ความ ขัดแย้ง ในองค์กร เทคนิค 3 ช. แสดงความเห็น มัดใจเพื่อนร่วมงาน
บ่อยครั้งใน การ ทํา งาน ร่วม กับ ผู้ อื่น ก็จะมีการแลกเปลี่ยนหรือ แสดงความคิดเห็น กับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งจะมีทั้งคนที่คิดตรงหรือ “คิดต่าง” กับเรา ปัญหาคือ เราไม่รู้ว่าจะแสดงท่าที แสดงความคิดเห็นต่าง หรือมีปฏิกิริยาต่อความเห็นคนอื่นอย่างไรดี ซึ่งเรื่องของการแสดงความเห็นต่างนั้น เป็นสาเหตุที่นำไปสู่ ความ ขัดแย้ง ในองค์กร ได้ง่ายทีเดียว
วันนี้ โค้ชอ้อย หรือ อาจารย์ผาณิต ถิรวงศ์ชัยพันธุ์ (ผู้เชี่ยวชาญด้านการโค้ช การพัฒนาภาวะผู้นำและทักษะการสื่อสาร) มาแชร์ “เทคนิค 3 ช.” ชม ชู แชร์ ที่จะทำให้การสื่อสารแลกเปลี่ยนกลายเป็นเรื่องง่าย ประทับใจทั้งผู้ฟังและผู้พูด เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่อาจารย์ใช้บ่อย เรียกว่า
ช.แรก คือ “ชม” การกล่าวชมความคิดเห็นที่ดีของเพื่อนร่วมงานทั้งหัวหน้าและลูกน้องเป็นสิ่งที่ควรกระทำ เพราะแสดงให้รู้ว่าเราเห็นคุณค่าของความคิดนั้น และอย่าลืมใช้สีหน้าหรือท่าทางประกอบด้วย เพื่อเสริมให้เขารู้ว่าเราชมจากใจจริง
ช.ที่สอง คือ “ชู” เป็นการขยายความคิดเห็นที่ดีของเพื่อนร่วมงานให้คนอื่นๆ ได้ทราบ พร้อมบอกว่านี่เป็นความคิดของเขาเลยนะ จะทำให้เจ้าของความคิดเห็นนั้นประทับใจ แต่ต้องระวังการชูออกนอกหน้าหรือชูกลางที่ประชุมใหญ่ เพราะถ้าเขาเป็นคนขี้อาย เขาอาจประหม่า เวลาถูกทุกสายตาจับจ้อง
ช. สุดท้าย คือ “แชร์” ส่วนนี้สามารถใช้ได้กับความคิดเห็นที่ตรงกันกับเราหรือต่างไปจากเรา อาจเป็นการเสริมข้อคิดเห็นคนอื่นที่อาจมีบางส่วนตกหล่น หรือแสดงทัศนะในมุมมองที่ต่างออกไปเพื่อให้เขาเข้าใจอีกด้าน
เทคนิค 3 ช. จะนำไปใช้กับเพื่อน แฟน หรือในที่ทำงานก็ได้ โดยเฉพาะหากคุณเป็นหัวหน้าอยู่ในระดับที่สูงกว่าอีกฝ่าย การใช้เทคนิค ชม ชู แชร์ ยิ่งแสดงให้เห็นว่าคุณรับฟัง และยิ่งทำให้การขอความเห็นครั้งต่อไปเป็นไปด้วยความตั้งใจและเต็มใจจากลูกน้องมากขึ้น
โค้ชอ้อย – อาจารย์ผาณิต ถิรวงศ์ชัยพันธุ์ (ผู้เขียน)
ผู้เชี่ยวชาญด้านการโค้ช การพัฒนาภาวะผู้นำและทักษะการสื่อสาร
จี สุภาวดี (ผู้เรียบเรียง)
สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมในหลักสูตร
เป็นเพื่อนกับนายเรียนรู้
สอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับ การ พัฒนา Soft skills และการบริหารทีมงานได้ทันที!
เปิดลงทะเบียนแล้ว!!
หลักสูตร เถียงอย่างไร ให้ได้ใจคนฟัง
แอดไลน์ @LERT
เพื่อรับส่วนลด 500.- ได้เลยตอนนี้!
ดูรายละเอียดหลักสูตรทั้งหมด คลิก
โดดเด่นด้วยสไตล์การสอน ที่ผสมผสาน ระหว่าง…
Activity Based Learning
ใช้เกมและกิจกรรมเข้ามาเชื่อมโยงกับเนื้อหาการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
Problem Based Learning
มีกิจกรรม Workshop เพื่อให้ผู้เรียนเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง
ต้องการจัดฝึกอบรมติดต่อ
A@LERT Learning and Consultant
098-763-3150 (ชลมารค)
081-711-3466 (ทิพย์สุวรรณ)
contact@nairienroo.com
Line @LERT