fbpx

Home

Post Grid #1

เทคนิควิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าด้วย Why-Why Analysis

เทคนิควิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าด้วย Why-Why Analysis

นายเรียนรู้Aug 13, 20212 min read

การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา หรือที่เรียกว่า Root Cause Analysis นั้น มีเทคนิคในการตั้งคำถามที่นิยมใช้กัน ก็คือ การตั้งคำถามด้วยคำว่า “ทำไม-ทำไม?” ซึ่งมีการเรียกเทคนิคนี้ว่า “Why-Why Analysis” หรือ “5 Why Analysis” แล้วแต่จะเรียกกันไป เมื่อลองมาวิเคราะห์ดูว่า เหตุใดเทคนิคการตั้งคำถามง่าย ๆ ด้วย “ทำไม-ทำไม?” แบบนี้ จึงเป็นที่นิยมกัน และใช้กันอย่างแพร่หลาย เหตุผลหนึ่ง ก็คือ มันทำให้เราเข้าใจกลไกการเกิดขึ้นของปัญหา ลองไปดูตัวอย่างการวินิจฉัยของแพทย์ต่อการเสียชีวิตของคนไข้รายหนึ่งที่ถูกมดตะนอยกัด…

dummy-img

คำถามง่าย ๆ ที่ทรงพลัง “5W1H” ต่อขั้นตอนการจัดหาวัคซีนโควิด ?

สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยในปัจจุบัน เรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤติ จำนวนผู้ติดเชื้อ และจำนวนคนเสียชีวิตพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า แม้จะฉีดวัคซีน Sinovac ไปแล้ว 2 เข็ม ก็ยังติดเชื้อได้ ทางออกในภาะวิกฤตินี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมาทบทวนกลยุทธ์ในการจัดหาวัคซีน และขั้นตอนในการจัดหาวัคซีนกันใหม่ คำถามง่าย ๆ แต่สุดแสนจะทรงพลังในการปรับปรุงงาน ก็คือ การตั้งคำถามกับสิ่งที่ทำอยู่ด้วยคำถาม “5W1H” “What” + “Why” – เพื่อค้นหาจุดประสงค์ที่แท้จริงในการทำงานนั้น ทำอะไร ?…

dummy-img

ซื้อถูก หรือซื้อแพง วิเคราะห์กันดีแล้วหรือยัง ?

นายเรียนรู้May 26, 20211 min read

หลายโรงงานที่รับซื้อวัตถุดิบเป็นของสด เพื่อนำเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า น่าจะเจอปัญหาอย่างหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ บางครั้งราคาวัตถุดิบก็ช่างเย้ายวนใจให้ซื้อเสียเหลือเกิน แต่ปริมาณก็อาจจะมีไม่มาก จะเดินเครื่องผลิตที่ไม่รู้จะคุ้มค่าแรง ค่าไฟหรือเปล่า ? ปัญหาในลักษณะนี้ คงต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุนการผลิต (บาทต่อหน่วย) ที่ผันแปรไปตามปริมาณการผลิต (หน่วย) ว่าเป็นเช่นไร ? เพื่อนำข้อมูลในส่วนตรงนี้ไปให้ฝ่ายที่จัดหาวัตถุดิบเข้าโรงงาน ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะรับซื้อหรือไม่ ? จะเห็นได้ว่า การบริหารต้นทุนที่ดี ต้องอาศัยข้อมูลตัวเลขที่แท้จริงของแต่ละส่วน เข้ามาประกอบการพิจารณากันให้ดี สร้างเป็น Model ในการตัดสินใจ “นายเรียนรู้” บุญเลิศ คณาธนสาร 086-7771833…

dummy-img

เริ่มต้นปรับปรุงกระบวนการ ด้วยการขจัดความสูญเสีย 8 ประการในการทำงาน

นายเรียนรู้Feb 16, 20213 min read

ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างนี้ พนักงานหลาย ๆ คนคงได้รับมอบหมายนโยบายจากผู้บริหาร หัวหน้างาน ให้ช่วยกันหาแนวทางในการปรับปรุงงาน เพื่อลดต้นทุนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต หลายคนอาจจะเริ่มต้นไม่ถูก ไม่รู้จะมองหาไอเดียในการลดต้นทุนอย่างไร ? เทคนิคหนึ่งที่อยากจะแนะนำ ก็คือ ให้ลองเริ่มต้นค้นหาจากการทำงานรอบ ๆ ตัว ว่ามีความสูญเสียอะไรบ้างหรือเปล่า ? ความสูญเสียโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกออกได้ 8 ประเภทด้วยกัน Defects – งานผิด คือ การทำงานผิดพลาด เกิดงานเสียเกิดขึ้น ทำให้ต้องทิ้งชิ้นงานนั้นหรือต้องเสียเวลาและทรัพยากรมาแก้ไขงานให้ถูกต้อง ทำให้ต้นทุนของธุรกิจสูงขึ้น ถ้าของเสียเหล่านี้หลุดถึงมือลูกค้าก็จะเกิดข้อร้องเรียนและทำให้บริษัทเสียชื่อเสียงและธุรกิจในอนาคตได้ Overproduction…