“San Francisco becomes first city to ban the sale of plastic bottles” ได้อ่านข่าวนี้ทาง Facebook เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้นึกถึง “แป๊ะเก็บขวด” คนหนึ่ง ที่ทุกเย็นจะแวะมาที่ร้าน House of Commons – Cafe&Space เพื่อมาเก็บขวดแก้ว
Category: Sustainability Development
Triple Bottom Line เป็นแนวคิดของ John Elkington โดยชี้ให้เห็นว่าธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้น จะต้องเติบโตอย่างสมดุลทั้ง 3 ด้าน Profit – การทำให้ธุรกิจเติบโตมีกำไร โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงกำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึง “ประโยชน์” และ “ต้นทุน” ที่มีผลต่อสังคม สิ่งแวดล้อม จากการดำเนินธุรกิจอีกด้วย Planet – การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ที่จะต้องใช้พยายามลดการใช้ทรัพยากร
การแก้ไขปัญหาสังคมในปัจจุบันนั้น คงไม่สามารถที่จะโยนความรับผิดชอบไปให้ภาครัฐเพียงอย่างเดียว ด้วยศักยภาพในเรื่องทรัพยากร และความเชี่ยวชาญหลักของบริษัทเอง จึงมีหลาย ๆ องค์กรนำแนวคิดของการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value – CSV) ที่ Michael E. Porter ได้นำเสนอไว้ว่า “CSV คือ การนำวิธีการทางธุรกิจมาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม โดยคำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ มาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน” โดยการดำเนินงานภายใต้แนวคิด CSV จะอยู่ภายใต้เงื่อนไข
หลายบริษัท หลายองค์กร ละเลย และมองข้ามความสำคัญของการทำ CSR ไป เพราะมองแต่เพียงว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นมาเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วหากบริษัท และองค์กรต่าง ๆ หันมามองในมุมมองที่แตกต่างไป มองว่า CSR คือ กลยุทธ์หนึ่งที่จะทำให้สามารถเติบโตคู่ไปกับสังคมได้อย่างยั่งยืน (Sustainable Development) หากมองในมุมเชิงกลยุทธ์แล้ว ก็คงต้องมาพิจารณาในเรื่อง Strategic Community Investment ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่การบริหารทรัพยากร และจุดแข็งที่องค์กรมี ที่จะนำไปใช้ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน
การแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงแล้ว ต้องเข้าไปแก้ไขที่แหล่งกำเนิดโดยที่ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันในการที่จะช่วยกันลดการปล่อยก๊าซที่ส่งผลสภาวะโลกร้อน แต่ก็มีนำเสนอแนวคิด “การค้าคาร์บอน (Carbon Trading)” คือ ให้ผู้ที่ปล่อยก๊าซฯเกินค่ามาตรฐาน สามารถซื้อคาร์บอนเครดิต จากผู้ที่มีปล่อยก๊าซฯต่ำกว่าค่ามาตรฐานได้ โดยใช้ชื่อเรียกกลไกนี้ว่า “กลไกการพัฒนาที่สะอาด” หรือ “Clean Development Mechanism” เพื่อช่วยประเทศพัฒนาแล้วที่โดนบังคับให้ลดการปล่อยก๊าซฯ แต่อ้างว่าต้นทุนการลดก๊าซในประเทศตัวเองสูงเกินไป นำเงินไปซื้อ “คาร์บอนเครดิต” จากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งกล่าวอ้างต้นทุนการลดก๊าซในประเทศดังกล่าวนั้นถูกกว่า แนวคิดการค้า “คาร์บอนเครดิต” ถูกโฆษณาและนำเสนอไปทั่วโลกว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อหยุดภาวะโลกร้อน
EIA กับ EHIA คือ อะไร ต่างกันอย่างไร แล้วทำไมต้องมี EIA (Environmental Impact Assessment) คือ “รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” จากโครงการต่าง ๆ ของรัฐและเอกชน เช่น เขื่อน โรงไฟฟ้า ถนน สนามบิน ที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ทั้งด้านบวกและลบ เพื่อเตรียมควบคุม
“ช่องสาริกา โมเดล” นับเป็นแนวคิดในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนของเครือเบทาโกร ที่ได้นำแนวคิดในด้าน Productivity Management เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านใน ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี โดยล่าสุดได้ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Productivity World ของ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ฉบับที่ 119 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558) ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่จบปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์อย่างคุณวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ทำให้มองว่าการทำ CSR แบบเดิม ๆ
ข่าวคราวความเคลื่อนไหวที่เป็นประเด็นใหญ่อีกประเด็นหนึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ การออกมารวมตัวคัดค้าน “ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. …” เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา โดยข้อเท็จจริงแล้วในเรื่องสิทธิการรับรู้เรื่อง GMOs ของผู้บริโภคในประเทศไทยฉลาก มีมานานตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ครอบคลุมอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารที่มี GMOs เพียง 2 ชนิด คือ ถั่วเหลืองและข้าวโพด ใน
ในปัจจุบันหลายธุรกิจมีการนำระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (contract farming) มาใช้ในการจัดการบริหารความแน่นอนของแหล่งวัตถุดิบของบริษัท โดยมองว่าวัตถุดิบเป็นแหล่งต้นน้ำที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิต หากเกิดการขาดแคลน ไม่มีคุณภาพ และจำนวนไม่แน่นอน จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตในขั้นต่อไป จะว่าไปแล้ว คอนแทรคฟาร์มมิ่ง ถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะมีหลายบริษัทที่ใช้ระบบนี้ในการทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จ เช่น บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) หรือเครือเบทาโกร ที่ทำระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งโดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีมานานกว่า 30 ปี ก็ประสบความสำเร็จดีทั้งบริษัทและเกษตรกร ข้อดีของการทำคอนแทรคฟาร์มมิ่ง 1. เกษตรกรมีผลผลิตขายแน่นอน
ข่าวอื้อฉาว ในวงการยานยนต์ของโลก เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายน 2558 ที่ผ่านมา ที่ปรากฏเป็นข่าวว่าค่ายรถยนต์ชื่อดังจากเยอรมนี ถูกจับได้ว่ามีการติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อโกงผลการทดสอบการปล่อยมลภาวะ โดยซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งในรถยนต์ดังกล่าวจะสามารถตรวจจับได้ว่ารถยนต์ไม่ได้อยู่ในสภาพการขับขี่ปกติ ก็จะทำการเปิดระบบการควบคุมการปล่อยมลพิษอย่างเต็มที่ เพื่อให้รถยนต์ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบค่ามลพิษของเจ้าหน้าที่ สามารถตรวจวัดได้ค่าสอดคล้องกับมาตรฐานการปล่อยค่ามลพิษตามที่กฎหมายกำหนด แต่เมื่ออยู่ในสภาพการขับขี่ปกติ ระบบการควบคุมการปล่อยมลพิษก็จะไม่ทำงาน เพื่อให้เครื่องยนต์มีสมรรถนะในการขับขี่อย่างสูงสุด เพราะหากระบบการควบคุมการปล่อยมลพิษทำงานก็จะส่งผลต่อสมรรถนะการทำงานของเครื่องยนต์ จะเห็นว่าการดูแลสิ่งแวดล้อม ไม่ได้จำกัดความรับผิดชอบอยู่ที่โรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น บริษัทใด หรือบุคคลใดก็ตามที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นประเด็น การป้องกันมลพิษ (Prevention of pollution) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน