“ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่วิถีแห่งโตโยต้า และทำให้โตโยต้าประสพความสำเร็จอย่างโดดเด่นนั้นมิได้เป็นองค์ประกอบเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นการทำให้องค์ประกอบเหล่านั้นทั้งหมดทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ลักษณะการทำงานเช่นนี้จะต้องผ่านการฝึกปฏิบัติทุกวัน ๆ จนเป็นแนวปฏิบัติที่กระทำอยู่เป็นนิสัยอย่างสม่ำเสมอ มิใช่การปฏิบัติเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเมื่ออยากจะทำเท่านั้น” – Taiichi Ohno หลักการ 14 ข้อตามวิถีแห่งโตโยต้า ตามงานวิจัยของ Dr.Jeffrey K. Liker ในหนังสือ “วิถีแห่งโตโยต้า” สามารถแบ่งออกได้ 4 หมวด Long-Term Philosophy The
Tag: หลักสูตร Process Improvemnt
การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา (Root Cause Analysis) ที่ผมบรรยายอยู่ในปัจจุบัน จะเน้นย้ำผู้เรียนในเรื่องความสำคัญของข้อเท็จจริงในการสืบสวนหาสาเหตุ โดยใช้หลัก 3G (Genba, Genbutsu, Genjitsu) และขั้นตอนที่ผมให้ความสำคัญมาก ๆ ก็คือ ขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนทำการไล่เรียงรายละเอียดเหตุการณ์ที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นให้ชัดเจน โดยให้ผู้เรียนเขียนภาพขั้นตอนการไหลของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว เรามักจะไล่ภาพขั้นตอนการไหลของกระบวนการเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำความเข้าใจกระบวนการนั้น ๆ แต่ในกรณีที่เราต้องสืบสวนหาสาเหตุรากเหง้าของปัญหา เราต้องใช้ “เทคนิคย้อนรอย” ไล่ย้อนกลับไปตั้งแต่จุดที่พบความผิดปกติ ไล่ย้อนกลับไปกระบวนการก่อนหน้า เพื่อหาข้อสันนิษฐานว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากสาเหตุความผิดพลาดในกระบวนการใด
พอพูดถึงการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis) ด้วยวิธีการตั้งคำถาม ทำไม-ทำไม หรือที่เราเรียกว่า Why-Why Analysis หลายคนคงนึกไปถึงภาพเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้นที่จะใช้วิธีนี้ แท้ที่จริงแล้วการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis) นั้นเป็นเครื่องมือในการช่วยให้การคิดเป็นลำดับขั้นตอน มีวิธีการคิดที่เป็น Logic เป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นจึงไม่จำกัดว่าจะใช้ได้เฉพาะภายในโรงงานเท่านั้น แต่สามารถใช้ได้ในงานทุกงาน ไม่ว่าจะเป็น “งานผลิต” หรือ “งานบริการ” วันนี้
Turtle Diagram เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้ในการออกแบบกระบวนการ และทวนสอบกระบวนการ โดยพิจารณาว่าหากมี Input ที่ได้รับเข้ามา จะทำให้เกิด Output ส่งมอบออกมานั้น กระบวนการควรจะต้องประกอบไปด้วย Resources อะไรบ้างที่ต้องนำเข้ามา Man ใครบ้างที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง Methods แล้วจะต้องทำอย่างไร ท้ายที่สุดก็ต้องมาวัดว่าผลที่ได้เป็นอย่างไร ? ใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด ? “นายเรียนรู้” อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร วิทยากร
Kaizen ปรัชญาการทำงานที่เป็นรากฐานที่สำคัญของการทำงานวิถีโตยาต้า (Toyota Way) โดยมุ่งเน้นให้ทุกคนคิด และลงมือทำตามกระบวนการ P-(Think)-D-(Think)-C-(Think)-A-(Think) โดยแทรกกระบวนการคิดไว้ในทุก ๆ ขั้นตอนเสมอ ทัศนคติที่ต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า คือ เรื่องสำคัญ ดังนั้น “การเกิดความพลาดนั้น ย่อมดีเสียกว่าไม่ทำอะไรเลย” มีคนจำนวนมากที่เข้าใจผิดว่า Kaizen นั้นหมายถึงเฉพาะ “การทำให้ดีขึ้น” เท่านั้น แต่ต้องย้ำกันว่า สิ่งที่มีความสำคัญที่สุดของ Kaizen นั้น