ประสบการณ์กว่า 10 ปีในการบริหารร้าน House of Commons – BookCafe & Space (HOC) คอมมูนิตี้คาเฟ่เล็ก ๆ ที่มีหนังสือ และ งานเสวนา-Workshop เป็นสื่อกลางชักชวนให้คนจากหลายๆ ที่ได้เข้ามาพบปะพูดคุยรู้จักกัน ก่อเกิดเป็นกลุ่มก้อนมิตรภาพเล็กๆ ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่ากำไรจากการซื้อขาย
Category: Blog
Growth Mindset คือ อะไร Growth Mindset หรือกรอบความคิดเติบโต เป็นแนวคิดเพื่อการพัฒนาตนเองมากว่า 10 ปีโดยเริ่มจาก Carl S. Dweck ศาสตราจารย์และนักวิจัยด้านบุคลิกภาพ จิตวิทยาสังคมและพัฒนาการของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในอเมริกา โดยเขียนหนังสือชื่อ Mindset ซึ่งเป็นหนังสือติดอันดับขายดีในอเมริกามากกว่า 10 ปี โดยฉบับแปลภาษาไทยชื่อ Mindset
มนุษย์เราใช้เวลาในการทำงานไม่น้อยกว่า 6-8 ชั่วโมง/วัน ถ้าตลอดชีวิตคนเราทำงานอย่างน้อย 40 ปี เราต้องทำงานเป็นเวลา 87,600 ชม. กินเวลาประมาณ 3,650 วัน ซึ่งนับเป็นเวลาไม่น้อยเลยกับการใช้เวลาในการทำงาน ด้วยเหตุนี้มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายย่อมปรารถนาที่จะได้ทำงานในองค์กรดีๆ นายจ้างหรือองค์กรไหนสามารถออกแบบที่ทำงานในฝันให้คนอยากทำงานย่อมได้เปรียบในการดึงคนเก่งๆ มาร่วมงาน รวมถึงรั้งคนเก่งๆ ในที่ทำงานให้อยู่ร่วมงานกันไปนานๆ การออกแบบที่ทำงานในฝันเพื่อดึงดูดพนักงานเก่งๆ ให้ร่วมงานกับองค์กรเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็รู้ แต่เราจะออกแบบที่ทำงานอย่างไรให้ถูกใจคนทุกคน แล้วต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่กันถึงจะเพียงพอกับการสร้างบรรยากาศการทำงานให้ตอบโจทย์คนทำงาน ซึ่งอาจเป็นข้อกังวลสำหรับองค์กรขนาดเล็กหรือองค์กรที่มีงบน้อย แต่หากคุณมี
บริหารงานอย่างไร ให้ถูกใจคนทุกวัย ก่อนเข้าเรื่องการบริหารอย่างไรให้ถูกใจคนทุกวัย ขอเริ่มจากการเข้าใจธรรมชาติของคนวัยต่างๆ โดยแบ่งคนออกเป็น Generations ตามยุคสมัยที่เกิดและเติบโต ซึ่งจะมีลักษณะเด่นของแต่ละ Generation แตกต่างกันดังนี้ Silent Generation รุ่นที่ต้องเผชิญกับสงครามโลก ชีวิตเริ่มต้นนับหนึ่งกับทุกสิ่งทุกอย่าง ก้มหน้าก้มตาทำงาน ยอมทำทุกอย่าง ขอมีเพียงบ้านสักหลังสำหรับครอบครัว และยึดมั่นทำตามกรอบแบบแผนประเพณี Baby Boomers รุ่นที่เกิดในช่วงทุนนิยมเบ่งบาน เศรษฐกิจเฟื่องฟู ต้องการความมั่นคงในการทำงาน อยากมีบ้านหลังใหญ่ อยากได้รถหรู
ปรับปรุงงานด้วยหลักการคิดอย่างเป็นระบบ System Thinking
ปรับปรุงงานด้วยหลักการคิดอย่างเป็นระบบ ทำไมต้องคิดเป็นระบบ (System Thinking) คิดแบบอื่นได้มั้ย? วิธีคิดมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นความคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) หรือ ความคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) แล้วความคิดเป็นระบบ (System Thinking) ต่างจากความคิดแบบอื่นๆ อย่างไร ทำไมจึงจำเป็นสำหรับการทำงาน ก่อนที่จะทำความเข้าใจว่าความคิดเป็นระบบสำคัญอย่างไร เราต้องเข้าใจก่อนว่ารูปแบบความคิดแต่ละแบบเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานและแก้ปัญหานั้นมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ความคิดเป็นระบบช่วยให้เราเห็นภาพรวม ก่อนที่จะมองลงไปที่กระบวนการย่อยๆ
