(มาว่ากันตอนในตอนที่ 2 กับ LEED มาตรฐานอาคารเขียว) ความน่าสนใจของ LEED ที่ออกแบบเกณฑ์การให้คะแนนมาอย่างเป็นระบบด้วยการผลักดันไปให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริงคือ 1. ปัจจัยที่ส่งผลมากก็จะมีสัดส่วนที่เป็นคะแนนเต็มสูงกว่าปัจจัยที่ส่งผลน้อย 2. ข้อที่ได้คะแนนเต็มจะมีคะแนนพิเศษเพิ่มให้ ทั้งสองส่วนนี้มองว่าเป็น LEAD factors หรือเป็นปัจจัยที่ชักนำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายพยายามให้ความสำคัญกับมิติที่ส่งผลต่อการสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จุดที่น่าสนใจอีกเรื่องของการประเมินมาตรฐาน LEED คือการมุ่งไปที่การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดวงจรชีวิตของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างระบบการให้คะแนนแต่ละข้อจะแยกอย่างละเอียดเพื่อส่งเสริมเป้าหมายความยั่งยืนในแต่ละมิติอย่างชัดเจน เช่น คะแนนของการใช้วัสดุรีไซเคิลจะแยกเป็นวัสดุรีไซเคิลที่มาจากท้องถิ่นกับจากสถานที่อื่นที่ต้องขนส่งมา คะแนนจะไม่เท่ากัน รวมถึงประเภทของวัสดุรีไซเคิลที่เคยผ่านการใช้งานมาแล้ว หรือยังไม่เคยใช้งานมาก่อนก็ได้คะแนนไม่เท่ากัน จะเห็นว่าเกณฑ์การประเมินทุกหมวด
Category: Sustainability Development
วันศุกร์ที่ผ่านมามีโอกาสฟังบรรยายหัวข้อ “แนวทางการออกแบบและก่อสร้างอาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED” โดย รศ.ดร.พันธุดา พุฒิไพโรจน์ ได้รับเชิญไปบรรยายที่บริษัท THAI NISHIMATSU CONTRUCTION ในฐานะที่ต้องคัดเลือกสรรหาวิทยากรให้ลูกค้าตามโจทย์และ Requirement หลายครั้งจึงมีโอกาสได้เจอวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิ มากด้วยประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญในงานที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ตลอดเวลา ครั้งนี้ก็เช่นกันโอกาสมาฟังเรื่องมาตรฐานงานก่อนสร้างอาคารเขียวมาตรฐาน LEED ความน่าสนใจของมาตรฐาน LEED คือ เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ตัวระบบการประเมินถูกออกแบบมาอย่างครอบคลุม
มาตรฐาน อาคารเขียว LEED ฉบับเข้าใจง่าย (EP.1) วันศุกร์ที่ผ่านมา อ.เพชร ทิพย์สุวรรณ มีโอกาสฟังบรรยายหัวข้อ “แนวทางการออกแบบและก่อสร้างอาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED” โดย รศ.ดร.พันธุดา พุฒิไพโรจน์ คิดว่าเข้าใจง่ายและมีประโยชน์มาก จึงอยากนำมาสรุปให้ทุกคนได้เข้าใจง่ายๆ กัน รศ.ดร.พันธุดา พุฒิไพโรจน์ ได้รับเชิญไปบรรยายหัวข้อ “แนวทางการออกแบบและก่อสร้างอาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED” ที่บริษัท THAI NISHIMATSU
CSR ไม่ใช่เรื่องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขององค์กร แต่เป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายในองค์กรที่ต้องร่วมมือกัน HR ก็นับเป็นฝ่ายหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ CSR ในองค์กร ตั้งแต่การจัดอบรมให้ความรู้พื้นฐานทางด้าน CSR และ Sustainable Development เพื่อให้เกิดการกระตุ้นสร้างจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบของสังคมขององค์กร นอกจากนี้แล้ว HR ในฐานะที่รับผิดชอบดูแลพนักงาน ที่จัดเป็น Stakeholder รายหนึ่งที่สำคัญนั้น จะสามารถทำ CSR กับคนภายในองค์กรอย่างไรให้อยู่ดีมีสุข ตั้งแต่ก่อนเข้าทำงาน เข้ามาทำงาน จนสุดท้ายลาออกไป
