การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา หรือที่เรียกว่า Root Cause Analysis นั้น มีเทคนิคในการตั้งคำถามที่นิยมใช้กัน ก็คือ การตั้งคำถามด้วยคำว่า “ทำไม-ทำไม?” ซึ่งมีการเรียกเทคนิคนี้ว่า “Why-Why Analysis” หรือ “5 Why Analysis” แล้วแต่จะเรียกกันไป เมื่อลองมาวิเคราะห์ดูว่า เหตุใดเทคนิคการตั้งคำถามง่าย ๆ ด้วย “ทำไม-ทำไม?” แบบนี้ จึงเป็นที่นิยมกัน
Tag: วิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า
“ยิ้มไม่ออก กับ Thai Smile” วันนี้เป็นครั้งแรกที่ผมเดินทางกับสายการบิน Thai Smile และเป็นครั้งแรกที่ผมจะจำไว้ไม่มีวันลืม ผมต้องเดินทางไปเชียงใหม่ เพื่อไปบรรยายในวันที่ 26-27/01/2560 ที่บริษัท ช้าฟเนอร์ อีเอ็มซี จำกัด ผมเลยวางแผนเดินทางล่วงหน้าก่อน 1 วัน เพื่อจะได้พักผ่อนให้เต็มที่ เตรียมพร้อมให้เต็มที่กับการบรรยาย ผมเดินทางไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิเวลา 12:15 น. เครื่องบินตามกำหนดการไฟล์ท WE182
การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา (Root Cause Analysis) ที่ผมบรรยายอยู่ในปัจจุบัน จะเน้นย้ำผู้เรียนในเรื่องความสำคัญของข้อเท็จจริงในการสืบสวนหาสาเหตุ โดยใช้หลัก 3G (Genba, Genbutsu, Genjitsu) และขั้นตอนที่ผมให้ความสำคัญมาก ๆ ก็คือ ขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนทำการไล่เรียงรายละเอียดเหตุการณ์ที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นให้ชัดเจน โดยให้ผู้เรียนเขียนภาพขั้นตอนการไหลของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว เรามักจะไล่ภาพขั้นตอนการไหลของกระบวนการเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำความเข้าใจกระบวนการนั้น ๆ แต่ในกรณีที่เราต้องสืบสวนหาสาเหตุรากเหง้าของปัญหา เราต้องใช้ “เทคนิคย้อนรอย” ไล่ย้อนกลับไปตั้งแต่จุดที่พบความผิดปกติ ไล่ย้อนกลับไปกระบวนการก่อนหน้า เพื่อหาข้อสันนิษฐานว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากสาเหตุความผิดพลาดในกระบวนการใด
พอพูดถึงการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis) ด้วยวิธีการตั้งคำถาม ทำไม-ทำไม หรือที่เราเรียกว่า Why-Why Analysis หลายคนคงนึกไปถึงภาพเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้นที่จะใช้วิธีนี้ แท้ที่จริงแล้วการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis) นั้นเป็นเครื่องมือในการช่วยให้การคิดเป็นลำดับขั้นตอน มีวิธีการคิดที่เป็น Logic เป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นจึงไม่จำกัดว่าจะใช้ได้เฉพาะภายในโรงงานเท่านั้น แต่สามารถใช้ได้ในงานทุกงาน ไม่ว่าจะเป็น “งานผลิต” หรือ “งานบริการ” วันนี้
Why-Why Analysis คือ เครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา แต่มักมีคำถามบ่อย ๆ ว่าเทคนิคการวิเคราะห์ด้วย Why-Why นั้น เหมาะกับปัญหาประเภทใด ? ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจ Pattern ของปัญหาก่อนว่าสามารถแบ่งได้หลัก ๆ 2 ประเภท คือ ปัญหาเรื้อรั้ง (Chronic Problem) ปัญหาครั้งคราว (Sporadic Problem) การวิเคราะห์ด้วย