ว่ากันต่อด้วยไอเดียการทำโครงการ “โรงเรียนนักคิด” วันนี้ได้มีโอกาสคุยกับอาจารย์ท่านหนึ่งที่สนใจในโครงการนี้ ซึ่งสนใจอยากให้ไปจัดอบรมให้กับอาจารย์อาชีวะที่อยู่ในกลุ่มเครือข่ายทั่วประเทศกว่า 400 วิทยาลัย เป็นโจทย์ที่ต้องขบคิดกันต่อไปว่าจะไปสร้างความร่วมมืออย่างไรในระดับ Cluster ระหว่างภาครัฐ กับภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการในท้องถิ่นนั้น ที่จะมาร่วมขับเคลื่อนโครงการ “โรงเรียนนักคิด” ให้เกิดขึ้น ดูรายละเอียดหลักสูตร “Analytical and Systematic Thinking” สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant คุณชลมารค (มิลค์)
Category: Thinking
ทักษะหนึ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ และการทำงานในศตวรรษที่ 21 นั่นก็คือ “ทักษะการคิด” แต่น้อยมากที่จะมีการฝึกฝน “ทักษะการคิด” ให้กับนักเรียน ผู้เขียนเองมีประสบการณ์ในเรื่องการสอน “ทักษะการคิด” ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking Skill) ทักษะการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking Skill) ทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking Skill)
ตรรกศาสตร์กับการดำเนินชีวิต รัก… เกลียด… เชื่อฟัง… ดื้อ… ดี… ไม่ดี… ต่างล้วนเป็นตัวแปรอิสระที่ไม่ขึ้นต่อกัน ไม่สามารถใชัตรรกศาสตร์อธิบายเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้เกี่ยวข้องกันได้ เช่น เรามักได้ยินผู้ใหญ่พร่ำสอนบ่อย ๆ ว่า “เด็กดีต้องเชื่อฟัง” “เด็กดีต้องไม่ดื้อ” ลองมาใช้ตรรกศาสตร์ขบคิดดู ถ้าหนูเชื่อฟังแล้วหนูเป็นคนดี…จริงหรือ ? หนูเป็นคนดีก็ต่อเมื่อหนูเชื่อฟัง…จริงหรือ ? ชวนให้คิดกันต่อครับ อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ เพ่งโทษใครว่าเป็น “คนดี” “คนไม่ดี”
ช่วงหลังนี้ผมมักจะนำ BoardGame ที่ชื่อว่า “Hey! That My Fish” ไปให้ผู้เรียนได้เล่นกันในหลักสูตร “การคิดเชิงกลยุทธ์” เสมอ ถามว่าเล่นเกม Hey! That my fisn แล้วได้เรียนรู้อะไร ? นอกจากความสนุกสนาน คำตอบที่ได้มันเกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เรียนเล่นเกมอยู่ ผู้เรียนได้เข้าใจทฤษฎีเกม (Game Theory) จากการเรียนรู้ผ่านเกม ไม่ใช่จากการ Lecture
หากพูดถึงคำว่าเป้าหมาย หลาย ๆ คนคงคิดถึงเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องส่วนตัว หรือในเรื่องงาน เป้าหมายนั้นอาจมีที่มาที่แตกต่างกันออกไป บางส่วนมาจากที่คนอื่นกำหนดให้ บางส่วนเราอาจจะต้องเป็นคนกำหนดเป้าหมายขึ้นมาเอง เมื่อมีค่าเป้าหมายตั้งไว้ ก็ต้องนำมาเปรียบเทียบกับค่าปัจจุบันที่เป็นอยู่ ก็จะเห็นช่องว่างระหว่างค่าเป้าหมายกับค่าปัจจุบัน นั่นคือสิ่งที่เป็นปัญหา (Problem) ที่เราต้องขจัดให้หมดไป หรือมองในอีกมุมหนึ่งมันคือความท้าทาย (Challenge) ที่เราต้องก้าวไปให้ถึง ดังนั้นเป้าหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการแข่งขัน และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ลองนึกภาพดูสิครับถ้าการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ อย่างเช่น การแข่งขันวิ่ง 100
