ในการดำเนินชีวิต การทำงาน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ มักจะมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อโดยที่เราไม่ได้คาดคิด แม้ว่าเราจะคิดว่าได้เตรียม วิธี แก้ ปัญหา เอาไว้แล้วก็ตาม การพยายามป้องกัน หรือควบคุมไม่ให้เกิดปัญหา ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ปัญหาก็เหมือนกับ “ฝน” ที่เราไม่รู้เลยว่าจะตกลงมาเมื่อไหร่ เวลาไหน แต่ถึงอย่างไร เราก็ยังสามารถสังเกตได้จากสิ่งรอบๆ ตัว และสัมผัสได้ว่า “ฝนกำลังจะตก” ปัญหาก็เป็นเช่นนั้น แม้จะเป็นสิ่งที่เราไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่เราก็สามารถสัมผัสได้จากการสังเกตจากสิ่งรอบๆ ตัว
Category: Management Frameworks and Tools
แก้ปัญหาไม่ถูกจุด…เพราะไม่รู้ประเภทของปัญหา ปัญหาเป็นสิ่งที่ทุก ๆ คนต้องเผชิญ แต่หลายครั้งหลายหนที่หลายคนจับต้นชนปลายไม่ถูก แก้ปัญหาไม่ถูกจุด เพราะไม่รู้ประเภทของปัญหา หากเรามาจำแนกประเภทของปัญหา โดยใช้ตาราง Matrix ใน 2 มิติ คือ มิติของสาเหตุ แบ่งเป็น “รู้” กับ “ไม่รู้” มิติของมาตรการแก้ไข / มาตรการป้องกัน แบ่งเป็น “รู้” กับ
พลิกมุมมอง Balanced Scorecard สู่การสร้างกำไรที่ยั่งยืน หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมุมมอง Balanced Scorecard ที่เป็นผลงานของ Robert S. Kaplan และ David P. Norton เป็นอย่างดี โดยเป็นเครื่องมือทางการบริหารจัดการสมัยใหม่เครื่องมือหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ซึ่งองค์กรที่มีการจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานนิยมนำมาใช้ในการควบคุมและประเมินผลการดำเนินงานเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร ประกอบไปด้วยมุมมอง 4
การมุ่งเน้นที่วัตถุประสงค์ ใส่ใจกระบวนการ (Focus on Objectives, Process Oriented) เป็นหลักการทำงานที่สำคัญที่จะนำไปสู่การทำงานที่ประสบความสำเร็จ การทำงานที่อยู่บนพื้นฐานเหตุ และผล ซึ่งแตกต่างจากการทำงานโดยที่มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ (Result Oriented) แต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้สนใจเหตุปัจจัยที่มาที่ไปที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการ อันจะส่งผลทำให้การแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ตรงจุด และการตัดสินใจใด ๆ เกิดความผิดพลาดได้ โดยการมุ่งเน้นที่วัตถุประสงค์ ใส่ใจกระบวนการ (Focus on Objectives,
การบริหารงานโดยใช้ข้อเท็จจริง (Management by Fact) เป็นแนวคิดการทำงานที่สำคัญมาก บริษัทญี่ปุ่นมีหลักในการทำงานที่เรียกว่า 3G คือ Genba ลงไปดูที่หน้างานจริง, Genbutsu สัมผัสของจริง และ Genjitsu สำรวจสภาพแวดล้อมสถานการณ์จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการแก้ปัญหา และตัดสินใจต่าง ๆ เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้จัดการโรงงาน ควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และเป็นส่วนสำคัญที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้อง
การให้ความสำคัญที่ลูกค้า (Customer Focused) เป็นแนวคิดการทำงานที่สำคัญอย่างยิ่งในการเริ่มต้นปรับปรุงกระบวนการทำงาน ซึ่งทุกคนล้วนแล้วแต่มีลูกค้าที่ตนเองต้องเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าภายใน (Internal Customer) หรือลูกค้าภายนอก (External Customer) หัวใจหลักสำคัญต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจกับคำว่า “การให้ความสำคัญที่ลูกค้า (Customer Focused)” ให้ถึงแก่นแท้เสียก่อน โดยต้องเริ่มต้นรับฟังเสียงของลูกค้า (Voice of Customer) ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่ง เพราะที่ลูกค้าบ่นเรา ตำหนิเรา Complaint ในเรื่องสินค้า
แก่นแท้ TQM #1 การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (PDCA) การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง คือ แนวคิดการทำงานที่สำคัญที่จะช่วยพัฒนา และยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหลักการพื้นฐานที่สำคัญของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ก็คือ แนวคิด PDCA แนวคิด PDCA ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Walter Shewhart ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรม และต่อมาวงจร PDCA ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มากขึ้น เมื่อปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพ อย่าง
ปัจจัยสำคัญ 5 ประการ ในการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จ คือ ขอบเขตโครงการ (Project Scope) หมายถึง สิ่งที่เป็นข้อตกลงในการดำเนินงานโครงการ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งที่อยู่ในโครงการ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร เวลา กิจกรรม ต้นทุน บุคลากร รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ จึงนับเป็นปัจจัยหลักในการวางแผนโครงการ การควบคุมโครงการ การติดตามความก้าวหน้าโครงการ ตลอดไปจนถึงการวัดผลโครงการ ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลง Scope งานจะต้องรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมีทิศทางที่ถูกต้องตรงกับเป้าหมาย
Turtle Diagram เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้ในการออกแบบกระบวนการ และทวนสอบกระบวนการ โดยพิจารณาว่าหากมี Input ที่ได้รับเข้ามา จะทำให้เกิด Output ส่งมอบออกมานั้น กระบวนการควรจะต้องประกอบไปด้วย Resources อะไรบ้างที่ต้องนำเข้ามา Man ใครบ้างที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง Methods แล้วจะต้องทำอย่างไร ท้ายที่สุดก็ต้องมาวัดว่าผลที่ได้เป็นอย่างไร ? ใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด ? “นายเรียนรู้” อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร วิทยากร
หากจะชี้ให้เห็นความสำคัญของ KPIs ประการหนึ่ง ก็คือ เป็นดัชนีชี้วัดให้เราเห็นว่า เราสามารถที่จะบรรลุ Goal ที่ตั้งไว้ได้หรือไม่ ? ดังนั้น KPIs จะไม่มีความสำคัญใด ๆ เลย หาก Goal ของเราไม่ชัดเจน จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยการทำแบบสำรวจ 600 ฉบับ ได้ข้อสรุปว่า คนที่ไม่มี Goal ที่ชัดเจน