ในการจัด ฝึกอบรม แต่ละครั้ง องค์กรหรือบริษัทต่างมี เกณฑ์ตัดสินใจ มากมาย และเพื่อช่วยให้วิทยากรเข้าใจความต้องการของลูกค้าโดยส่วนใหญ่ เราจึงได้ทำการสำรวจฝ่าย HR ที่ทำหน้าที่จัดฝึกอบรม กว่า 70 องค์กร …ไปดูกันว่าเกณฑ์ 5 อันดับแรก ที่ลูกค้าใช้ใน การตัดสินใจ ที่จะเลือกใช้บริการ ฝึกอบรม มีเรื่องอะไรกันบ้าง อันดับที่ 5 ชื่อเสียงหรือโปรไฟล์ของวิทยากร (ได้คะแนน
ในการดำเนินชีวิต การทำงาน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ มักจะมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อโดยที่เราไม่ได้คาดคิด แม้ว่าเราจะคิดว่าได้เตรียม วิธี แก้ ปัญหา เอาไว้แล้วก็ตาม การพยายามป้องกัน หรือควบคุมไม่ให้เกิดปัญหา ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ปัญหาก็เหมือนกับ “ฝน” ที่เราไม่รู้เลยว่าจะตกลงมาเมื่อไหร่ เวลาไหน แต่ถึงอย่างไร เราก็ยังสามารถสังเกตได้จากสิ่งรอบๆ ตัว และสัมผัสได้ว่า “ฝนกำลังจะตก” ปัญหาก็เป็นเช่นนั้น แม้จะเป็นสิ่งที่เราไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่เราก็สามารถสัมผัสได้จากการสังเกตจากสิ่งรอบๆ ตัว
การหาคนทำงาน ก็ไม่ต่างกับการหาคู่ชีวิต ที่เราก็ต้องการ คนที่ใช่ ที่สามารถเข้ากับเรา และครอบครัว (ทีม) ของเราได้ ในฐานะคนทำงานด้าน HR มาสิบกว่าปี เรื่องการหาคนทำงานหรือหาทีมงาน บอกได้ว่าไม่ต่างจากหาคู่ชีวิต เพราะสุดท้ายแล้ว เราไม่ได้ต้องคนที่เริดที่สุด ดีที่สุด หรือ perfect ที่สุด แต่เราต้องการ คนที่ใช่ ที่สุด ไปกับเราได้ อยู่ด้วยแล้วสบายใจ ช่วยกันทำมาหากิน
การที่องค์กรใดจะเข้าไปอยู่ในใจลูกค้า ไม่สามารถทำได้ในเวลาอันสั้น และองค์กรนั้นต้องบริหารจัดการความประทับใจหรือประสบการณ์ของลูกค้าต่อแบรนด์ (Customer Experience Management) ในทุกๆ จุดที่ลูกค้าได้สัมผัส ทั้งจากการใช้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ และในปัจจุบันที่การสื่อสารที่ไร้ขีดจำกัด ประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับจึงไม่ได้มาจากตัวลูกค้า หรือญาติพี่น้องและคนใกล้ชิดได้สัมผัสเท่านั้น แต่สามารถมาจากคนทั่วทุกมุมโลกที่ไม่จำเป็นต้องรู้จักกันด้วยซ้ำ tagline โฆษณา “Tagline ขององค์กรนั้นไม่ใช่แค่คำโฆษณา แต่เสมือนคำมั่นสัญญา หรือ อุดมการณ์ของบริษัทที่สื่อสารกับลูกค้า ซึ่งถือเป็นการสร้างความคาดหวังในทางหนึ่ง” และเราคงเคยได้ยินคำว่า “ยิ่งสูงยิ่งหนาว” ถ้าเทียบกับการบริหารธุรกิจ คือ ยิ่งธุรกิจของคุณอยู่ในระดับ
แก้ปัญหาไม่ถูกจุด…เพราะไม่รู้ประเภทของปัญหา ปัญหาเป็นสิ่งที่ทุก ๆ คนต้องเผชิญ แต่หลายครั้งหลายหนที่หลายคนจับต้นชนปลายไม่ถูก แก้ปัญหาไม่ถูกจุด เพราะไม่รู้ประเภทของปัญหา หากเรามาจำแนกประเภทของปัญหา โดยใช้ตาราง Matrix ใน 2 มิติ คือ มิติของสาเหตุ แบ่งเป็น “รู้” กับ “ไม่รู้” มิติของมาตรการแก้ไข / มาตรการป้องกัน แบ่งเป็น “รู้” กับ
