Post Grid #1
สรุปทุกอย่างลงในกระดาษแผ่นเดียว
เมื่อตอนสมัยทำงานอยู่ที่ SCG ลูกพี่ผมหลายคนก็มักจะบอกว่า “ช่วยสรุปทุกอย่างให้อยู่ในหน้าเดียวให้หน่อย” ซึ่งตอนนั้นผมก็ใช้เทคนิคในการคัดให้เลือกประเด็นสำคัญจริง ๆ หากยังไม่พออีกก็ใช้เทคนิคลดขนาด Font เอาซะเลย ต่อมาก็ได้มาเรียนรู้ในตอน Implement ระบบ TPM ในโรงงาน ซึ่งมีแนวคิดในเรื่องการสรุปบทเรียนออกมาเป็น 1 หน้ากระดาษ เรียกว่า One Point Lesson หรือ OPL ต่อมาก็ได้เรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่อง A3 Thinking และ Mind Map ที่ใช้ในการสรุปเรื่องราวต่าง…
"เทคนิคย้อนรอย" ในการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า
การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา (Root Cause Analysis) ที่ผมบรรยายอยู่ในปัจจุบัน จะเน้นย้ำผู้เรียนในเรื่องความสำคัญของข้อเท็จจริงในการสืบสวนหาสาเหตุ โดยใช้หลัก 3G (Genba, Genbutsu, Genjitsu) และขั้นตอนที่ผมให้ความสำคัญมาก ๆ ก็คือ ขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนทำการไล่เรียงรายละเอียดเหตุการณ์ที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นให้ชัดเจน โดยให้ผู้เรียนเขียนภาพขั้นตอนการไหลของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว เรามักจะไล่ภาพขั้นตอนการไหลของกระบวนการเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำความเข้าใจกระบวนการนั้น ๆ แต่ในกรณีที่เราต้องสืบสวนหาสาเหตุรากเหง้าของปัญหา เราต้องใช้ “เทคนิคย้อนรอย” ไล่ย้อนกลับไปตั้งแต่จุดที่พบความผิดปกติ ไล่ย้อนกลับไปกระบวนการก่อนหน้า เพื่อหาข้อสันนิษฐานว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากสาเหตุความผิดพลาดในกระบวนการใด ? ดูรายละเอียดหลักสูตร “Systems Problem Solving and…
"Coach" vs "Consultant" คู่คิดธุรกิจ
ปัจจุบันที่กระแสนิยมในเรื่องโค้ช (Coach) กำลังมาแรง ประเด็นที่ถูกพูดถึงกันบ่อย ๆ ก็คือ ระหว่างโค้ช (Coach) กับที่ปรึกษา (Consultant) อย่างไรดีกว่ากัน ? ทั้งสองบทบาทเสริมกันหรือขัดแย้งกัน ? ถ้าเราพิจารณาในส่วนประกอบทั้ง 2 บทบาทนั้น จะประกอบด้วย Self – ตัวเราเองที่สวมบทบาทโค้ช หรือที่ปรึกษา Other – ผู้อื่นที่สวมบทบาทโค้ชชี่ หรือผู้รับคำปรึกษา Context – บริบทเนื้อหาเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการจะเลือกสวมบทบาทโค้ช…
"Root Cause Analysis" ในธุรกิจบริการ "รับส่งพนักงาน"
พอพูดถึงการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis) ด้วยวิธีการตั้งคำถาม ทำไม-ทำไม หรือที่เราเรียกว่า Why-Why Analysis หลายคนคงนึกไปถึงภาพเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้นที่จะใช้วิธีนี้ แท้ที่จริงแล้วการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis) นั้นเป็นเครื่องมือในการช่วยให้การคิดเป็นลำดับขั้นตอน มีวิธีการคิดที่เป็น Logic เป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นจึงไม่จำกัดว่าจะใช้ได้เฉพาะภายในโรงงานเท่านั้น แต่สามารถใช้ได้ในงานทุกงาน ไม่ว่าจะเป็น “งานผลิต” หรือ “งานบริการ” วันนี้ (21/01/2560) ผมได้มีโอกาสมาเป็นวิทยากรบรรยายในหลักสูตร “Root Cause Analysis”…