เมื่อพูดถึง Customer Focus หรือ Customer Centric เราอาจจะมองว่าเป็นเพียงเรื่องทางการตลาด แต่ในความเป็นจริงแล้วเราทุกคนล้วนเป็นผู้ส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการให้กับ “ลูกค้า” รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา เพื่อนสนิทมิตรสหาย หรือญาติพี่น้อง เราสามารถบอก แนะนำ หรือแม้กระทั่งปฏิเสธลูกค้าได้ถ้าเราคิดว่าสินค้าไม่เหมาะกับลูกค้า ภายใต้แนวคิดที่การมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ซึ่งเราสามารถทำสิ่งนั้นได้นอกจากจะรู้จักสินค้าและบริการของเราเป็นอย่างดีแล้ว เรายังต้องรู้จักลูกค้าของเราเป็นอย่างดีด้วย วิธีเปลี่ยนจุดยืนทางความสัมพันธ์ระหว่างเราและลูกค้าด้วยแนวคิด Customer Focus Customer Centric เป็นการเริ่มต้นจากการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับแรก
ในโลกแห่งการแข่งขันทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน องค์กรจะต้องมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งในแง่คุณภาพ (Quality) ระยะเวลาในส่งมอบ (Time) และต้นทุน (Cost) กิจกรรมเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) นับเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพนักงานทุกระดับตั้งแต่ระดับบริหาร (Top Management) จนถึงระดับหน้างาน (Shop Floor) ผ่านกิจกรรมปรับปรุงงานต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ การตอบสนองความต้องการลูกค้าอันนำมาสู่ผลกำไรขององค์กร หัวหน้างานรุ่นใหม่ ที่เป็นตัวกลางในการแปลงนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรไปสู่แผนการปฏิบัติงานที่หน้างาน จำเป็นจะต้องเข้าใจอีกหนึ่งบทบาทหน้าที่ คือ
ในฐานะของนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อความก้าวหน้าทางธุรกิจและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรทุกคนมี Growth Mindset และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร เพื่อให้ตอบโจทย์ของการเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกวันนี้
ต้นทุนอย่างหนึ่งที่ทุกคนมีอยู่ในมือเหมือนกันไม่ว่าจะรวยหรือจน คือ เวลา และสิ่งที่พิเศษของเวลา ก็คือ ไม่สามารถเก็บสะสมไว้ใช้ในวันถัดไปได้ ไม่สามารถไปหยิบยืมหรือขโมยของคนอื่นมาได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารเวลาที่มีอยู่ของเราให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากเปรียบเวลาที่มีอยู่ในแต่ละวันเท่ากับปริมาตรของโหลหนึ่งใบ ที่เราสามารถใส่ก้อนกรวดลงไปได้ ก้อนกรวดเล็ก ๆ เปรียบเสมือนสิ่งที่ไม่สำคัญมาก ส่วนกรวดก้อนใหญ่ แทนสิ่งสำคัญที่เราจะใส่ลงไปในขวดโหลใบนั้น ภาพด้านซ้ายมือบน เปรียบเหมือนการที่เราเลือกหยิบกรวดก้อนเล็ก ๆ ใส่ลงไปก่อน อาจจะเพราะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว แต่เมื่อใส่ไปเรื่อย ๆ สักพัก
“The Coaching Habit” เปลี่ยนการโค้ชให้เป็นเรื่องง่ายในชีวิตประจำวันด้วยคำถามเพียงไม่กี่คำถาม หลายคนที่สนใจการโค้ช อยากเป็นนักโค้ชมืออาชีพ หรืออยากนำวิธีการโค้ชไปใช้กับทีมงาน แต่อ่านหนังสือกี่เล่ม เรียนมากี่หลักสูตร ก็ยังติดขัด แถมใช้จริงก็ดูไม่เป็นธรรมชาติ ต้องไม่พลาดหนังสือเล่มนี้… (โค้ชชิ่ง แฮบิต ไมเคิล บันเกย์ สเตเนียร์ : เขียน วุฒินันท์ ชุมภู :