“Butterfly Effect” “ทฤษฎีผีเสื้อกระพือปีก (Butterfly effect)” อันลือลั่นนั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาวงจรชีวิตของเจ้าผีเสื้อตัวน้อยแต่อย่างใด แต่เกิดจากการทดลองทางด้านการพยากรณ์อากาศ ในปี ค.ศ. 1961 ของเอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ (Edward Lorenz) ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองสภาพอากาศ ซึ่งในการคำนวณครั้งถัดมาเขาไม่ต้องการเริ่มแบบจำลองจากจุดเริ่มต้นใหม่เพื่อประหยัดเวลาในการคำนวณ เขาจึงใช้ข้อมูลในการคำนวณก่อนหน้านี้เพื่อเป็นค่าเริ่มต้น เขาพบว่าสาเหตุเกิดจากการปัดเศษ จากการคำนวณค่าที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีค่าน้อยมากแม้แค่เพียง .0000001 ที่คลาดเคลื่อนไปนั้นก็สามารถนำไปสู่ความแตกต่างอย่างมากมาย เรียกว่าไวต่อสภาวะเริ่มต้น ซึ่งก่อให้เกิดกราฟรูปผีเสื้อ
Category: Life is Learning
บุรุษนามว่า OSHO “OSHO” นักปรัชญาร่วมสมัยชาวอินเดีย แม้บุรุษผู้นี้จะล่วงลับไปแล้ว แต่คำบรรยายของ “OSHO” ต่อสานุศิษย์ทั้งหลาย ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ทันสมัย และเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ง่าย จนได้มีการถอดเทปการบรรยายของท่านออกเป็นหนังสือซีรีย์ต่าง ๆ จำนวนมากมาย และได้รับการแปลและเผยแพร่ในหลายภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย โดยส่วนใหญ่หนังสือภาษาไทยของ “OSHO” จะถูกจัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ Freemind ได้แก่ ปัญญาญาณ, อิสรภาพ, วุฒิภาวะ, เชาว์ปัญญา,
The Lemon Tree บนเส้นทางการเรียนรู้ มีหลากหลายเส้นทางในการเรียนรู้ เพื่อทำให้เรามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ ได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน ที่เราสามารถหาความรู้ได้มากมายทั้งบนโลกออนไลน์ผ่านทาง Google, YouTube ฯลฯ หรือบนโลกที่จับต้องตัวสื่อได้ เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน, นิตยสาร, หนังสือต่าง ๆ “The Lemon Tree” ผลงานของ “SANDY TOLAN”
“ห้องแต่งผมไมเต้” โลกของหนังสือ คือ โลกแห่งจินตนาการ โลกที่จำลองสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงในสังคม วรรณกรรมเยาวชนเป็นหนังสือประเภทหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของคนหลาย ๆ คน ให้หลงใหลในการอ่านหนังสือ “ห้องแต่งผมไมเต้” ผลงานของ มารี-โอ๊ด มูรัย ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย โดย เย็นตา จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา เป็นวรรณกรรมเยาวชนเรื่องหนึ่ง ที่ผู้เขียนได้หยิบมาอ่านแล้ววางไม่ลง ต้องอ่านรวดเดียวจนจบ เรื่องราวที่ชวนติดตามของเด็กหนุ่มชั้น ม.3 “หลุยส์ เฟรีแยรส์”
ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้รับเชิญจาก สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้ไปแบ่งปันประสบการณ์การเป็นกระบวนกร (Facilitator) ให้กับชุมชนกระบวนกร ในงาน CoP#16 ที่มีอาจารย์เอกรัตน์ รวยรวย เป็นผู้ประสานงานในการกิจกรรมเรียนรู้ครั้งนี้ให้เกิดขึ้น ผู้เขียนได้เล่าประสบการณ์การเป็นกระบวนกร (Facilitator) ตั้งแต่สมัยที่มีโอกาสมาทำงานที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย เพื่อเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบ Constructionism เพื่อนำไปปรับใช้ในโครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของพนักงาน ธุรกิจกระดาษและบรรจุภัณฑ์ เครือซิเมนต์ไทย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า โครงการ C-Pulp
ในวันนี้จะขอแนะนำหนังสือน่าอ่านสำหรับคนที่สนใจเรื่องการศึกษา หนังสือนี้ชื่อว่า “How Learning Works: 7 Research-Based Principles for Smart Teaching” ซึ่งมีการแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ “การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21: 7 หลักการสร้างนักเรียนรู้แห่งอนาคตใหม่” ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้ คือ การตั้งคำถามกับปัญหาในเรื่องที่ส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการทำวิจัยนับพันชิ้น เพื่อให้เข้าใจปัญหา เข้าใจที่มาที่ไป และได้สรุปออกมาเป็นหลักการ 7 ข้อ
(บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม 2558) “ปัญหาทุกปัญหาย่อมมีทางออก” “ทางออกของปัญหา อันหมายถึง เส้นทางที่จะนำเราไปสู่สิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่แตกต่างนั้นย่อมต้องดีกว่าเดิม” ในประสบการณ์ของผู้เขียนในการทำหน้าที่ “ที่ปรึกษา (Consultant)” ให้กับบริษัทต่าง ๆ ในเรื่องของการแก้ปัญหา พัฒนาปรับปรุงงานนั้น พบว่ามี “หลุมพราง” ที่มาคอยสกัดกั้นขวางเส้นทางสู่ “ทางออกของปัญหา” อยู่ด้วยกัน 2 หลุมพรางใหญ่
ในงาน Give&Take ครั้งล่าสุดที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แบ่งปันความรู้ในหัวข้อ กฎสามข้อในการสร้างนิสัยใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจารย์ธงชัย ได้สรุปเป็นหลักการไว้ดังนี้ “1. Single: เราควรสร้างนิสัยทีละอย่าง อย่าสร้างนิสัยหลายอย่างพร้อมๆ กัน ควรทำนิสัย 1 อย่างให้ต่อเนื่องจนเป็นอัตโนมัติ แล้วจึงเริ่มสร้างนิสัยใหม่ และควรมีแรงจูงใจมากพอในการสร้างนิสัย
จากประสบการณ์ในการฝึกอบรม และพัฒนาคนของผู้เขียน ตั้งแต่ปี 2545 มีอยู่หลายบทบาท ได้แก่ Facilitator โครงการ C-Pulp ด้วยแนวคิดการเรียนรู้แบบ Constructionism ให้กับเครือซิเมนต์ไทย (2545-2549) Coach ด้าน Productivity Improvement ให้กับเครือเบทาโกร (2549-2557) และบทบาทของ Trainer ที่เชี่ยวชาญในเรื่องกระบวนการคิดแก้ปัญหา และคิดตัดสินใจ ให้กับ A@LERT
“…เพราะเธอนั่นไง คือ เหตุผลที่ทำให้ฉันเชียน เป็นเพราะเธอส่ง ส่งใจมามาให้กัน แทนกระดาษดินสอ ด้วยรักที่คงมั่น ให้ฉันเขียนเป็นถ้อยคำถึงเธอ…” คือ เนื้อเพลงท่อนหนึ่งของเพลง “เขียนให้เธอ” ผลงานของ พี่จิก-ประภาส ชลศรานนท์ เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ผู้เขียนนึกถึง เวลาที่มีคนรู้จักมาถามว่า “เขียนหนังสือไปเพื่ออะไร…?” ผู้เขียนก็มักจะเล่าถึงความปลื้มใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ตัวเองก็มีแฟนคลับที่คอยติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ บางคนก็เขียน E-mail มาพูดคุยด้วย