“San Francisco becomes first city to ban the sale of plastic bottles” ได้อ่านข่าวนี้ทาง Facebook เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้นึกถึง “แป๊ะเก็บขวด” คนหนึ่ง ที่ทุกเย็นจะแวะมาที่ร้าน House of Commons – Cafe&Space เพื่อมาเก็บขวดแก้ว
ในช่วงภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้ บริษัทต่าง ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหากลยุทธ์หลากหลายเข้ามาบริหารจัดการ เพื่อนำพาองค์กรให้ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจไปให้ได้ ซึ่งสามารถทำได้ 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ กลยุทธ์ฝ่าด่านภายนอก คือ การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเป็นตัวนำที่จะสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน เพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น ราคาขายที่เพิ่มขึ้น กลยุทธ์รีดไขมันภายใน คือ การนำระบบการบริหารงานแบบลีน (Lean Management) เข้ามาช่วยจัดการการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสียในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อทำให้ต้นทุนลดต่ำลง ก็จะส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้น
ในการบริหารงานแบบลีน (Lean Management) นั้นมีพื้นฐานหลักอยู่ด้วยกัน 5 ประการ คือ Define Value – กำหนดคุณค่าของสินค้า จากมุมมองของลูกค้า ทั้งภายในและภายนอก Map Value Stream – การสร้างแผนผังสายธารคุณค่าในปัจจุบัน และอนาคตในสิ่งที่อยากเห็น หาทางขจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน Create Flow – สร้างให้เกิดการไหลของงานอย่างต่อเนื่อง ขจัดอุปสรรคต่าง
ค่า “Takt Time” คือ จังหวะความต้องการสินค้าของลูกค้า Takt เป็นภาษาเยอรมันที่ใช้เรียกจังหวะของเครื่องดนตรี ดังนั้น Takt Time คือ อัตราการผลิตที่ต้องผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการของลูกค้า การคำนวณหาค่า Take Time = Available Time / Demand ตัวอย่างเช่น โรงงานแห่งหนึ่งมีความต้องการสินค้า (Demand) อยู่ที่ 420
Triple Bottom Line เป็นแนวคิดของ John Elkington โดยชี้ให้เห็นว่าธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้น จะต้องเติบโตอย่างสมดุลทั้ง 3 ด้าน Profit – การทำให้ธุรกิจเติบโตมีกำไร โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงกำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึง “ประโยชน์” และ “ต้นทุน” ที่มีผลต่อสังคม สิ่งแวดล้อม จากการดำเนินธุรกิจอีกด้วย Planet – การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ที่จะต้องใช้พยายามลดการใช้ทรัพยากร
คนที่เป็นหัวหน้างาน ผู้จัดการ ผู้บริหารในองค์กร มักจะโดนผู้ใต้บังคับบัญชาค่อนแคะอยู่เสมอว่า ทำตัวเหินห่าง ไม่ค่อยรู้เรื่อง หรือสนใจงานประจำวันสักเท่าไหร่ ชอบทำตัวอยู่บนหอคอยงาช้าง ดังนั้นการที่จะบริหารงานให้ได้ใจลูกน้องนั้นต้อง “ตาดูดาว เท้าติดดิน” ซึ่งในหลักการบริหารเรียกวิธีการทำงานสไตล์ถึงลูกถึงคนแบบนี้ว่า Management by Walking Around ซึ่งนอกจากจะได้ใจลูกน้องแล้ว ก็ยังได้ลงไปรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที มีโอกาสสื่อสารโดยตรงกับคนทำงาน ซึ่งการนำแนวการบริหาร Management by Walking Around
การแก้ไขปัญหาสังคมในปัจจุบันนั้น คงไม่สามารถที่จะโยนความรับผิดชอบไปให้ภาครัฐเพียงอย่างเดียว ด้วยศักยภาพในเรื่องทรัพยากร และความเชี่ยวชาญหลักของบริษัทเอง จึงมีหลาย ๆ องค์กรนำแนวคิดของการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value – CSV) ที่ Michael E. Porter ได้นำเสนอไว้ว่า “CSV คือ การนำวิธีการทางธุรกิจมาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม โดยคำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ มาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน” โดยการดำเนินงานภายใต้แนวคิด CSV จะอยู่ภายใต้เงื่อนไข
“สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น” เป็นสิ่งที่บ่งบอกให้เห็นถึงความสำคัญของระบบการควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) Visual Control คือ วิธีการบริหารงานที่มองปราดเดียวก็รู้ว่า เกิดความผิดปกติขึ้นหรือไม่ รวมทั้งช่วยสื่อสารให้ชัดเจนขึ้น เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานที่ถูกต้อง Visual Control ที่ใกล้ตัวเรามาก ๆ ก็คือ หน้าปัดรถยนต์ ที่ทำหน้าที่บอกระดับน้ำมัน ความร้อนของหม้อน้ำ ความเร็วของรถ รอบของเครื่องยนต์ เป็นต้น ดูรายละเอียดหลักสูตร “Business
การวิเคราะห์ และตัดสินใจทางธุรกิจที่สำคัญ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฉายภาพที่เป็นไปได้ต่าง ๆ ออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่นิยมใช้ คือ Scenario Analysis ขั้นตอนในการทำ Scenario Analysis จะเริ่มต้นจาก การรวบรวมข้อมูลของปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ พิจารณาถึงความแน่นอน ความไม่แน่นอน และแนวโน้ม ของแต่ละปัจจัย สร้างแบบจำลองสถานการณ์ ในกรณีต่าง ๆ ที่เป็นไปได้
Benchmarking คือ กระบวนการในการเทียบเคียงความสามารถในด้านต่าง ๆ เทียบกับคู่แข่ง ซึ่งบริษัท Xerox ผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารชั้นนำของโลก ได้นำวิธีการ Benchmarking นี้มาใช้ในช่วงปี 1980 เพื่อปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของตนเอง เนื่องจากบริษัท Xerox ประสบปัญหาด้านการตลาดอย่างรุนแรง สูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทคู่แข่งจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามาตีตลาดด้วยราคาสินค้าที่ต่ำกว่า และคุณภาพที่ดีกว่า กระบวนการทำ Benchmarking คือ การวัด และเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติงานกับองค์กรที่ดีกว่า