fbpx

Home

Post Grid #1

หน้าปกบทความ Kano Model

Kano Model โมเดลสุด Wow! ในการทำความเข้าใจ ความต้องการของลูกค้า

The Kano Model Understanding for Customer Needs เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยายจากปรมาจารย์คุณภาพระดับโลก Dr.Nariaki Kano หรือที่คนในวงการคุณภาพบ้านเราเรียกสั้น ๆ ว่า Dr.Kano ที่ Bitec บางนา ในหัวข้อ “The Kano Model Understanding for Customer Needs”…

dummy-img

I Hear You : ในบางเวลา เราแค่ต้องการใครสักคนที่รับฟัง และรับรองความรู้สึกของเรา

I Hear You : ในบางเวลา เราแค่ต้องการใครสักคนที่รับฟัง และรับรองความรู้สึกของเรา ผมได้พลิกอ่านหนังสือเล่มเล็ก ๆ เล่มหนึ่ง “I Hear You, ฟังด้วยหู-ใจ: เปลี่ยนวิธีฟังเพียงนิด พิชิตทุกความสัมพันธ์” ด้วยความตั้งใจที่จะพัฒนาทักษะการฟังของตนเองให้ดีขึ้น ด้วยความเป็นคนใจร้อน โมโหง่าย ไม่ค่อยฟังใคร แต่หนังสือเล่มนี้ก็ได้เชื้อชวนผมให้มาทำความเข้าใจในการรับรองความรู้สึกตนเอง ว่าในขณะนั้นเรามีความรู้สึกอย่างไร ผู้คนที่เข้ามาหาเรา มาเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้เราฟัง ส่วนใหญ่แล้วนั้นเขายังไม่อยากฟังคำชี้แนะจากเรา เขาเพียงต้องการใครสักคนที่รับรองความรู้สึกของเขา เข้าอกเข้าใจเขาในสถานการณ์ที่เขาพบเจอ ดังนั้นการทำความเข้าใจในการรับรองความรู้สึกตนเองจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่ง…

dummy-img

“เมื่อโลกซึมเศร้า” เกี่ยวกันยังไงกับ “โรคซึมเศร้า”

นายเรียนรู้Mar 29, 20242 min read

“เมื่อโลกซึมเศร้า” เกี่ยวกันยังไงกับ “โรคซึมเศร้า” อาจารย์สรวิศ ชัยนาม ได้นำข้อเขียนของ Mark Fisher มาชวนคุณคิดว่า แท้ที่จริงแล้วโรคซึมเศร้าเป็นแค่เรื่องระดับปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางจิตใจ หรือภาวะทางร่างกายที่สารเคมีในสมองเสียสมดุล แค่นั้นจริงหรือ? แท้จริงแล้วกำลังเกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้ เหตุใดมีคนจำนวนไม่น้อยที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวังในชีวิต ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ในยุคปัจจุบันที่เรียกว่า “โลกสัจจนิยมแบบทุน (Capitalist Realism)” ที่ทุกอย่างในระบบอยู่ภายใต้ระบบทุน คนส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาในชีวิตไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ไปกับการทำงาน ไม่ว่างานนั้นจะหนักหนาหรือแสนน่าเบื่อขนาดไหน เพื่อแลกให้ได้มาซึ่งเงินตรา ที่จะนำเอาไปใช้บริโภค…

เต๋า - มรรควิถีที่ไร้เส้นทาง OSHO

เต๋า – มรรควิถีที่ไร้เส้นทาง

นายเรียนรู้Mar 28, 20243 min read

เต๋า – มรรควิถีที่ไร้เส้นทาง OSHO เส้นทางแห่งการแสวงหา “…แน่นอนอิสรภาพนั้นเป็นสิ่งอันตราย มันทำให้ท่านรู้สึกไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย ท่านอาจจะรู้สึกปลอดภัยกว่าถ้าได้เดินตามฝูงชน ฝูงชนจะช่วยปกป้องท่าน ท่านรู้สึกปลอดภัยเมื่อท่านทำตามฝูงชน เพราะว่าการปรากฎตัวของคนหมู่มากทำให้ท่านรู้สึกว่าท่านไม่ได้อยู่ตามลำพัง และท่านไม่หลงทางอย่างแน่นอน ความมั่นคงที่ว่านี้แท้จริงแล้วมันได้ทำให้ท่านหลงทางไปแล้ว เพราะความมั่นคงทำให้ท่านไม่ต้องคิดจะค้นหา เมื่อท่านไม่ค้นหา ท่านก็ไม่เคยคิดจะถามหา และความจริงก็เลยไม่มาปรากฏ เว้นเสียแต่ว่าท่านจะถามหา เว้นเสียแต่ว่าท่านจะถามหาด้วยตัวของท่านเอง หากท่านเอาแต่หยิบยืมความจริงของคนอื่นมาใช้ ท่านก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงความรู้ แต่การเป็นผู้ทรงความรู้นั้นมิใช่การรู้ที่เป็นของท่านเอง…” คนที่ทวนกระแส,คนที่ตอบโต้ และคนส่วนใหญ่ …หากท่านต้องการที่จะเป็นคนที่จริงแท้ ท่านจะต้องไม่สนใจมากนักเกี่ยวกับสิ่งที่สังคมพูดถึง ข้าพเจ้าไม่ได้พูดว่าให้ท่านไปต่อต้านสังคม ไม่ใช่ นั่นไม่ใช่การทวนกระแส…