HR นับว่าเป็นฝ่ายที่มีบทบาทสำคัญมากในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ต่าง ๆ ขององค์กร กลยุทธ์ด้าน CSR นับเป็นกลยุทธ์อีกด้านหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญมากต่อองค์กรในยุคปัจจุบัน HR ถือเป็นกลไกที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายองค์กรไปสู่พนักงานในมิติด้านต่าง ๆ Employee rights Employee reward Employee wellbeing Employee recruitment Employee development Employee communications Employee involvement ซึ่งจะทำให้เกิด
วันนี้ได้มีโอกาสทำงานในบทบาทที่ปรึกษาให้กับองค์กรที่ทำงานภาคสังคมแห่งหนึ่ง ที่มีความรู้ และประสบการณ์มากมายในการทำงานกับคนชายขอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าว แรงงานสตรี และเด็ก ผู้พิการ คนไร้บ้าน ฯลฯ โดยที่ผ่านมามีทั้งการจัดอบรม การจัดเวทีแลกเปลี่ยน การจัดทำชุดความรู้ต่าง ๆ ขึ้นมา ประเด็นที่ปรึกษาหารือกันวันนี้ ก็คือ จะทำอย่างไรให้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนชายขอบต่าง ๆ เหล่านี้ ได้รับการใส่ใจและดูแล เพราะที่ผ่านมาการทำงานผ่านกลไกของภาครัฐยังขับเคลื่อนไปไม่ได้เท่าไหร่นัก เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะนำประเด็นปัญหาเหล่านี้ทำงานขับเคลื่อนร่วมกับภาคธุรกิจ ?
ในวันนี้ได้หยิบหนังสือที่ชื่อเรื่อง “CSR WAY บทเรียน แนวคิด ความมุ่งหวัง” ของอาจารย์เอนก นาคะบุตร เพื่อเติมเต็มความคิด และมุมมองต่าง ๆ ต่อด้าน CSR เพิ่มเติม ประเด็นเกริ่นนำของหนังสือเล่มนี้ มีที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็น โครงการ CSR ที่จะประสบความสำเร็จ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนโดยรวมอย่างยั่งยืนนั้น ชุมชนต้องมีส่วนรวม (Participation) ในรูปแบบหุ้นส่วน (Partnership) ปัญหาที่ผ่านมาของภาคอุตสาหกรรม
GRI ย่อมาจากคำว่า Global Reporting Initiative เป็นองค์กรอิสระระหว่างประเทศที่ช่วยเหลือให้องค์กรธุรกิจภาครัฐ หรือองค์กรอื่น ๆ ที่สนใจสามารถทำความเข้าใจและสื่อสารผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของภาคธุรกิจ รวมถึงสื่อสารผลกระทบของภาคธุรกิจต่อประเด็นความยั่งยืน และวิธีการจัดการ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิทธิมนุษยชน และคอร์รัปชัน โดย GRI เป็นองค์กรที่กำหนดแนวทางการเปิดเผยข้อมูลและจัดทำรายงานด้านความยั่งยืนประจำปีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลกธุรกิจ “นายเรียนรู้” อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร วิทยากร และที่ปรึกษา A@LERT Learning
หากพูดถึงการทำ CSR ในภาคธุรกิจ ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นกันไปทำในเรื่อง CSR After Process เช่น ทำบุญ ให้ทุน ปลูกป่า ทอดกฐิน แจกผ้าห่ม ฯลฯ มีธุรกิจน้อยรายที่เริ่มหันมาให้ความใส่ใจเรื่อง CSR ในเชิงกลยุทธ์ ความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ (Strategic CSR) หมายถึง การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรแบบ “เชิงรุก” โดยองค์กรจะยกระดับจากการเป็นเพียงบริษัทที่สามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐานข้อกำหนดต่าง ๆ
Sustainable Development Goals คือ “เป่าหมายโลก” ที่องค์การสหประชาชาติให้ทุกประเทศรับไปเป็นกรอบในการพัฒนา ซึ่งเป้าหมายทั้ง 17 ข้อ จะถูกใช้เป็น “จริยธรรมสากล” กำกับทิศทางการพัฒนาโลก ระหว่างปี 2558 ถึง 2573 แม้ว่ากลุ่มเป้าหมายหลักจะเป็นรัฐบาล แต่จริง ๆ แล้วภาคธุรกิจมีส่วนสำคัญอย่างมากในการทำให้เป้าหมายต่าง ๆ บรรลุผล เป้าหมายทั้ง 17 ข้อ