หลายคนที่เคยเรียนหลักสูตร Problem Solving and Decision Making มาก่อน คงได้มีโอกาสทบทวนความรู้มาประยุกต์ใช้จริงกับสถานการโควิด 19 นี้แล้ว ด้วยสถานการณ์ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน และมีปัญหาเกิดขึ้นได้ตลอดแบบรายวันทั้งในชีวิตงาน และชีวิตส่วนตัว
ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่เจอกับตัวเองทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว มาเริ่มกันที่เรื่องงานกันก่อนดีกว่าค่ะ ลูกค้าขอยกเลิกหรือเปลี่ยนตารางฝึกอบรมเป็นสิบรุ่น บ้างขอลดระยะเวลาฝึกอบรมจาก 1 วันเหลือ 2 ชั่วโมง เปลี่ยนแผนการฝึกอบรม ขอหลักสูตรใหม่ๆ ที่ช่วยให้การทำงานแบบ WFH (Work from Home) มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
ส่วนเรื่องส่วนตัวมีตั้งแต่วางแผนออกจากบ้านเพื่อซื้อเสบียงและธุระที่จำเป็น 2 อาทิตย์ครั้ง ซึ่งต้องวางแผนการซื้อของกิน ของใช้ เป็นอย่างดี เพื่อให้เพียงพอต่อรอบการซื้อครั้งถัดไป ทำให้ต้องคิดเมนูในแต่ละวันว่าจะกินอะไรใน 3 มื้อทั้งวัตถุดิบและเวลาในการทำอาหารไม่ให้กระทบต่อการทำงานในแต่ละวัน โดยเฉพาะวันท้ายๆ ที่เกือบครบ 2 อาทิตย์จะเหลือของในตู้เย็นไม่มากนักก ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์เมนูตามวัตถุดิบที่มี รวมถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอื่นๆ เช่น แอร์รถยนต์เสีย ซึ่งต้องตัดสินใจว่าจะไปซ่อมดีมั้ย ซ่อมแล้วจะเสี่ยงกับโควิดมั้ย? นี่ยังไม่นับเรื่องที่ต้องช่วยดูแลเตรียมตัวเผื่อต้องกักตัวเพราะติดโควิด หรือแพ้วัคซีน การหาอุปกรณ์ป้องกัน ยาและชุดตรวจโควิดที่คลาดแคลนให้กับตัวเองและญาติพี่น้องคนใกล้ชิด
แค่ลิสต์ประเด็นมาคร่าวๆ นี่ก็เกือบ 1 หน้ากระดาษ A4 แล้ว จริงอยู่ว่าหลายๆ เรื่องที่บอกมาเป็นเรื่องเชิงป้องกันซึ่งแน่นอนว่าการป้องกันปัญหาย่อมดีกว่าการแก้ไขปัญหาแน่นอน ในภาวะที่การยอดการติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการแตะยอดสองหมื่นกว่าและสองร้อยกว่า (ย้ำว่าตัวเลขอย่างเป็นทางการ) โรงพยาบาลทุกโรงพยาบาลเตียงไม่เพียงพออีกต่อไป ผู้ป่วยเสียชีวิตในศูนย์พักคอยของรัฐ พบผู้เสียชีวิตในบ้านและข้างถนน รวมถึงผู้มีชื่อเสียง มีเงินทอง และอำนาจบารมีในสังคมยังติดโควิดเสียชีวิตไปหลายคน บางรายโชคดีอาจจะรอดชีวิตแต่สภาพร่างกายก็ไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้อีกต่อไป ทำให้คิดว่าประชาชนธรรมคนธรรดาแบบเราคงประมาท ไม่คิดเตรียมตัวไม่ได้แล้ว
เขียนโดย อาจารย์เพชร – ทิพย์สุวรรณ
สนใจหลักสูตร “Systems Problem Solving and Decision Making”
ติดต่อ 098-7633150 (มิลค์), 081-7113466 (เพชร)
Line : @Lert