fbpx

(บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม 2558) “ปัญหาทุกปัญหาย่อมมีทางออก” “ทางออกของปัญหา อันหมายถึง เส้นทางที่จะนำเราไปสู่สิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่แตกต่างนั้นย่อมต้องดีกว่าเดิม” ในประสบการณ์ของผู้เขียนในการทำหน้าที่ “ที่ปรึกษา (Consultant)” ให้กับบริษัทต่าง ๆ ในเรื่องของการแก้ปัญหา พัฒนาปรับปรุงงานนั้น พบว่ามี “หลุมพราง” ที่มาคอยสกัดกั้นขวางเส้นทางสู่ “ทางออกของปัญหา” อยู่ด้วยกัน 2 หลุมพรางใหญ่

Read More

“ทักษะการคิด เพื่อแก้ปัญหา” “ครู ครู โจทย์เลขข้อนี้ทำอย่างไงค่ะ ?” เสียงเด็กผู้หญิงคนหนึ่งร้องเรียกขึ้น เด็กผู้หญิงคนนี้ เธอเป็นลูกสาวของเจ้าของอู่ซ่อมรถข้างร้านกาแฟของผู้เขียน มักจะแวะเวียนเข้ามานั่งที่ร้าน และคอยช่วยเหลืองานเล็ก ๆ น้อยตามที่เธอจะช่วยได้ เช่น เสิร์ฟน้ำ เก็บแก้ว เช็ดโต๊ะ ปัจจุบันเธอเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง “อ้าว ลองอ่านโจทย์ให้ฟังหน่อยซิ ว่าเขียนไว้อย่างไร” ผู้เขียนกล่าวตอบไป “รถยนต์คันหนึ่งราคา

Read More

Five Force Analysis Michael E. Porter กูรูทางด้านกลยุทธ์การแข่งขัน ผู้เขียนหนังสือชื่อดัง “Competitive Advantage” ได้นำเสนอ Model ในการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน ว่าประกอบไปด้วย 5 ปัจจัยที่เป็นแรงกดดันต่อการแข่งขัน คือ 1. แรงกดดันจากการแข่งขันกับคู่แข่งขันในปัจจุบัน 2. แรงกดดันจากอำนาจต่อรองของลูกค้า (Customer) 3. แรงกดดันจากอำนาจต่อรองของผู้จำหน่าย (Supplier)

Read More

Time Management Matrix (The Eisenhower Matrix) ทรัพยากรอย่างหนึ่งที่ทุกคนมีเท่าเทียมกัน คือ เวลา ในแต่ละวันทุกคนจะมีเวลาเท่ากัน คือ 86,400 วินาที เราจะบริหารเวลาที่มีอยู่ทุกวินาที ให้มีประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร Dwight D. Eisenhower อดีตประธานาธิบดีผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้คิดค้นวิธีการที่จะจัดการสะสางงานที่มีเข้ามาอย่างเป็นระบบ ด้วยการแบ่งประเภทของงานตาม ความเร่งด่วนของงาน(เร่งด่วน-ไม่เร่งด่วน) และความสำคัญของงาน (สำคัญ-ไม่สำคัญ) ก็จะสามารถจัดกลุ่มประเภทของงาน

Read More

เมื่อวานนี้ (25 พ.ค. 58) บริษัท ไทยทีวี จำกัด ผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ช่องข่าว “ไทยทีวี” และช่องเด็ก “โลก้า” ได้ตัดสินใจขอบอกเลิกใบอนุญาต และเลิกประกอบกิจการทีวีดิจิทัล ทั้ง 2 ช่อง โดยทางบริษัท ไทยทีวี จำกัด ได้ส่งหนังสือถึง กสทช. โดยระบุสาเหตุว่า หลังจากบริษัทได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล เมื่อวันที่

