนักแสดงสาวให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว นี่คือสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณพ่อสามารถทำได้ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว
(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ 28/07/2556) ในปี 2558 กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ก็จะมีการรวมตัวกันเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community (AEC) อย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย คือ