พลิกมุมมอง Balanced Scorecard สู่การสร้างกำไรที่ยั่งยืน หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมุมมอง Balanced Scorecard ที่เป็นผลงานของ Robert S. Kaplan และ David P. Norton เป็นอย่างดี โดยเป็นเครื่องมือทางการบริหารจัดการสมัยใหม่เครื่องมือหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ซึ่งองค์กรที่มีการจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานนิยมนำมาใช้ในการควบคุมและประเมินผลการดำเนินงานเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร ประกอบไปด้วยมุมมอง 4
Tag: วิทยากร Systems Thinking
เบื้องลึกการตัดสินใจ หลายครั้งหลายหนที่เรามักมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน บ่อยครั้งมักจบลงเอยด้วยการทะเลาะเบาะแว้งกัน ใช้คำพูดที่เหน็บแหนมกัน หากเป็นในที่ประชุมภายในบริษัท ภายในองค์กรก็มักจบลงด้วยการทุบโต๊ะโดยผู้มีอำนาจในที่ประชุม หรือลงมติด้วยเสียงข้างมากในที่ประชุม น้อยครั้งมากที่หันเข้าเข้ามาหากัน เพื่อพิจารณาในเรื่องรูปแบบความคิด (Mental Model) ที่มีในใจของแต่ละคน โดยปุถุชนคนทั่วไปจะมีรูปแบบในการตัดสินใจต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ดังรูปภาพ ปัจจัยในการตัดสินใจแต่ละคนไม่ได้มาจาก Information Feedback ที่เป็นข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากกฎเกณฑ์การตัดสินใจที่เกิดรูปแบบความคิด (Mental Model) ของคน ๆ นั้น
การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) เมื่อย้อนกลับไปดูที่บทที่ 1 ในเรื่องปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” มากกว่า “ค่ามาตรฐาน (Standard)” ดังแสดงในรูปที่ 4.1 รูปที่ 4.1 ปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 2 นี้เป็นปัญหาประเภท “ปัญหาพื้น ๆ (Standard Problem)” ที่เราสามารถที่จะใช้วิธีการเดิมในอดีตที่เคยทำสำเร็จตาม
ในการสำรวจสภาพการณ์ของการพัฒนาเพื่อออกตัวผลิตภัณฑ์ X ที่เป็นยุทธศาสตร์ในเฟสต่อไปของบริษัทในตลาด 4 ราย คือ บริษัท A, B, C และ D ได้ข้อมูลว่า ถ้าบริษัท A หรือ B อย่างน้อยหนึ่งบริษัททำการพัฒนาอยู่ บริษัท C ก็กำลังพัฒนาด้วยเช่นเดียวกัน ถ้าบริษัท A หรือ C
การออกแบบระบบ (Systems Design) เมื่อย้อนกลับไปดูที่บทที่ 1 ในเรื่องปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีที่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” มากกว่า “ค่ามาตรฐาน (Standard)” ดังแสดงในรูปที่ 3.1 ปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 1 นี้เป็นปัญหาประเภท “ปัญหาท้าทาย (Challenge Problem)” ที่เราไม่สามารถที่จะใช้วิธีการเดิมในอดีตที่เคยทำสำเร็จตาม “ค่ามาตรฐาน (Standard)” มาใช้ได้อีกต่อไป
เมื่อเอ่ยถึงความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) หลายคนคงนึกถึง หนังสือที่ชื่อว่า “The Fifth Discipline” ของ Peter M. Senge ซึ่งพูดถึงวินัยทั้ง 5 ประการ ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ได้แก่ Personal Mastery Mental Models Shared Vision
“ปัญหา คือ อะไร ?” “อะไร คือ ปัญหา ?” คือ คำถามที่คิดว่าหลาย ๆ คนคงเคยโดนตั้งคำถาม หรือเคยตั้งคำถามนี้กับตัวเอง เวลาที่ประสบพบเจอกับสิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหาซึ่งมีทั้งเรื่องส่วนตัว และเรื่องงาน คำตอบที่มักได้ยินจากการตั้งคำถาม “ปัญหา คือ อะไร ?” “อะไร คือ ปัญหา ?” มักจะเป็น
หากเราใช้ทักษะความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) เขียนแผนภาพที่เชื่อมโยงให้เห็นในมิติมุมมองของ BSC (Balanced Scorecard) ก็จะเห็นความเชื่อมโยงระหว่าง มุมมองทางด้านการเงิน มุมมองทางด้านลูกค้า มุมมองทางด้านกระบวนการ มุมมองทางด้านการเรียนรู้ และการเติบโต ซึ่งจะมีลักษณะเป็นวงจรเสริมแรง (Reinforcing Loop) อย่างง่าย ๆ ที่มี 2 วงซ้อนกันอยู่ คือ วงจรที่นำผลกำไรไปลงทุนในคน วงจรที่นำผลกำไรไปลงทุนในเครื่องจักร นี่คือ
ทักษะหนึ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ และการทำงานในศตวรรษที่ 21 นั่นก็คือ “ทักษะการคิด” แต่น้อยมากที่จะมีการฝึกฝน “ทักษะการคิด” ให้กับนักเรียน ผู้เขียนเองมีประสบการณ์ในเรื่องการสอน “ทักษะการคิด” ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking Skill) ทักษะการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking Skill) ทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking Skill)
หากพูดถึงคำว่าเป้าหมาย หลาย ๆ คนคงคิดถึงเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องส่วนตัว หรือในเรื่องงาน เป้าหมายนั้นอาจมีที่มาที่แตกต่างกันออกไป บางส่วนมาจากที่คนอื่นกำหนดให้ บางส่วนเราอาจจะต้องเป็นคนกำหนดเป้าหมายขึ้นมาเอง เมื่อมีค่าเป้าหมายตั้งไว้ ก็ต้องนำมาเปรียบเทียบกับค่าปัจจุบันที่เป็นอยู่ ก็จะเห็นช่องว่างระหว่างค่าเป้าหมายกับค่าปัจจุบัน นั่นคือสิ่งที่เป็นปัญหา (Problem) ที่เราต้องขจัดให้หมดไป หรือมองในอีกมุมหนึ่งมันคือความท้าทาย (Challenge) ที่เราต้องก้าวไปให้ถึง ดังนั้นเป้าหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการแข่งขัน และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ลองนึกภาพดูสิครับถ้าการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ อย่างเช่น การแข่งขันวิ่ง 100