ระบบการบริหารงานหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น 5S, TQM, TPM, TPS (Toyota Production System) หรือที่เรารู้จักกันในนามว่า “LEAN” นั้น มักมีคำถากถางคนไทยอยู่เสมอว่า “ระบบพวกนี้โตที่ญี่ปุ่น แต่ต้องมาตายที่เมืองไทย” ก็น่าสนใจนะครับว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? ผมเองได้มีโอกาสไปศึกษาเรื่อง LEAN Production ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ Tsunami
Tag: วิทยากร LEAN
เหตุใดที่ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดพลาดในงาน เครื่องจักร Breakdown จึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แก้ปัญหาเท่าไหร่ก็ไม่เคยหายขาดซักที ลองถามตัวคุณเองดูว่า คุณยังวิเคราะห์ปัญหาแบบนี้อยู่หรือไม่ จู่โจมเข้าวิเคราะห์ปัญหาเลย ทั้งที่ยังไม่ได้รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน เริ่มวิเคราะห์ทั้งที่ยังไม่เข้าใจสถานการณ์อย่างถูกต้อง เริ่มวิเคราะห์ทั้งที่ยังไม่ได้ไล่เรียงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เริ่มวิเคราะห์ทั้งที่ยังไม่เฟ้นหาปรากฎการณ์ที่ควรนำเจาะหาสาเหตุ วิเคราะห์ไปเรื่อย ทั้งที่ไม่ใช่การเจาะหาสาเหตุอย่างมีเหตุมีผล ยุติการวิเคราะห์ ทั้งที่ยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา หากคุณยังมีอาการในการวิเคราะห์ปัญหาเช่นนี้ การแก้ปัญหาก็จะเป็นการแก้ปัญหาแบบชั่วคราวเพื่อบรรเทาอาการของปัญหาเท่านั้น แต่ยังไม่ได้เข้าไปแก้ปัญหาที่แท้จริงของปัญหา Why-Why Analysis คือ เทคนิคในการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ที่ไม่ได้แค่เป็นการนึกคิดหาสาเหตุของปรากฎการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหาหนึ่ง
กุญแจสำคัญในการบริหารงานแบบลีน (Lean Management) ประกอบไปด้วย การทำให้ลูกค้าพึงพอใจ คือ ให้บริการได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ภายใต้เวลาที่น้อยลง รวดเร็วขึ้น การมุ่งเข้าไปปรับปรุงกระบวนการ โดยเข้าไปขจัดข้อบกพร่อง (Defect) ที่ลูกค้าไม่ต้องการออกไป การร่วมกันทำงานเป็นทีม ที่จะช่วยกันแบ่งปันความคิดในการร่วมกันแก้ปัญหา การอ้างอิงข้อมูลข้อเท็จจริง (Fact Based) ในการตัดสินใจ โดยจุดเริ่มต้นต้องเริ่มจากข้อแรก คือ การทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ที่จะต้องไปสืบค้นถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ฟังเสียงของลูกค้า (Voice
เพื่อให้การปรับปรุงกระบวนการโดยการนำแนวคิดบริหารแบบลีน (Lean Management) มาใช้ สามารถวัดและประเมินมูลค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นที่สามารถเชื่อมโยงสะท้อนไปที่บัญชีต้นทุนได้อย่างแท้จริงว่า สามารถลดต้นทุนจากการลดความสูญเสียในกระบวนการได้เท่าไหร่ ก็จะต้องนำแนวคิดของ “MFCA” มาประยุกต์ใช้ “MFCA” คือ อะไร ? MFCA ย่อมาจากคำว่า Material Flow Cost Accounting บัญชีต้นทุนการไหลวัสดุ ที่มีจุดเริ่มต้นจากประเทศเยอรมนี และมาเริ่มใช้แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่นในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นที่จะเข้าไปวัดมูลค่าวัตถุดิบ
