Post Grid #1
ปรับปรุงงานอย่างไร ให้สะท้อนผลกำไร
ก่อนเริ่มทำกิจกรรมปรับปรุงงานใด ๆ สิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจก่อน ก็คือในเรื่องบัญชีต้นทุน เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนของกิจการเราว่าเป็นอย่างไร ? การทำกิจกรรมปรับปรุงงานแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วม จะต้องเริ่มจากจุดนี้ โดยผู้บริหารระดับสูงขององค์กรจะต้องกำหนดเป้าหมายในภาพรวมว่าต้องการกำไรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ? เมื่อกระจายเป้าหมายไปแล้ว ฝ่ายขายต้องไปทำยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ? ไปลดต้นทุนการบริหารงานขายเท่าไหร่ ? ฝ่ายผลิตต้องไปลดต้นทุนเท่าไหร่ ? ถ้าเราลองไปวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต (Manufacturing Cost) ก็จะประกอบไปด้วยต้นทุนวัตถุดิบ (Raw Material Cost) ต้นทุนโสหุ้ยการผลิต (Overhead Cost) ต้นทุนแรงงาน (Labour Cost)…
ชั่งเกิน กำไรหาย – ชั่งขาด ลูกค้าหด
หลาย ๆ โรงงานที่ผลิตสินค้าบรรจุถุงขายเป็นแพ็กกรัม แพ็กกิโล ปัญหาอย่างหนึ่งที่ต้องเผชิญก็คือ จะควบคุมกระบวนการบรรจุถุงอย่างไร เพื่อไม่ให้ชั่งน้ำหนักสินค้าขาดไป ต่ำกว่าค่าน้ำหนักที่ระบุไว้ข้างถุง แต่จะชั่งเผื่อเกินไปมาก ก็จะทำให้กำไรหดหาย ดังนั้นในกระบวนการบรรจุถุง (Packing) จะต้องมีการเฝ้าติดตาม (monitor) ขีดความสามารถในการควบคุมกระบวนการ (Process Capability) ว่าสามารถควบคุมค่าน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักสินค้าที่กำหนดได้หรือไม่ จากรูปข้างบน Spec. ในการควบคุมน้ำหนักสินค้าค่าจะอยู่ระหว่างช่วง 200 g – 205 g แต่จากการเก็บข้อมูลสินค้า 130 ตัวอย่างมาชั่งน้ำหนัก พบว่าน้ำหนักสินค้ามีความผันแปร…
เตรียมพร้อม! ซ้อมโดนไล่ออก!
ช่วงนี้ได้มีโอกาสฟังข่าวการเลิกจ้างพนักงานบริษัทที่คืนใบอนุญาต ผู้ประกอบการ TV Digital หลายๆ บริษัททยอยเลิกจ้างพนักงานมาตั้งแต่เดือนเมษายน เริ่มตั้งแต่แจ้งคืนใบอนุญาต ขณะที่หลายๆ บริษัทเลิกจ้างในวินาทีสุดท้าย ซึ่งแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกัน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า “การถูกเลิกจ้าง” ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป ในฐานะคนทำงาน HR ที่เกี่ยวข้องกับการเลิกจ้างพนักงาน ก็มีประสบการณ์ตรงที่อยากแชร์เพื่อให้ทุกคนตระหนักและเตรียมพร้อมรับมือกับการเลิกจ้างที่สามารถเกิดขึ้นได้กับพวกเราทุกคนสมัยที่เริ่มทำงาน HR ในบริษัทข้ามชาติ เหตุการณ์การเลิกจ้างเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ช่วงเริ่มทำงานใหม่ๆ รู้สึกตกใจมากเมื่อทราบว่าบริษัทมีนโยบายเลิกจ้างพนักงาน แต่เจ้านายซึ่งเป็น HR Director อธิบายว่าเป็น “Business Requirement” หรือ “ความจำเป็นทางธุรกิจ” พร้อมปลอบใจเล็กๆ…
Action Learning Facilitator รูปแบบของ “กระบวนกร” ผ่าน กระบวนทีม
Facilitator หรือที่เราคุ้นหูกันในภาษาไทยคือ “กระบวนกร” ในขณะที่อีกหลายคนเรียกว่า นักอำนวยการเรียนรู้, นักไกล่เกลี่ย ฯลฯ และไม่ว่าจะมีชื่อเรียกใด Guru กล่าวถึงบทบาทของ “กระบวนกร” ว่าหมายถึง “ผู้ดำเนินกระบวนการเพื่อให้เกิดความง่ายต่อกลุ่มผู้มีส่วนร่วมเพื่อบรรลุข้อสรุปร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (to make things easy for participants to conclude something together)”. กลุ่มผู้มีส่วนร่วมหรือกลุ่มผู้เกี่ยวข้องอาจหมายถึงสมาชิกในองค์กรเดียวกัน หรือผู้มีส่วนร่วมจากต่างองค์กร หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือกลุ่มผู้ร่วมประชุม ฯลฯ เป็นต้น ทักษะสำคัญของกระบวนกรคือศิลปะการเชื้อเชิญให้สมาชิกมีส่วนร่วมและสนใจในเรื่องเดียวกัน…