Read More

แน่ใจแล้วหรือ ที่ตัดสินใจอย่างนั้น…? photo credit: http://www.flickr.com/photos/8136122@N06/3886848645 ในชีวิตของคนเราย่อมมีปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา แต่ละคนก็มีเรื่องเล็กเรื่องใหญ่แตกต่างกันไปที่ต้องให้ตัดสินใจ ขึ้นอยู่กับบทบาทที่แตกต่างกันไปทั้งในเรื่องส่วนตัว เรื่องในครอบครัว เรื่องในที่ทำงานและเรื่องในสังคม การตัดสินใจที่เป็นเรื่องส่วนตัว ค่อนข้างง่ายเมื่อเปรียบเทียบกับการตัดสินใจร่วมกับคนอื่น เพราะจะมีอิทธิพลของคนรอบข้างเข้ามากดดันต่อการตัดสินใจค่อนข้างน้อย กระบวนการตัดสินใจแบบกลุ่มที่ดี จะต้องประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 3 ประการ 1. “Free” – เป็นอิสระจากแรงกดดันจากคนรอบข้าง 2. “Prior”

Read More

ในงาน Give&Take ครั้งล่าสุดที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แบ่งปันความรู้ในหัวข้อ กฎสามข้อในการสร้างนิสัยใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจารย์ธงชัย ได้สรุปเป็นหลักการไว้ดังนี้ “1. Single: เราควรสร้างนิสัยทีละอย่าง อย่าสร้างนิสัยหลายอย่างพร้อมๆ กัน ควรทำนิสัย 1 อย่างให้ต่อเนื่องจนเป็นอัตโนมัติ แล้วจึงเริ่มสร้างนิสัยใหม่ และควรมีแรงจูงใจมากพอในการสร้างนิสัย

Read More

ในการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน ล้วนรายรอบไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ทั้งจากการสนทนากับคนรอบข้าง ทั้งจากการประชุมต่าง ๆ นานาและจากการรับรู้ผ่านทางสื่อหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และ Internet สิ่งสำคัญ คือ เราจะเลือกรับฟังเพื่อคัดกรองข้อมูล (Data) ที่ถาโถมเข้ามาอย่างไร เพื่อให้ได้แก่นประเด็นสำคัญ (Key Issues) ของเรื่องราวนั้น ๆ การรับฟังที่ดีนั้น ผู้รับฟังข่าวสาร อย่าทำตัวเป็น “Passive

Read More

จากประสบการณ์ในการฝึกอบรม และพัฒนาคนของผู้เขียน ตั้งแต่ปี 2545 มีอยู่หลายบทบาท ได้แก่ Facilitator โครงการ C-Pulp ด้วยแนวคิดการเรียนรู้แบบ Constructionism ให้กับเครือซิเมนต์ไทย (2545-2549) Coach ด้าน Productivity Improvement ให้กับเครือเบทาโกร (2549-2557) และบทบาทของ Trainer ที่เชี่ยวชาญในเรื่องกระบวนการคิดแก้ปัญหา และคิดตัดสินใจ ให้กับ A@LERT

Read More

“หมอกจาง ๆ และควัน คล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้…” บทเพลงยอดฮิตของนักร้องชื่อดัง พี่เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ สะท้อนให้เห็นภาพที่เกิดขึ้นได้อย่างดีในกรณีหมอกควันจากการเผาป่าในภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ มีการออกมาให้ข่าวว่าสาเหตุของการเผาป่านั้น เกิดจากความต้องการในการเผาเอา “เห็ดถอบและผักหวาน” ซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีมูลค่าสูง ซึ่งคงเป็นสาเหตุเล็ก ๆ เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ต้องยอมรับกันว่าสาเหตุใหญ่ประการสำตัญ ก็คือ การเผาป่าเพื่อปลูกพืชไร่ “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ซึ่งมีการเร่งขยายพื้นที่การปลูกกันอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตามความเติบโดของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในประเทศไทย ชาวบ้านต้องเร่งเก็บเกี่ยว และเตรียมแปลงให้พร้อมในการปลูกรอบถัดไปให้เร็วที่สุด

Read More