การปรับปรุงงานด้วยการนำแนวคิดการบริหารงานแบบลีน (Lean Management) มาใช้นั้น นอกจากเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำให้งานคล่องตัวแล้ว ก็ยังมีวัตถุประสงค์ในด้านสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เรียกว่า “Lean for Environment” โดยนำแนวคิด “3 R” มาประยุกต์ใช้ อันได้แก่ R – Reduce การลดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า น้ำ เชื้อเพลิง โดยพยายามเข้าไปลดจุดรั่วไหลที่เกิดขึ้นในกระบวนการ
การนำระบบการบริหารงานแบบลีน (Lean Management) มาปรับใช้ ก็เพื่อมุ่งเน้นขจัดความสูญเสียให้หมดไป ความคาดหวังในทางอุดมคติ เรียกว่า ต้องพยายามอย่างเต็มที่ที่จะต้องทำให้เกิดขึ้น คือ การมุ่งสู่ “5 Zero” อันประกอบด้วย 1. ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect) เนื่องจากของเสีย เป็นต้นทุน 2. การรอคอยเป็นศูนย์ (Zero Delay) เนื่องจากการรอคอยทำให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น
ปรัชญาในเรื่องการปรับปรุงงาน ที่จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงนั้น จะต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการ “3G” อันประกอบไปด้วย “GENBA” – การลงไปดูที่สถานที่จริง “GENBUTSU” – การลงไปดูสภาพความผิดปกติที่เกิดขึ้นจริง “GENJITSU” – การพิจารณาสภาพแวดล้อมจริง ณ สถานที่เกิดเหตุ ซึ่งการที่เราลงไปดูสถานที่จริง ดูสภาพความผิดปกติที่เกิดขึ้นจริง และสภาพแวดล้อมจริง ก็จะทำให้เรามองเห็นว่าสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร ปัญหาอยู่ที่ตรงไหน ? ดูรายละเอียดหลักสูตร “Business Process
เริ่มต้นปีใหม่ ก็นับเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะตั้งต้นในการกำหนดเป้าหมาย (Goal) ในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัว โดยมีหลักการตั้งเป้าหมายง่าย ๆ คือ “SMART” S – Specific เป้าหมายที่ดีต้องระบุให้เฉพาะเจาะจงว่าจะทำเรื่องอะไร M – Measurable เป้าหมายที่ดีต้องสามารถวัดผลได้ A – Achievable เป้าหมายที่ดีต้องมีความท้าทายที่สามารถทำให้บรรลุได้ R – Realistic เป้าหมายที่ดีต้องสมเหตุสมผล
เริ่มต้นปีใหม่ หลายคนถือเป็นฤกษ์ในการที่จะเอาเครื่องมือพื้นฐานง่าย ๆ แต่เป็นจุดเริ่มต้นในการปรับปรุงงานที่สำคัญ นั่นก็คือ “5 ส.” นั่นเอง อันประกอบไปด้วย สะสาง (Sort) – แยกแยะสิ่งของ จำเป็นต่อการใช้งาน / ไม่ต้องการใช้งาน ออกจากกัน ถ้ายังไม่แน่ใจให้แยกไว้ต่างหาก สะดวก (Stabilize) – จัดระเบียบของที่จำเป็นต่อการใช้งาน ให้มีหมวดหมู่ชัดเจน และจัดเรียงไว้ในที่ของมัน สะอาด
เวลาที่คุณอยู่ในห้างสรรพสินค้า แล้วต้องการหาอะไรทาน คุณจะเลือกทานร้านอาหารประเภทใด ด้วยเหตุผลอะไร ? คุณจะเลือกไปทานที่ MK หรือ McDonald หรือว่าจะเลือกเดินไปทานที่ Food Court ไม่ว่าคุณจะมีเหตุผลในการเลือกนานาประการ แต่ก็คงหนีไม่พ้นในเรื่อง Time – ความรวดเร็วในการให้บริการ Quality – สด สะอาด อร่อย Cost – ราคาที่เหมาะสม