fbpx

"CSR in-process" มองให้กว้างจาก Origin ถึง Consumer

ในการทำ CSR หากจะจำแนกประเภทแล้ว จะสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

  1. “CSR in process” หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อมขององค์กร เช่น การดูแลสวัสดิการพนักงาน, การผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม, ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
  2. “CSR after process” หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรโดยตรง เช่น การปลูกป่า, การบริจาคทุนการศึกษา, การรณรงค์สร้างจิตสำนึก, การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
  3. “CSR as process” หมายถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น มูลนิธิ หรือ สมาคมการกุศลต่างๆ

ส่วนใหญ่แล้วเราจะมองเห็นภาพการทำกิจกรรมของบริษัทต่าง ๆ ในรูปแบบ “CSR after process” ซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่บริษัทต่าง ๆ เริ่มให้ความสนใจในการทุ่มเทงบประมาณมาจัดทำกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาผู้บริโภค (Consumer)

แต่การทำ “CSR after process” นั้น หากมองในเชิงผลกระทบ (Impacts) และผลประโยชน์ (Interests) ที่เกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) แล้วนั้นนำว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับการทำ “CSR in process”

ในการทำ “CSR in process” บริษํทจะต้องมีความเข้าใจมุมมอง (Perspective) ในการวิเคราะห์เพื่อให้มองเห็นภาพของผลกระทบ (Impacts) และผลประโยชน์ (Interests) ที่เกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ได้อย่างชัดเจน

คำว่า “CSR in process” ไม่ได้ขีดกรอบจำกัดไว้ภายในโรงงาน ภายในกระบวนการผลิตเท่านั้น หรือการมองครอบคลุมตั้งแต่ Supplier ไปถึง Customer ตามกรอบการวิเคราะห์ “SIPOC Model” ก็ยังไม่เพียงพอ บริษัทจะต้องมองให้กว้างตั้งแต่จุดเริ่มต้น (Origin) ของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในกระบวนการมีที่มาที่ไปอย่างไร ไปจนถึงขั้นสุดท้าย คือ ผู้บริโภค (Consumer) เพื่อพิจารณาผลกระทบ (Impacts) และผลประโยชน์ (Interests) ที่เกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ทั้งหมด

supplychain4

ขอยกตัวอย่างอุตสาหกรรมอาหารแบบครบวงจรในประเทศไทยที่มีการเติบโตอย่างมาก มีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่งขายไปยังต่างประเทศ ทำให้มีความต้องการในการใช้ข้าวโพด จำนวนมากเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งด้วยความต้องการข้าวโพดที่มากนี้เอง ทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดอย่างมาก บางพื้นที่รุกล้ำเข้าไปในบริเวณพื้นที่ป่า อย่างเช่น ในงานศึกษาวิจัย“ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จ.น่าน” ซึ่งตรงนี้เองนับว่าเป็นโจทย์ใหญ่ที่บริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกร จะมีแนวทางในการทำ “CSR in process” อย่างไรเพื่อช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ทั้งในการส่งเสริมการทำการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต และการกำหนดมาตรการในรับซื้อผลผลิตอย่างยั่งยืน

ในอีกด้านหนึ่ง คือ ด้านผู้บริโภค (Consumer) ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นเรื่องสำคัญที่บริษัทจะต้องให้ความใส่ใจ แม้ว่าบริษัทจะไม่ได้เป็นผู้จำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง อย่างเช่น บริษัททำการจำหน่ายเนื้อสัตว์ให้กับผู้ประกอบการร้านอาหาร แล้วผู้ประกอบการร้านอาหารนั้นก็นำเนื้อสัตว์ดังกล่าวไปปรุงอาหารเพื่อให้กับผู้บริโภครับประทาน แต่เมื่อมีผู้บริโภครับประทานเข้าไปแล้วพบสิ่งแปลกปลอมเจือปนอยู่ ก็คงเป็นเรื่องที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ที่บริษัทจะต้องเข้าไปตรวจสอบสิ่งเกิดขึ้น

ซึ่งพบว่าบริษัทบางแห่งได้ให้ความใส่ใจกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก มีการเก็บชิ้นเนื้อไปพิสูจน์หาสิ่งแปลกปลอมในห้อง Lab มาตรฐาน นอกจากนี้แล้วยังมีระบบ e-traceability ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ขั้นตอนการเลี้ยงในฟาร์ม การผลิตในโรงงาน

จะเห็นว่าการทำ “CSR in process” หากบริษัทมีความเข้าใจอย่างแท้จริง และให้ความใส่ใจในการทำอย่างจริงจังจะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) อย่างมาก

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts