ปัจจุบันที่กระแสนิยมในเรื่องโค้ช (Coach) กำลังมาแรง ประเด็นที่ถูกพูดถึงกันบ่อย ๆ ก็คือ ระหว่างโค้ช (Coach) กับที่ปรึกษา (Consultant) อย่างไรดีกว่ากัน ? ทั้งสองบทบาทเสริมกันหรือขัดแย้งกัน ?
ถ้าเราพิจารณาในส่วนประกอบทั้ง 2 บทบาทนั้น จะประกอบด้วย
- Self – ตัวเราเองที่สวมบทบาทโค้ช หรือที่ปรึกษา
- Other – ผู้อื่นที่สวมบทบาทโค้ชชี่ หรือผู้รับคำปรึกษา
- Context – บริบทเนื้อหาเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้นการจะเลือกสวมบทบาทโค้ช หรือที่ปรึกษานั้น ตัวเราเองต้องพิจารณาความพร้อม หรือความต้องการของผู้อื่นด้วยว่าเขาต้องการให้เราทำการโค้ชให้ หรือเขาต้องการที่จะขอคำปรึกษาจากเรา
เมื่อเราได้พิจารณาความต้องการของผู้อื่นแล้ว เราก็ต้องไปพิจารณาใน Context ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทบาทที่ปรึกษา ในเรื่องบริบทเนื้อหาที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญอย่างยิ่งที่เราต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความเลื่อมใสศรัทธา (Faith) ในตัวที่ปรึกษามากขึ้น
ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างโค้ช กับโค้ชชี่ สิ่งสำคัญคือความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (Trust) และโค้ชไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรู้รายละเอียดในเรื่องที่ทำการโค้ช แต่การมีความรู้ และประสบการณ์ในเรื่อง ๆ นั้นด้วยจะช่วยส่งเสริมการฟังให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะนำไปสู่การตั้งคำถามที่ทรงพลัง (Powerful Question)
เครื่องมือ และกระบวนการโค้ชก็มีแตกต่างกันหลายศาสตร์ แต่ก็อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน คือ
- การพาโค้ชชี่เดินทางไปสู่เป้าหมาย
- โค้ชทำหน้าที่เป็นกระจกเงาให้โค้ชชี่สำรวจตัวเอง
- โค้ชเต้นรำไปกับโค้ชชี่ด้วยจังหวะเดียวกัน
ส่วนรายละเอียดเครื่องมือ และกระบวนการโค้ชแต่ละวิธีเป็นอย่างไรนั้น เดี๋ยวไว้โอกาสหน้าจะมาเล่าสู่กันฟัง
“นายเรียนรู้”
วิทยากร และที่ปรึกษา
A@LERT Learning and Consultant
มือถือ 086-7771833
E-mail : boonlert.alert@gmail.com
Facebook : นายเรียนรู้
Line ID : @lert
www.nairienroo.com