รูปที่ 1 การตั้งเป้าหมายด้วยมุมมอง Think from Right Hand Side การตั้งเป้าหมาย คือ หนึ่งในกระบวนการของการวางแผน หรือในกระบวนการแก้ไขปัญหา (ดังแสดงในรูปที่ 2) ที่เราต้องรู้ให้แน่ชัดเสียก่อนว่าเป้าหมายที่เราต้องการอยู่ที่ระดับใด ? รูปที่ 2 วงจรการแก้ปัญหาแบบ Systems Problem Solving ซึ่งโดยทั่วไปแล้วที่เรานิยมตั้งเป้าหมายกันนั้นจะใช้มุมมอง Think from
คำถามง่าย ๆ ที่ทรงพลัง “5W1H” สู่ การ ปรับปรุง งาน ด้วย ECRS 5W1H คำถามง่ายๆ ที่จะนำไปสู่การปรับปรุงงาน คำถามง่าย ๆ แต่สุดแสนจะทรงพลังใน การ ปรับปรุง งาน ด้วย ECRS ก็คือ การตั้งคำถามกับสิ่งที่ทำอยู่ด้วยคำถาม “5W1H” “What”
คณิตศาสตร์ข้างถนน ผู้เขียนชื่นชอบการกินเต้าฮวยมาก ๆ ส่วนภรรยาก็ชื่นชอบการกินน้ำเต้าหู้อย่างมากเช่นกัน และแถวบ้านก็มีร้านขายเต้าฮวย-น้ำเต้าหู้อยู่เจ้าหนึ่ง อยู่ในซอยเพชรเกษม 54 เข้าซอยไปประมาณ 30 เมตร อยู่ด้านซ้ายมือ ขอบอกว่าอร่อย…อร่อย…มาก ๆ เนื้อเต้าฮวยเนียนมาก ๆ และน้ำขิงก็เผ็ดได้ใจกำลังดี ซดเข้าปากแล้วสดชื่นทันตา ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผู้เขียนกับภรรยาเวลาซื้อก็มักจะซื้อไปฝากเพื่อนบ้านด้วย ก็ซื้อกันประมาณอย่างละ 3-4 ถุง ซึ่งหากอาเจ๊กแก้ตั้งราคา 10 บาท
เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วที่ผู้เขียนได้เขียนถึงเรื่อง “ผีเสื้อกระพือปีก” จากการได้พูดคุยกับ ดร.ไสว บุญมา ที่จะขยายแนวคิดโครงการส่งเสริมการอ่านนี้ไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดแรงกระเพื่อมในวงกว้างนั้น ในวันเสาร์ที่ผ่านมา (23/11/56) ที่ร้าน House of Commons – Café&Space (https://www.facebook.com/HOCSpace) ร้านกาแฟสไตล์ Learning Community เล็ก ๆ ย่านฝั่งธน ริม ถ.เจริญนคร
โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร? “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร?” ประโยคคำถามยอดฮิตประโยคหนึ่งที่ผู้ใหญ่มักชอบถามเด็ก และคำตอบที่ได้ก็จะเป็นอยากเป็นคุณหมอบ้าง อยากเป็นนางพยาบาลบ้าง อยากเป็นวิศวกรบ้าง อยากเป็นคุณครูบ้าง หรือในยุคสมัยนี้อาจจะเปลี่ยนไปแล้วว่าอยากเป็นนักร้องบ้าง อยากเป็นดาราบ้าง อยากเป็นนักแบดมินตันมือ 1 ของโลกบ้าง สิ่งสำคัญคงไม่ใช่คำตอบว่าอยากเป็นอะไร แท้ที่จริงแล้วความสำคัญอยู่ที่เป้าหมายที่แท้จริงว่ามีความชัดเจนเพียงใด ในหนังสือวรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค เรื่อง “อลิซ ในดินแดนมหัศจรรย์ (Alice in Wonderland)” มีตอนหนึ่งที่อลิซ ออกเดินทางแล้วไปเจอกับแมวตัวหนึ่ง “คุณเหมียวเชสเชอร์จ๊ะ ช่วยบอกหน่อยสิ