fbpx

“สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น” เป็นสิ่งที่บ่งบอกให้เห็นถึงความสำคัญของระบบการควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) Visual Control คือ วิธีการบริหารงานที่มองปราดเดียวก็รู้ว่า เกิดความผิดปกติขึ้นหรือไม่ รวมทั้งช่วยสื่อสารให้ชัดเจนขึ้น เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานที่ถูกต้อง Visual Control ที่ใกล้ตัวเรามาก ๆ ก็คือ หน้าปัดรถยนต์ ที่ทำหน้าที่บอกระดับน้ำมัน ความร้อนของหม้อน้ำ ความเร็วของรถ รอบของเครื่องยนต์ เป็นต้น ดูรายละเอียดหลักสูตร “Business

Read More

ในหลักการบริหารจัดการแบบลีน (Lean Management) นั้น ต้องออกแบบกระบวนการให้มีการไหลลื่นไม่ติดขัด Flow อย่างต่อเนื่อง แต่แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานนั้น ล้วนแต่มีสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการไหลลื่น อันประกอบไปด้วย 3 MU ได้แก่ Muda – ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในงาน อันประกอบไปด้วย “ความสูญเสีย 7 ประการ” Overproduction (การผลิตที่มากเกินไป) Inventory (การมีสินค้าคงคลังเกินความจำเป็น) Motion

Read More

“Jidoka” หมายถึง การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันการเกิด Defect ของชิ้นงานที่จะหลุดไปยังกระบวนการต่อไป คือ แทนที่จะปล่อยให้ไปตรวจพบของเสีย (Defect) ที่ปลายทางจำนวนมา ก็ให้รีบทำการหยุด Line การผลิตเพื่อแก้ไขทันที โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ Zero Defect แนวคิดพื้นฐาน คือ จะต้องไม่ส่งของเสีย (Defect) ไปยังหน่วยงานถัดไป และป้องกันความเสี่ยงที่ของเสียจะหลุดไปถึงมือลูกค้าด้วย ดูรายละเอียดหลักสูตร “Business

Read More

Just-in-time : JIT คือ สถานะในอุดมคติที่มีการไหลของงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Flow) ที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า ได้แก่ ทำเฉพาะสินค้าที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น ทำให้เสร็จภายในเวลาที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น ทำในปริมาณที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น เพราะฉะนั้นการออกแบบกระบวนการไหลของสินค้า ตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมวัตถุดิบ ไปผ่านขั้นตอนการแปรรูปต่าง ๆ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ จนไปถึงกระบวนการบรรจุหีบห่อ และส่งมอบสินค้า จะต้องมีจังหวะที่สอดประสานกัน เกิดการไหลอย่างต่อเนื่อง ไม่มีจุดคอขวด (Bottleneck) ที่ทำให้กระบวนการชะงักงัน สภาวะในอุดมคติของ

Read More

เพราะทุกวินาทีมีค่า การทำงานที่ล่าช้าแม้เพียงเสี้ยววินาที อาจหมายถึง ความพ่ายแพ้ในการแข่งขัน SMED (Single Minute Exchange of Die) คือ เทคนิคในการลดเวลาการปรับตั้งเครื่องจักรให้อยู่ในระยะเวลาอันสั้นที่สุด โดยมีเป้าหมายต้องให้ไม่เกิน 10 นาที แต่ยิ่งรวดเร็วมากที่สุดเท่าไหร่ยิ่งดี ถูกคิดค้นขึ้น โดย Dr. Shingeo Shingo ซึ่งเป็นผู้ร่วมกันคิดระบบการผลิตแบบ โตโยต้า ร่วมกับ Taiichi Ohno

Read More

ระบบการบริหารงานหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น 5S, TQM, TPM, TPS (Toyota Production System) หรือที่เรารู้จักกันในนามว่า “LEAN” นั้น มักมีคำถากถางคนไทยอยู่เสมอว่า “ระบบพวกนี้โตที่ญี่ปุ่น แต่ต้องมาตายที่เมืองไทย” ก็น่าสนใจนะครับว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? ผมเองได้มีโอกาสไปศึกษาเรื่อง LEAN Production ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ Tsunami

Read More

กุญแจสำคัญในการบริหารงานแบบลีน (Lean Management)  ประกอบไปด้วย การทำให้ลูกค้าพึงพอใจ คือ ให้บริการได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ภายใต้เวลาที่น้อยลง รวดเร็วขึ้น การมุ่งเข้าไปปรับปรุงกระบวนการ โดยเข้าไปขจัดข้อบกพร่อง (Defect) ที่ลูกค้าไม่ต้องการออกไป การร่วมกันทำงานเป็นทีม ที่จะช่วยกันแบ่งปันความคิดในการร่วมกันแก้ปัญหา การอ้างอิงข้อมูลข้อเท็จจริง (Fact Based) ในการตัดสินใจ โดยจุดเริ่มต้นต้องเริ่มจากข้อแรก คือ การทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ที่จะต้องไปสืบค้นถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ฟังเสียงของลูกค้า (Voice

Read More

เพื่อให้การปรับปรุงกระบวนการโดยการนำแนวคิดบริหารแบบลีน (Lean Management) มาใช้ สามารถวัดและประเมินมูลค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นที่สามารถเชื่อมโยงสะท้อนไปที่บัญชีต้นทุนได้อย่างแท้จริงว่า สามารถลดต้นทุนจากการลดความสูญเสียในกระบวนการได้เท่าไหร่ ก็จะต้องนำแนวคิดของ “MFCA” มาประยุกต์ใช้ “MFCA” คือ อะไร ? MFCA ย่อมาจากคำว่า Material Flow Cost Accounting บัญชีต้นทุนการไหลวัสดุ ที่มีจุดเริ่มต้นจากประเทศเยอรมนี และมาเริ่มใช้แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่นในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นที่จะเข้าไปวัดมูลค่าวัตถุดิบ

Read More

การปรับปรุงงานด้วยการนำแนวคิดการบริหารงานแบบลีน (Lean Management) มาใช้นั้น นอกจากเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำให้งานคล่องตัวแล้ว ก็ยังมีวัตถุประสงค์ในด้านสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เรียกว่า “Lean for Environment” โดยนำแนวคิด “3 R” มาประยุกต์ใช้ อันได้แก่ R – Reduce การลดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า น้ำ เชื้อเพลิง โดยพยายามเข้าไปลดจุดรั่วไหลที่เกิดขึ้นในกระบวนการ

Read More

การนำระบบการบริหารงานแบบลีน (Lean Management) มาปรับใช้ ก็เพื่อมุ่งเน้นขจัดความสูญเสียให้หมดไป ความคาดหวังในทางอุดมคติ เรียกว่า ต้องพยายามอย่างเต็มที่ที่จะต้องทำให้เกิดขึ้น คือ การมุ่งสู่ “5 Zero” อันประกอบด้วย 1. ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect) เนื่องจากของเสีย เป็นต้นทุน 2. การรอคอยเป็นศูนย์ (Zero Delay) เนื่องจากการรอคอยทำให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น

Read More