พลิกมุมมอง Balanced Scorecard สู่การสร้างกำไรที่ยั่งยืน หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมุมมอง Balanced Scorecard ที่เป็นผลงานของ Robert S. Kaplan และ David P. Norton เป็นอย่างดี โดยเป็นเครื่องมือทางการบริหารจัดการสมัยใหม่เครื่องมือหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ซึ่งองค์กรที่มีการจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานนิยมนำมาใช้ในการควบคุมและประเมินผลการดำเนินงานเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร ประกอบไปด้วยมุมมอง 4
การมุ่งเน้นที่วัตถุประสงค์ ใส่ใจกระบวนการ (Focus on Objectives, Process Oriented) เป็นหลักการทำงานที่สำคัญที่จะนำไปสู่การทำงานที่ประสบความสำเร็จ การทำงานที่อยู่บนพื้นฐานเหตุ และผล ซึ่งแตกต่างจากการทำงานโดยที่มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ (Result Oriented) แต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้สนใจเหตุปัจจัยที่มาที่ไปที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการ อันจะส่งผลทำให้การแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ตรงจุด และการตัดสินใจใด ๆ เกิดความผิดพลาดได้ โดยการมุ่งเน้นที่วัตถุประสงค์ ใส่ใจกระบวนการ (Focus on Objectives,
ตั้งใจเลือกรูปนี้มาเป็นรูปแรกในการสรุปเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ในปีนี้ ในปี 2017 ที่ผ่านมา ผมและน้องจ๊ะเอ๋ ทำงานร่วมกันกว่า 100 วัน ผมในฐานะวิทยากร ส่วนน้องจ๊ะเอ๋ ทำหน้าที่ “Visual Facilitator” สรุปประเด็นเนื้อหาขึ้นบน Flipchart ได้อย่างน่ารัก และน่าสนใจในรูปแบบ Doodle Style ซึ่งสามารถติดตามผลงานของน้องจ๊ะเอ๋ ได้ที่ https://www.nairienroo.com/graphic-facilitator/ บทบาทวิทยากร สรุปจำนวนวันที่ไปบรรยายมากกว่า 100 วัน
การบริหารงานโดยใช้ข้อเท็จจริง (Management by Fact) เป็นแนวคิดการทำงานที่สำคัญมาก บริษัทญี่ปุ่นมีหลักในการทำงานที่เรียกว่า 3G คือ Genba ลงไปดูที่หน้างานจริง, Genbutsu สัมผัสของจริง และ Genjitsu สำรวจสภาพแวดล้อมสถานการณ์จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการแก้ปัญหา และตัดสินใจต่าง ๆ เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้จัดการโรงงาน ควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และเป็นส่วนสำคัญที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้อง
การให้ความสำคัญที่ลูกค้า (Customer Focused) เป็นแนวคิดการทำงานที่สำคัญอย่างยิ่งในการเริ่มต้นปรับปรุงกระบวนการทำงาน ซึ่งทุกคนล้วนแล้วแต่มีลูกค้าที่ตนเองต้องเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าภายใน (Internal Customer) หรือลูกค้าภายนอก (External Customer) หัวใจหลักสำคัญต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจกับคำว่า “การให้ความสำคัญที่ลูกค้า (Customer Focused)” ให้ถึงแก่นแท้เสียก่อน โดยต้องเริ่มต้นรับฟังเสียงของลูกค้า (Voice of Customer) ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่ง เพราะที่ลูกค้าบ่นเรา ตำหนิเรา Complaint ในเรื่องสินค้า