Post Grid #1
LEED : มาตรฐานอาคารเขียว…สิ่งที่นักสร้างอาคารต้องเข้าใจ (ตอนที่ 2)
(มาว่ากันตอนในตอนที่ 2 กับ LEED มาตรฐานอาคารเขียว) ความน่าสนใจของ LEED ที่ออกแบบเกณฑ์การให้คะแนนมาอย่างเป็นระบบด้วยการผลักดันไปให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริงคือ 1. ปัจจัยที่ส่งผลมากก็จะมีสัดส่วนที่เป็นคะแนนเต็มสูงกว่าปัจจัยที่ส่งผลน้อย 2. ข้อที่ได้คะแนนเต็มจะมีคะแนนพิเศษเพิ่มให้ ทั้งสองส่วนนี้มองว่าเป็น LEAD factors หรือเป็นปัจจัยที่ชักนำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายพยายามให้ความสำคัญกับมิติที่ส่งผลต่อการสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จุดที่น่าสนใจอีกเรื่องของการประเมินมาตรฐาน LEED คือการมุ่งไปที่การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดวงจรชีวิตของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างระบบการให้คะแนนแต่ละข้อจะแยกอย่างละเอียดเพื่อส่งเสริมเป้าหมายความยั่งยืนในแต่ละมิติอย่างชัดเจน เช่น คะแนนของการใช้วัสดุรีไซเคิลจะแยกเป็นวัสดุรีไซเคิลที่มาจากท้องถิ่นกับจากสถานที่อื่นที่ต้องขนส่งมา คะแนนจะไม่เท่ากัน รวมถึงประเภทของวัสดุรีไซเคิลที่เคยผ่านการใช้งานมาแล้ว หรือยังไม่เคยใช้งานมาก่อนก็ได้คะแนนไม่เท่ากัน จะเห็นว่าเกณฑ์การประเมินทุกหมวด ทุกข้อจะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ มาตรฐาน LEED…
LEED : มาตรฐานอาคารเขียว…สิ่งที่นักสร้างอาคารต้องเข้าใจ (ตอนที่ 1)
วันศุกร์ที่ผ่านมามีโอกาสฟังบรรยายหัวข้อ “แนวทางการออกแบบและก่อสร้างอาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED” โดย รศ.ดร.พันธุดา พุฒิไพโรจน์ ได้รับเชิญไปบรรยายที่บริษัท THAI NISHIMATSU CONTRUCTION ในฐานะที่ต้องคัดเลือกสรรหาวิทยากรให้ลูกค้าตามโจทย์และ Requirement หลายครั้งจึงมีโอกาสได้เจอวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิ มากด้วยประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญในงานที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ตลอดเวลา ครั้งนี้ก็เช่นกันโอกาสมาฟังเรื่องมาตรฐานงานก่อนสร้างอาคารเขียวมาตรฐาน LEED ความน่าสนใจของมาตรฐาน LEED คือ เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ตัวระบบการประเมินถูกออกแบบมาอย่างครอบคลุม เพื่อให้นำไปสู่การออกแบบและการก่อสร้างอาคารอย่างยั่งยืนเป็นอย่างดี เกณฑ์แต่ละเกณฑ์และหมวดหมู่การประเมินแต่ละหมวดรวมถึงการให้คะแนนล้วนแต่มีทิศทางไปเพื่อจูงใจให้ทุกๆ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบก่อสร้างอาคารไม่ว่าจะเป็นเจ้าของอาคาร สถาปนิกผู้ออกแบบอาคารทั้งภายนอกและภายใน รวมถึงผู้รับเหมาก่อสร้างให้ความใส่ใจต่อเกณฑ์การประเมินที่เกี่ยวข้องกับตัวเองอย่างรอบด้าน…
10 วิธีทำ Marketing ตัวเอง (สำหรับ HR)
มีเสียงตอบรับที่ดีมากจากบทความ #งานHRคืองานMarketing วันนี้ เลยอยากเขียน How to เพิ่มอีกอีกหน่อย เพื่อเป็นแนวทางให้ลองเอาใช้ในที่ทำงานของตัวเอง จัดกิจกรรมที่สนุกสนานอย่างสม่ำเสมอ เช่น งานประกวดต่างๆ เล่นเกมชิงรางวัล เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้นในที่ทำงาน ขอย้ำว่าต้องเป็นกิจกรรมที่สนุก ทุกคนอยากเล่น ตั้งตารอคอย กิจกรรมเชยๆ หรือมีสาระจนเกินไปอาจจะแป๊ก ไม่มีใครยอมเล่นด้วย ใช้สื่อที่หลากหลาย เช่น คลิป, โปสเตอร์ ที่ดึงดูดใจ ตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งองค์กรอาจจะต้องแยกสื่อที่ชัดเจนสำหรับแต่ละกลุ่ม หากมีทั้งกลุ่มพนักงานโรงงานและพนักงานออฟฟิต ใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย เช่น…
งาน HR คือ “งาน Marketing”
หลายคนฟังชื่อแล้วอาจคิดว่าผู้เขียนกำลังสับสน งาน HR จะไปเหมือนกับงาน marketing ได้อย่างไร ทั้งที่งาน HR ออกจะไปในแนวงานแม่บ้าน คอยดูแลเอาใจใส่คนที่อยู่ในองค์กร แต่ในความเป็นจริง นั่นเป็นเพียงบทบาทด้านเดียวในเชิงตั้งรับ เป็นงานหลังบ้านของหลังบ้านอีกที (ฟังดูเหมือนกระโถน) แตกต่างจากงานเชิงรุกที่เน้นประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ ทำการตลาดกับพนักงานในบริษัทที่เรียกว่า Employee Branding ให้พนักงานและกลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นพนักงานบริษัทรู้ว่าบริษัทเรามีสวัสดิการ กิจกรรม นโยบายที่บังคับใช้อย่างไร และบริษัทเราคู่ควรให้คนเก่งๆ อย่างพวกเขามาร่วมงานด้วยอย่างไร ทั้งหมดนี้เป็นบทบาทเชิงรุกของงาน HR ผ่านงานสื่อสารภายในองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก แต่ HR ส่วนใหญ่มักหลงลืมไปและไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร การปรับบทบาท…