รูปที่ 1 การตั้งเป้าหมายด้วยมุมมอง Think from Right Hand Side การตั้งเป้าหมาย คือ หนึ่งในกระบวนการของการวางแผน หรือในกระบวนการแก้ไขปัญหา (ดังแสดงในรูปที่ 2) ที่เราต้องรู้ให้แน่ชัดเสียก่อนว่าเป้าหมายที่เราต้องการอยู่ที่ระดับใด ? รูปที่ 2 วงจรการแก้ปัญหาแบบ Systems Problem Solving ซึ่งโดยทั่วไปแล้วที่เรานิยมตั้งเป้าหมายกันนั้นจะใช้มุมมอง Think from
Tag: วิทยากร Problem Solving
เมื่อเริ่มต้นที่จะวิเคราะห์เรื่องใด สิ่งสำคัญเลย ก็คือ ทุกคนในทีมจะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันเสียก่อน การใช้คำพูดเพียงอย่างเดียวในการสื่อสาร ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ เครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยทำให้เราสื่อสารกันเข้าใจถูกต้องตรงกัน ก็คือ การเขียนออกมาเป็นแผนภาพความคิด (Thought Model) ซึ่งแผนภาพความคิดอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเด็นที่เราพูดคุยกันอยู่ เช่น เราอาจจะเลือกใช้ Ansoff Matrix ในการพูดคุยกันในกรณีที่เรากำลังคุยกันในเรื่องกลยุทธ์ด้านการตลาด เราอาจจะเลือกใช้ Five Force Analysis เมื่อเรากำลังวิเคราะห์ภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่เราอยู่ เราอาจจะเลือกใช้ Value
ทุกคนล้วนย่อมเผชิญกับปัญหา แต่บางครั้งก็ติดขัดไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ในวันนี้อยากจะขอนำเสนอมุมมองความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) ขั้นพื้นฐาน ในการนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา โดยเริ่มต้นที่ Step 1 – Problem ต้องรู้ให้แน่ชัดเสียก่อนว่าปัญหาของเรา คือ อะไร ? ซึ่งเราจะรู้ได้จาก 1.1 Actual Performance สิ่งที่ทำได้จริง ทำได้อยู่ที่เท่าไหร่ 1.2 Target สิ่งที่เราต้องการได้
เหตุใด “Word of Mouth” จึงนับเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ทรงพลัง ? จุดเริ่มต้นอยู่ที่การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้าพึงพอใจก็จะช่วยกันบอกต่อ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้น และถ้าสามารถรักษาคุณภาพของสินค้าไว้ได้ ก็จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจ และบอกต่อกันไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เปรียบไปก็เหมือนปรากฏการณ์ “Snowball” ที่ลูกหิมะขนาดเล็ก ๆ เมื่อกลิ้งลงมาตามภูเขาก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ดังที่เห็นในรูป ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐานของวิธีคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)
ถ้าลองจินตนาการถึงการเติมน้ำ คุณอาจจะคิดว่าก็คงไม่มีอะไร “ก็แค่เปิดก๊อกน้ำเติมน้ำใส่แก้ว” ดูเหมือนลำดับความคิดจะเป็นแบบเส้นตรง (Linear Thinking) แต่ในความเป็นจริง รูปแบบความคิดในสมองคุณไม่ได้เป็นเช่นนั้น ขณะที่คุณกำลังเติมน้ำนั้น สายตาคุณก็กำลังมองระดับน้ำในแก้วที่ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้น สมองคุณก็เริ่มเปรียบเทียบระดับน้ำในแก้วกับระดับน้ำที่ต้องการ จากนั้นสมองคุณก็เริ่มสั่งการร่างกายให้มือขยับไปหมุนก็อกน้ำให้ค่อย ๆ ปิดลง จนปิดสนิทเมื่อระดับน้ำในแก้วขึ้นมาถึงระดับที่ต้องการ จะเห็นว่ากระบวนการ “เติมน้ำใส่แก้ว” นั้น ก็เป็นตัวอย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ที่ใช้วิธีคิดเชิงระบบ (Systems
