fbpx

Home

Post Grid #1

เติมเต็ม

เติมเต็ม

สัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสเจอกับคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่สองคน คือ “ครูบริ๊งค์” – อติเวทย์ ตั้งอมรสุขสันต์ และ “น้องนิดหน่อย” – สิริรัตน์ รองเดช ที่มีความมุ่งมั่นอยากเปลี่ยนแปลงในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาของประเทศไทย โดยคิดโครงการชื่อว่า “เติมเต็ม” น้องสองคนเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า จากการสำรวจรายได้ของคนไทย พบว่าคนที่มีฐานะดีในประเทศนั้นมีน้อยกว่าคนฐานะไม่ค่อยดี ส่วนหนึ่งที่เกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้นั้น เกิดจากโอกาสทางการศึกษาที่แตกต่างกัน คนที่มีฐานะที่ดีกว่า สามารถมีเงินไปลงเรียนกวดวิชา ทำให้ได้ความรู้ที่ดีกว่า สามารถทำคะแนนสอบได้ดี ทำให้มีโอกาสศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย และคณะที่มีชื่อเสียงที่ใฝ่ฝัน มากกว่าคนที่มีฐานะไม่ค่อยดี ดังนั้นน้องทั้งสองคนจึงมองว่าประเด็นปัญหาการไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ และไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นผู้ที่มีฐานะไม่ค่อยดี จะถูกตัดโอกาสจากคณะที่ตนเองใฝ่ฝัน เพียงเพราะความรู้ที่ด้อยกว่าเนื่องจากการขาดโอกาสในการเรียนพิเศษตามสถาบันกวดวิชา…

อย่าเด็ดปีกนางนวล

อย่าเด็ดปีกนางนวล

นายเรียนรู้Feb 10, 20154 min read

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2557 คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้มอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2014 ให้กับมาลาลา ยูซาฟไซ (Malala Yousafzai) เด็กสาววัย 17 ปีชาวปากีสถาน นักเคลื่อนไหวเพื่อการศึกษาของเด็กและสตรีในการเข้ารับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกับผู้ชายในสังคมตอลีบาน ประเทศปากีสถาน ที่ยังคงมีการห้ามไม่ให้เด็กผู้หญิงเรียนหนังสือในโรงเรียน ซึ่งเธอเคลื่อนไหวเรื่องนี้มาตั้งแต่อายุได้ 12 ปี สร้างความไม่พอใจให้กับผู้ก่อการร้ายตอลีบานจนเธอเกือบเสียชีวิตจากการถูกมือปืนตอลีบานยิงในระยะเผาขน ขณะที่เธอกำลังนั่งรถโรงเรียนกลับบ้าน ในเดือนตุลาคม 2555 เธอเคยได้รับรางวัลเยาวชนเพื่อสันติภาพแห่งชาติ (National Youth Peace Prize 2011) รางวัลสิทธิมนุษยชนเพื่ออิสรภาพของผู้หญิงนานาชาติ…

รอให้คนอื่นเริ่มก็สายเสียแล้ว

รอให้คนอื่นเริ่มก็สายเสียแล้ว

ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสได้พบกับกัลยาณมิตรที่ดีที่มีความตั้งใจที่ดีในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย ท่านแรก คือ ดร.ไสว บุญมา อดีตเศรษฐกรอาวุโสของ World Bank ผู้ก่อตั้งมูลนิธินักอ่านบ้านนา และคุณสุภกร บัวสาย กรรมการ และเลขานุก่าร ในคณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน ในเวที “ล้อมวงคุย กับ ดร.ไสว บุญมา” ที่จัดขึ้นที่ร้าน House of Commons – Cafe&Space ถ.เจริญนคร ซึ่งเป็นร้านกาแฟ ที่มีหนังสือดี ๆ…

dummy-img

วิชา "ความคิด" ที่คุ้มค่าหน่วยกิตที่สุดในโลก

แนะนำหนังสือดีดีที่น่าอ่านครับ วิชา “ความคิด” ที่คุ้มค่าหน่วยกิตที่สุดในโลก เขียนโดย Tina Seelig ผู้เขียนหนังสือ “น่าจะรู้อย่างนี้ตั้งแต่ตอนอายุ 20” หนังสือเล่มนี้เกริ่นนำไว้อย่างน่าสนใจว่า “ในทุกๆแวดวงคนที่ประสบความสำเร็จล้วนแต่เป็นนักคิดสร้างสรรค์ทั้งสิ้น …แต่ในโรงเรียนกลับแทบไม่เคยสอนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หรือแทบไม่มองว่ามันเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้กันได้ด้วยซ้ำ” เปรียบเทียบ “วิธีคิดเชิงวิทยาศาสตร์” กับ “วิธีคิดเชิงสร้างสรรค์” ได้อย่างชัดเจนว่า “คุณสามารถค้นพบ สิ่งต่างๆได้ด้วยวิธ๊คิดเชิงวิทยาศาสตร์ แต่หากคุณต้องการคิดค้น สิ่งใหม่ ๆ นั้นย่อมต้องใช้วิธีคิดเชิงสร้างสรรค์” การทลายกรอบความคิดด้วยคำถามว่า “ทำไม” เช่น เมื่อผมวานให้คุณทำโปสเตอร์ให้ คุณจะลงมือทำทันทีหรือคุณจะตั้งคำถามกับผมว่า “ทำไมผมถึงอยากได้โปสเตอร์?” ถ้าคุณถามผม ผมก็จะบอกเหตุผลว่า “เพราะผมอยากประชาสัมพันธ์หลักสูตรที่จัดสอนรุ่นหน้า”…