เมื่อพูดถึง Customer Focus หรือ Customer Centric เราอาจจะมองว่าเป็นเพียงเรื่องทางการตลาด แต่ในความเป็นจริงแล้วเราทุกคนล้วนเป็นผู้ส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการให้กับ “ลูกค้า” รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา เพื่อนสนิทมิตรสหาย หรือญาติพี่น้อง เราสามารถบอก แนะนำ หรือแม้กระทั่งปฏิเสธลูกค้าได้ถ้าเราคิดว่าสินค้าไม่เหมาะกับลูกค้า ภายใต้แนวคิดที่การมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ซึ่งเราสามารถทำสิ่งนั้นได้นอกจากจะรู้จักสินค้าและบริการของเราเป็นอย่างดีแล้ว เรายังต้องรู้จักลูกค้าของเราเป็นอย่างดีด้วย วิธีเปลี่ยนจุดยืนทางความสัมพันธ์ระหว่างเราและลูกค้าด้วยแนวคิด Customer Focus Customer Centric เป็นการเริ่มต้นจากการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับแรก
ในโลกแห่งการแข่งขันทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน องค์กรจะต้องมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งในแง่คุณภาพ (Quality) ระยะเวลาในส่งมอบ (Time) และต้นทุน (Cost) กิจกรรมเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) นับเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพนักงานทุกระดับตั้งแต่ระดับบริหาร (Top Management) จนถึงระดับหน้างาน (Shop Floor) ผ่านกิจกรรมปรับปรุงงานต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ การตอบสนองความต้องการลูกค้าอันนำมาสู่ผลกำไรขององค์กร หัวหน้างานรุ่นใหม่ ที่เป็นตัวกลางในการแปลงนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรไปสู่แผนการปฏิบัติงานที่หน้างาน จำเป็นจะต้องเข้าใจอีกหนึ่งบทบาทหน้าที่ คือ
ในฐานะของนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อความก้าวหน้าทางธุรกิจและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรทุกคนมี Growth Mindset และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร เพื่อให้ตอบโจทย์ของการเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกวันนี้
ต้นทุนอย่างหนึ่งที่ทุกคนมีอยู่ในมือเหมือนกันไม่ว่าจะรวยหรือจน คือ เวลา และสิ่งที่พิเศษของเวลา ก็คือ ไม่สามารถเก็บสะสมไว้ใช้ในวันถัดไปได้ ไม่สามารถไปหยิบยืมหรือขโมยของคนอื่นมาได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารเวลาที่มีอยู่ของเราให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากเปรียบเวลาที่มีอยู่ในแต่ละวันเท่ากับปริมาตรของโหลหนึ่งใบ ที่เราสามารถใส่ก้อนกรวดลงไปได้ ก้อนกรวดเล็ก ๆ เปรียบเสมือนสิ่งที่ไม่สำคัญมาก ส่วนกรวดก้อนใหญ่ แทนสิ่งสำคัญที่เราจะใส่ลงไปในขวดโหลใบนั้น ภาพด้านซ้ายมือบน เปรียบเหมือนการที่เราเลือกหยิบกรวดก้อนเล็ก ๆ ใส่ลงไปก่อน อาจจะเพราะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว แต่เมื่อใส่ไปเรื่อย ๆ สักพัก
“The Coaching Habit” เปลี่ยนการโค้ชให้เป็นเรื่องง่ายในชีวิตประจำวันด้วยคำถามเพียงไม่กี่คำถาม หลายคนที่สนใจการโค้ช อยากเป็นนักโค้ชมืออาชีพ หรืออยากนำวิธีการโค้ชไปใช้กับทีมงาน แต่อ่านหนังสือกี่เล่ม เรียนมากี่หลักสูตร ก็ยังติดขัด แถมใช้จริงก็ดูไม่เป็นธรรมชาติ ต้องไม่พลาดหนังสือเล่มนี้… (โค้ชชิ่ง แฮบิต ไมเคิล บันเกย์ สเตเนียร์ : เขียน วุฒินันท์ ชุมภู :
