แก่นแท้ TQM #1 การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (PDCA) การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง คือ แนวคิดการทำงานที่สำคัญที่จะช่วยพัฒนา และยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหลักการพื้นฐานที่สำคัญของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ก็คือ แนวคิด PDCA แนวคิด PDCA ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Walter Shewhart ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรม และต่อมาวงจร PDCA ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มากขึ้น เมื่อปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพ อย่าง
“ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่วิถีแห่งโตโยต้า และทำให้โตโยต้าประสพความสำเร็จอย่างโดดเด่นนั้นมิได้เป็นองค์ประกอบเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นการทำให้องค์ประกอบเหล่านั้นทั้งหมดทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ลักษณะการทำงานเช่นนี้จะต้องผ่านการฝึกปฏิบัติทุกวัน ๆ จนเป็นแนวปฏิบัติที่กระทำอยู่เป็นนิสัยอย่างสม่ำเสมอ มิใช่การปฏิบัติเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเมื่ออยากจะทำเท่านั้น” – Taiichi Ohno หลักการ 14 ข้อตามวิถีแห่งโตโยต้า ตามงานวิจัยของ Dr.Jeffrey K. Liker ในหนังสือ “วิถีแห่งโตโยต้า” สามารถแบ่งออกได้ 4 หมวด Long-Term Philosophy The
ชีวิตนี้…ได้ดีเพราะมีโปร คำว่า “โปร” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง “โปรโมชั่น” ตั๋วเครื่องบินใด ๆ นะครับ แต่ผมกำลังหมายถึง Professional มืออาชีพตัวจริง ผมเริ่มต้นอาชีพวิทยากร และที่ปรึกษาอิสระ เมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว มืออาชีพที่ผมได้ไปเรียนรู้ด้วย คือ Pro.Trainer – อาจารย์ไชยยศ ปั้นสกุลไชย ในการอบรมหลักสูตร Innovative Trainer
ความตั้งใจเดิมในวันนี้นั้น อยากที่เขียนวิเคราะห์เชื่อมโยงการวิเคราะห์เรื่องราวที่เกิดขึ้นในกรณีที่เป็นข่าวที่โด่งดังเรื่องหนึ่ง คือ ข่าวของรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาขโมยภาพจากโรงแรมแห่งหนึ่ง ล่าสุดก่อนผมลงมือเขียนบทความนี้ท่านรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา คุณสุภัฒ สงวนดีกุล ก็ออกหนังสือชี้แจงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และขอยอมรับผิดด้วยการลาออกจากตำแหน่ง แต่ในประเด็นที่ผมจะนำมาวิเคราะห์เกี่ยวกับข่าวนี้ เพื่อใช้เป็น Case Study เชื่อมโยงกับหลักการวิเคราะห์ปัญหา IS / IS NOT อันโด่งดังของสองคู่หู Kepner-Tregoe เมื่อเกิดข่าวนี้ขึ้นปรากฎว่า ทางการไทยได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือทุกอย่างเพื่อให้รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาพ้นจากการลงโทษตามกฎหมายของรัฐบาลญี่ปุ่น พร้อมทั้งมีเนติบริกรที่เป็นกุนซือของรัฐบาลนี้ออกมาปกป้องการกระทำผิดในครั้งนี้ ทำให้ผมลองไปค้นหาดูว่าเคยมีเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นหรือเปล่า ก็ไปพบข่าวชิ้นหนึ่งของสำนักข่าว