เมื่อเอ่ยถึง Learning Organization หลายคนจะนึกถึงหนังสือที่ชื่อว่า “The Fifth Discipline” ของ Peter M. Senge ซึ่งพูดถึงวินัยทั้ง 5 ประการ ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ Personal Mastery Mental Models Shared Vision Team Learning Systems
Affinity Diagram คือ เครื่องมือตัวหนึ่งที่จะช่วยจัดระเบียบความคิด จากการระดมสมอง เพื่อจัดไอเดียที่หลากหลายจำนวนมากมาย ออกเป็นกลุ่ม ๆ ที่มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกัน เพื่อนำไปสู่การหาข้อสรุปร่วมกัน โดยมีขั้นตอนดังนี้ ร่วมกันระดมสมอง เขียนไอเดียเป็นข้อความที่กระชับ 1 ไอเดียต่อ 1 แผ่น ลงบน Post-it และติดไว้บนกระดาน หรือผนังกำแพง เพื่อที่ทุกคนจะได้เห็นได้ทั่ว ช่วยกันย้ายไอเดียที่ดูจะสัมพันธ์กันไปไว้อยู่กลุ่มเดียวกัน หากไอเดียไหนไม่เข้าพวกก็แยกไว้โดด ๆ
เหตุใดที่ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดพลาดในงาน เครื่องจักร Breakdown จึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แก้ปัญหาเท่าไหร่ก็ไม่เคยหายขาดซักที ลองถามตัวคุณเองดูว่า คุณยังวิเคราะห์ปัญหาแบบนี้อยู่หรือไม่ จู่โจมเข้าวิเคราะห์ปัญหาเลย ทั้งที่ยังไม่ได้รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน เริ่มวิเคราะห์ทั้งที่ยังไม่เข้าใจสถานการณ์อย่างถูกต้อง เริ่มวิเคราะห์ทั้งที่ยังไม่ได้ไล่เรียงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เริ่มวิเคราะห์ทั้งที่ยังไม่เฟ้นหาปรากฎการณ์ที่ควรนำเจาะหาสาเหตุ วิเคราะห์ไปเรื่อย ทั้งที่ไม่ใช่การเจาะหาสาเหตุอย่างมีเหตุมีผล ยุติการวิเคราะห์ ทั้งที่ยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา หากคุณยังมีอาการในการวิเคราะห์ปัญหาเช่นนี้ การแก้ปัญหาก็จะเป็นการแก้ปัญหาแบบชั่วคราวเพื่อบรรเทาอาการของปัญหาเท่านั้น แต่ยังไม่ได้เข้าไปแก้ปัญหาที่แท้จริงของปัญหา Why-Why Analysis คือ เทคนิคในการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ที่ไม่ได้แค่เป็นการนึกคิดหาสาเหตุของปรากฎการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหาหนึ่ง
(บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม 2558) “ปัญหาทุกปัญหาย่อมมีทางออก” “ทางออกของปัญหา อันหมายถึง เส้นทางที่จะนำเราไปสู่สิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่แตกต่างนั้นย่อมต้องดีกว่าเดิม” ในประสบการณ์ของผู้เขียนในการทำหน้าที่ “ที่ปรึกษา (Consultant)” ให้กับบริษัทต่าง ๆ ในเรื่องของการแก้ปัญหา พัฒนาปรับปรุงงานนั้น พบว่ามี “หลุมพราง” ที่มาคอยสกัดกั้นขวางเส้นทางสู่ “ทางออกของปัญหา” อยู่ด้วยกัน 2 หลุมพรางใหญ่
“ทักษะการคิด เพื่อแก้ปัญหา” “ครู ครู โจทย์เลขข้อนี้ทำอย่างไงค่ะ ?” เสียงเด็กผู้หญิงคนหนึ่งร้องเรียกขึ้น เด็กผู้หญิงคนนี้ เธอเป็นลูกสาวของเจ้าของอู่ซ่อมรถข้างร้านกาแฟของผู้เขียน มักจะแวะเวียนเข้ามานั่งที่ร้าน และคอยช่วยเหลืองานเล็ก ๆ น้อยตามที่เธอจะช่วยได้ เช่น เสิร์ฟน้ำ เก็บแก้ว เช็ดโต๊ะ ปัจจุบันเธอเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง “อ้าว ลองอ่านโจทย์ให้ฟังหน่อยซิ ว่าเขียนไว้อย่างไร” ผู้เขียนกล่าวตอบไป “รถยนต์คันหนึ่งราคา