3 องค์ประกอบในการนำเสนออย่างมืออาชีพ (3 Things of Professional Presentation Skills) ทักษะการนำเสนอ (Presentation Skills) ถือเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งทั้งในการเรียนและการทำงาน หลายคนฝีมือและชำนิชำนาญในงานดี แต่ก็มักมาตกม้าตายตอนนำเสนอ ยิ่งในอาชีพวิทยากรอย่างผม ทักษะการนำเสนอถือเป็นทักษะที่สำคัญอย่างมาก เพราะแม้เราจะมีความเชี่ยวชาญเนื้อหานั้นเป็นอย่างดี แต่ก็บ่อยครั้งที่เราในฐานะผู้นำเสนอหรือผู้ถ่ายทอดมักเผลอยัดเยียดข้อมูลจนล้นทะลัก ทำเอาผู้เรียนสำลักความรู้กันไปเลยทีเดียว และเมื่อไม่นานมานี้ ผมมีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่เล่าถึงทริคและกลเม็ดง่ายๆ ในการนำเสนอ ซึ่งใช้ชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า เคล็ดลับที่จะทำให้ใคร ๆ
ซุนวูกล่าวไว้ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ดังนั้นในการวิเคราะห์ศักยภาพในการแข่งขันขององค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญ Framework ที่อยากจะขอแนะนำในการวิเคราะห์ศักยภาพในการแข่งขันในองค์กร เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง “ภายใน-ภายนอก” และ “ปัจจัยบวก-ปัจจัยลบ” เราจะเริ่มต้นนำ Framework “SWOT” มาวิเคราะห์เพื่อมองให้เห็นว่าในมุมมองด้านภายในองค์กรมีจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weakness) ในประเด็นใดบ้าง? รวมไปถึงมุมมองด้านภายนอกองค์กรว่ามีโอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ในแง่มุมไหนบ้าง?
หลายคนที่เคยเรียนหลักสูตร Problem Solving and Decision Making มาก่อน คงได้มีโอกาสทบทวนความรู้มาประยุกต์ใช้จริงกับสถานการโควิด 19 นี้แล้ว ด้วยสถานการณ์ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน และมีปัญหาเกิดขึ้นได้ตลอดแบบรายวันทั้งในชีวิตงาน และชีวิตส่วนตัว ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่เจอกับตัวเองทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว มาเริ่มกันที่เรื่องงานกันก่อนดีกว่าค่ะ ลูกค้าขอยกเลิกหรือเปลี่ยนตารางฝึกอบรมเป็นสิบรุ่น บ้างขอลดระยะเวลาฝึกอบรมจาก 1 วันเหลือ 2 ชั่วโมง เปลี่ยนแผนการฝึกอบรม ขอหลักสูตรใหม่ๆ
เทคนิควิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าด้วย Why-Why Analysis
การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา หรือที่เรียกว่า Root Cause Analysis นั้น มีเทคนิคในการตั้งคำถามที่นิยมใช้กัน ก็คือ การตั้งคำถามด้วยคำว่า “ทำไม-ทำไม?” ซึ่งมีการเรียกเทคนิคนี้ว่า “Why-Why Analysis” หรือ “5 Why Analysis” แล้วแต่จะเรียกกันไป เมื่อลองมาวิเคราะห์ดูว่า เหตุใดเทคนิคการตั้งคำถามง่าย ๆ ด้วย “ทำไม-ทำไม?” แบบนี้ จึงเป็นที่นิยมกัน
สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยในปัจจุบัน เรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤติ จำนวนผู้ติดเชื้อ และจำนวนคนเสียชีวิตพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า แม้จะฉีดวัคซีน Sinovac ไปแล้ว 2 เข็ม ก็ยังติดเชื้อได้ ทางออกในภาะวิกฤตินี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมาทบทวนกลยุทธ์ในการจัดหาวัคซีน และขั้นตอนในการจัดหาวัคซีนกันใหม่ คำถามง่าย ๆ แต่สุดแสนจะทรงพลังในการปรับปรุงงาน ก็คือ การตั้งคำถามกับสิ่งที่ทำอยู่ด้วยคำถาม “5W1H” “What”