ปัจจัยสำคัญ 5 ประการ ในการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จ คือ ขอบเขตโครงการ (Project Scope) หมายถึง สิ่งที่เป็นข้อตกลงในการดำเนินงานโครงการ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งที่อยู่ในโครงการ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร เวลา กิจกรรม ต้นทุน บุคลากร รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ จึงนับเป็นปัจจัยหลักในการวางแผนโครงการ การควบคุมโครงการ การติดตามความก้าวหน้าโครงการ ตลอดไปจนถึงการวัดผลโครงการ ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลง Scope งานจะต้องรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมีทิศทางที่ถูกต้องตรงกับเป้าหมาย
“ยิ้มไม่ออก กับ Thai Smile” วันนี้เป็นครั้งแรกที่ผมเดินทางกับสายการบิน Thai Smile และเป็นครั้งแรกที่ผมจะจำไว้ไม่มีวันลืม ผมต้องเดินทางไปเชียงใหม่ เพื่อไปบรรยายในวันที่ 26-27/01/2560 ที่บริษัท ช้าฟเนอร์ อีเอ็มซี จำกัด ผมเลยวางแผนเดินทางล่วงหน้าก่อน 1 วัน เพื่อจะได้พักผ่อนให้เต็มที่ เตรียมพร้อมให้เต็มที่กับการบรรยาย ผมเดินทางไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิเวลา 12:15 น. เครื่องบินตามกำหนดการไฟล์ท WE182
เมื่อตอนสมัยทำงานอยู่ที่ SCG ลูกพี่ผมหลายคนก็มักจะบอกว่า “ช่วยสรุปทุกอย่างให้อยู่ในหน้าเดียวให้หน่อย” ซึ่งตอนนั้นผมก็ใช้เทคนิคในการคัดให้เลือกประเด็นสำคัญจริง ๆ หากยังไม่พออีกก็ใช้เทคนิคลดขนาด Font เอาซะเลย ต่อมาก็ได้มาเรียนรู้ในตอน Implement ระบบ TPM ในโรงงาน ซึ่งมีแนวคิดในเรื่องการสรุปบทเรียนออกมาเป็น 1 หน้ากระดาษ เรียกว่า One Point Lesson หรือ OPL ต่อมาก็ได้เรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่อง A3
การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา (Root Cause Analysis) ที่ผมบรรยายอยู่ในปัจจุบัน จะเน้นย้ำผู้เรียนในเรื่องความสำคัญของข้อเท็จจริงในการสืบสวนหาสาเหตุ โดยใช้หลัก 3G (Genba, Genbutsu, Genjitsu) และขั้นตอนที่ผมให้ความสำคัญมาก ๆ ก็คือ ขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนทำการไล่เรียงรายละเอียดเหตุการณ์ที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นให้ชัดเจน โดยให้ผู้เรียนเขียนภาพขั้นตอนการไหลของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว เรามักจะไล่ภาพขั้นตอนการไหลของกระบวนการเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำความเข้าใจกระบวนการนั้น ๆ แต่ในกรณีที่เราต้องสืบสวนหาสาเหตุรากเหง้าของปัญหา เราต้องใช้ “เทคนิคย้อนรอย” ไล่ย้อนกลับไปตั้งแต่จุดที่พบความผิดปกติ ไล่ย้อนกลับไปกระบวนการก่อนหน้า เพื่อหาข้อสันนิษฐานว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากสาเหตุความผิดพลาดในกระบวนการใด
ปัจจุบันที่กระแสนิยมในเรื่องโค้ช (Coach) กำลังมาแรง ประเด็นที่ถูกพูดถึงกันบ่อย ๆ ก็คือ ระหว่างโค้ช (Coach) กับที่ปรึกษา (Consultant) อย่างไรดีกว่ากัน ? ทั้งสองบทบาทเสริมกันหรือขัดแย้งกัน ? ถ้าเราพิจารณาในส่วนประกอบทั้ง 2 บทบาทนั้น จะประกอบด้วย Self – ตัวเราเองที่สวมบทบาทโค้ช หรือที่ปรึกษา Other – ผู้อื่นที่สวมบทบาทโค้ชชี่
พอพูดถึงการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis) ด้วยวิธีการตั้งคำถาม ทำไม-ทำไม หรือที่เราเรียกว่า Why-Why Analysis หลายคนคงนึกไปถึงภาพเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้นที่จะใช้วิธีนี้ แท้ที่จริงแล้วการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis) นั้นเป็นเครื่องมือในการช่วยให้การคิดเป็นลำดับขั้นตอน มีวิธีการคิดที่เป็น Logic เป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นจึงไม่จำกัดว่าจะใช้ได้เฉพาะภายในโรงงานเท่านั้น แต่สามารถใช้ได้ในงานทุกงาน ไม่ว่าจะเป็น “งานผลิต” หรือ “งานบริการ” วันนี้