fbpx

“ดูแลพนักงานเสมือนหนึ่ง คนในครอบครัวเดียวกัน” หนึ่งในข้อความที่เห็นติดอยู่ที่โรงงาน ตอนเข้าไปทำงานที่โรงงานเยื่อกระดาษสยาม เครือซิเมนต์ไทย ช่างเป็นถ้อยความที่สร้างความอบอุ่นใจเป็นอย่างมาก และตอนทำงานอยู่ที่เครือซิเมนต์ไทยก็ได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดีทั้งในเรื่อง Safety ในการทำงาน และที่สำคัญอย่างยิ่ง ก็คือ การได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ ตลอดเวลา ในทัศนคติส่วนตัวนั้นในเรื่องการทำ CSR ในประเด็นการปฏิบัติด้านแรงงาน (Labour Practice) ผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง “การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรมจะเกิดขึ้นมิได้เลย หากผู้บริหารองค์กรมองเพียงว่า…พนักงาน เป็น ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource)

Read More

เมื่อต้นปีที่ผ่านมาสำนักข่าวชื่อดัง เอพี และ นิวยอร์ก ไทมส์ ได้สืบเสาะและเผยแพร่เรื่องราวการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรมในอุตสาหกรรมประมง ซึ่งกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วประเทศไทยและทั่วโลก โดยอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับตัวแทนจัดจำหน่ายดังที่ข่าวรายงาน คือ ไทยยูเนี่ยน สภาพความเป็นอยู่ตามรายงานที่ว่าในแต่ละวันจะมีอาหารบนเรือใน 1 มื้อ ประกอบด้วยข้าวหนึ่งชาม ผสมกับปลาหมึกต้ม หรือปลาที่ถูกโยนทิ้งอื่นๆ ให้ดื่มน้ำที่ไม่สะอาด และในห้องครัวหรือที่ต่างๆ ก็เต็มไปด้วยแมลงสาบ ห้องน้ำก็เป็นเพียงไม้กระดานที่เคลื่อนออกได้ ยามค่ำคืนสัตว์และแมลงก็มาตอมกินชามข้าวที่ไม่ได้ล้างของลูกเรือ ถูกบังคับให้ทำงานกะละ 20-22 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่มีวันหยุดพัก เกิดคำถามที่ว่ามีการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อแรงงานหรือไม่ ?

Read More

ในการทำ CSR หากจะจำแนกประเภทแล้ว จะสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทหลัก ๆ คือ “CSR in process” หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อมขององค์กร เช่น การดูแลสวัสดิการพนักงาน, การผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม, ความรับผิดชอบต่อลูกค้า “CSR after process” หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรโดยตรง เช่น การปลูกป่า, การบริจาคทุนการศึกษา, การรณรงค์สร้างจิตสำนึก, การช่วยเหลือผู้ประสบภัย “CSR as process” หมายถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น

Read More

การกำกับดูแลองค์กร (Organiztional governance) ไม่เพียงแต่เน้นในเรื่องการบริหารจัดการองค์กรด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้เท่านั้น ตัวอย่างของบริษัท ENRON ถือเป็นกรณีศึกษาในเรื่องการขาดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการทำธุรกิจเป็นอย่างดี โดยบริษัท ENRON มีการทำทุจริตปลอมแปลงตัวเลขทางการเงิน ปกปิดรายจ่าย เพื่อให้งบการเงินของบริษัทดูดีมีกำไรเป็นที่สนใจของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์   ซึ่งมีบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี Arthur Anderson ร่วมกระทำการทุจริตด้วย ท้ายที่สุดต้องถูกฟ้องร้องล้มละลาย และสูญเสียความน่าเชื่อถือ หรืออย่างกรณีล่าสุดที่ผู้บริหาร CP ALL ถูก ก.ล.ต.ปรับ ในการใช้ข้อมูลอินไซด์เดอร์ซื้อหุ้น

Read More

ในการทำ CSR สิ่งสำคัญเริ่มเลย คือ การยอมรับต่อความรับผิดชอบต่อสังคม (Recognizing social responsibility) ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมและการตัดสินใจขององค์กร ด้วยความโปร่งใส มีจริยธรรม และให้สำคัญกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้มีส่วนได้เสีย และสังคม ไม่ว่าจะเป็น ระดับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้เสีย ระดับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสังคม ระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกับสังคม เนื่องด้วยการตัดสินใจ และการดำเนินงานขององค์กร ย่อมส่งผลกระทบ (Impacts) ซึ่งประกอบไปด้วยผลประโยชน์ (Interests) และนำไปสู่ความคาดหวัง

Read More

เมื่อวานนี้ (01/12/2558) ได้มีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในหน้า 7 คอลัมน์ “หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน” ที่ได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับ “ศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงเครือเบทาโกร” นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรชั้นนำของประเทศ ได้นำแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวง มาปฏิบัติให้เกิดผล ได้ประโยชน์ทั้งในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายของรีสอร์ทเอง และเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อเผยแพร่แนวคิดเกษตรพอเพียง ให้กับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจเข้ามาศึกษาหาความรู้ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อองค์กรชั้นนำของประเทศจัดทำ “ศูนย์เรียนรู้” ขึ้นมาก็คงต้องทำให้เสมือนโชว์รูม มีการทุ่มเทงบประมาณ

Read More

ความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม คือ ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมขององค์กร ด้วยความโปร่งใสและมีจริยธรรม โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จะต้องตั้งมั่นอยู่บน หลักการความรับผิดชอบต่อสังคม 7 ประการ 1.หลักการความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในสิ่งที่เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากองค์กร โดยองค์กรควรยอมรับการตรวจสอบ และพร้อมที่จะรับผิดชอบในผลการตรวจสอบนั้น 2.หลักการความโปร่งใส (Transparency) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรมีความโปร่งใสในการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมขององค์กร ที่มีผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม

Read More

ด้วยการเติบโตและพัฒนาของภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งมีการขยายกำลังการผลิต และเติบโตอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหามลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาความเป็นธรรมในการจ้างงาน รวมไปถึงผลกระทบอื่น ๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ผู้ประกอบการที่มีธรรมาภิบาล (Good Governance) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ทั้งหมด มิใช่คำนึงถึงผลกำไรของบริษัท กับผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (Shareholders) เพียงเท่านั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีแนวทางในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และมีมาตรฐานในการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้จัดทำมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (Standard

Read More

“หมอกจาง ๆ และควัน คล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้…” บทเพลงยอดฮิตของนักร้องชื่อดัง พี่เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ สะท้อนให้เห็นภาพที่เกิดขึ้นได้อย่างดีในกรณีหมอกควันจากการเผาป่าในภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ มีการออกมาให้ข่าวว่าสาเหตุของการเผาป่านั้น เกิดจากความต้องการในการเผาเอา “เห็ดถอบและผักหวาน” ซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีมูลค่าสูง ซึ่งคงเป็นสาเหตุเล็ก ๆ เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ต้องยอมรับกันว่าสาเหตุใหญ่ประการสำตัญ ก็คือ การเผาป่าเพื่อปลูกพืชไร่ “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ซึ่งมีการเร่งขยายพื้นที่การปลูกกันอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตามความเติบโดของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในประเทศไทย ชาวบ้านต้องเร่งเก็บเกี่ยว และเตรียมแปลงให้พร้อมในการปลูกรอบถัดไปให้เร็วที่สุด

Read More