ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ถือเป็นทักษะการคิดพื้นฐานที่สำคัญ และขาดไม่ได้ในการทำงานภายในองค์กรในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบริหาร (Top Management) จนถึงระดับหน้างาน (Shop Floor) และเกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลิต กระทั่งฝ่ายบุคคล หลักคิดของการคิดเชิงวิเคราะห์นั้น เมื่อพิจารณาจากเครื่องมือการคิดวิเคราะห์ต่าง ๆ จะพบว่าเป็นการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงหาความสัมพันธ์ของข้อมูลในมิติต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์หาโอกาสในการพัฒนาและปรับปรุง เช่น การวิเคราะห์กลยุทธ์ธุรกิจด้วย TOWS Matrix โดยวิเคราะห์พิจารณาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายใน ได้แก่
Category: Management Frameworks and Tools
Productivity Facilitator ฟันเฟืองสำคัญเพิ่มผลผลิตองค์กร
ในโลกแห่งการแข่งขันทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน องค์กรจะต้องมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งในแง่คุณภาพ (Quality) ระยะเวลาในส่งมอบ (Time) และต้นทุน (Cost) กิจกรรมเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) นับเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพนักงานทุกระดับตั้งแต่ระดับบริหาร (Top Management) จนถึงระดับหน้างาน (Shop Floor) ผ่านกิจกรรมปรับปรุงงานต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ การตอบสนองความต้องการลูกค้าอันนำมาสู่ผลกำไรขององค์กร นักส่งเสริมกิจกรรมเพิ่มผลผลิต (Productivity Facilitator) ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการดำเนินกิจกรรมเพิ่มผลผลิตโดยทำหน้าที่กระตุ้น
ก่อนเริ่มทำกิจกรรมปรับปรุงงานใด ๆ สิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจก่อน ก็คือในเรื่องบัญชีต้นทุน เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนของกิจการเราว่าเป็นอย่างไร ? การทำกิจกรรมปรับปรุงงานแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วม จะต้องเริ่มจากจุดนี้ โดยผู้บริหารระดับสูงขององค์กรจะต้องกำหนดเป้าหมายในภาพรวมว่าต้องการกำไรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ? เมื่อกระจายเป้าหมายไปแล้ว ฝ่ายขายต้องไปทำยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ? ไปลดต้นทุนการบริหารงานขายเท่าไหร่ ? ฝ่ายผลิตต้องไปลดต้นทุนเท่าไหร่ ? ถ้าเราลองไปวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต (Manufacturing Cost) ก็จะประกอบไปด้วยต้นทุนวัตถุดิบ (Raw Material Cost) ต้นทุนโสหุ้ยการผลิต
ประเด็นสำคัญในการแก้ปัญหาด้วย QC Story และ QC 7 Tools มีดังนี้ มุมมองในการทำความเข้าใจกับปัญหา คือ ความแตกต่างระหว่าง ผลงานที่เกิดขึ้นจริง (Actual Performance) กับผลงานที่ควรจะเป็น (Should Performance) ดังนั้นถ้าแก้ปัญหาได้สำเร็จจริง ผลงานจะต้องดีขึ้น สิ่งที่สำคัญก่อนการวิเคราะห์สาเหตุ คือ ต้องสังเกตการณ์อาการ ปรากฏการณ์ที่เป็นตัวบ่งชี้ปัญหาอย่างละเอียดโดยใช้หลัก 5G คือ
TQM, QCC, QC Story และ 7 QC Tools มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร ? TQM ย่อมาจาก Total Quality Management แต่ไม่ใช่เรื่องของแผนกคุณภาพเพียงแผนกเดียว เป็นเรื่องของการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้ได้สินค้า / บริการที่มีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า การนำแนวคิดการบริหารแบบ TQM มาใช้ให้ประสบผลสำเร็จนั้น ต้องส่งเสริมให้พนักงานทุกคนช่วยกันคิดปรับปรุงงานและแก้ไขปัญหาที่หน้างานของตนเองผ่านการรวมกลุ่มทำกิจกรรมด้วยกันในรูปแบบกลุ่ม
“การจัดสมดุลการผลิต” หรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า “Line Balancing” นั้น ช่วยให้กระบวนการไหลลื่น ลดเวลาในการรอคอยของงานที่กองอยู่ในกระบวนการได้อย่างไร เราลองมาดูตัวอย่างนี้กัน กระบวนการทำงานของงานหนึ่ง ประกอบด้วยงานย่อย ๆ 5 สถานีงาน คือ A, B, C, D และ E โดยใช้เวลาในแต่ละสถานีงานแตกต่างกันไป โดยจุดคอขวด (จุดที่ใช้เวลานานที่สุด) ของกระบวนการทำงานนี้ คือ
ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) หรืออาจจะเรียกในอีกชื่อว่า ผังแสดงสาเหตุและผล (Casue and Effect Diagram) หรือหลายคนอาจจะเรียกชื่อตามผู้คิดค้นเครื่องมือนี้ คือ แผนผังอิชิกาว่า (Ishikawa Diagram) ซึ่งเครื่องมือนี้ได้รับการพัฒนาครั้งแรกเมื่อปี 1943 โดยศาสตราจารย์คาโอรุ อิชิกาว่า แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว สำนักมาตรฐานอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น (JIS) ได้นิยามความหมายของผังก้างปลาไว้ดังนี้ “ผังก้างปลา เป็นแผนผังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสาเหตุหลาย
Michael E. Porter กูรูชื่อดังด้านยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขัน (Competitive Strategy) ได้นำเสนอแนวคิดการแข่งขันในธุรกิจและอุตสาหกรรมด้วยโมเดล “Five Forces Analysis” ที่เป็น 5 แรง กด ดัน ใน ธุรกิจ ที่เราควรเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ เพื่อรักศึกในวงการ แรงกดดันทั้ง 5 ประการนี้ เป็นสิ่งที่ผู้ที่อยู่ในสนามธุรกิจทุกคนจะรู้ ได้แก่… 1.แรงกดดันระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันเอง (Rivalry
เมื่อใดที่กิจการเริ่มขยายตัว มีหลายธุรกิจในมือ แน่นอนว่าหลายๆ บริษัทต้องคอยตรวจคอยส่องธุรกิจในมือว่าตัวไหนเด่น หรือตัวไหนใกล้ดับ ซึ่งมีวิธีตรวจจับง่ายๆ ด้วย BCG Matrix ซึ่งถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย Boston Consulting Group เพื่อใช้วิเคราะห์ว่าธุรกิจของเรามีสถานะอย่างไร โดยพิจารณาจาก 2 มิติร่วมกัน คือ อัตราการเติบโตของตลาด (Market Growth) และส่วนแบ่งตลาด (Market Share) จากกราฟ
บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินข่าวการปรับลดขนาดองค์กร การปลดพนักงาน (Layoff) โดยมีสาเหตุแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นเพราะการเข้ามาของเทคโนโลยี หรือจากการควบรวมกิจการ ส่งผลให้องค์กรต้องตัดสินใจผ่าตัด ปรับลดขนาดองค์กร เลือกว่าจะให้ใครอยู่ช่วยองค์กรต่อไป หรือใครจะต้องโบกมือลา ความยากจึงอยู่ที่การหาตัวช่วยในการตัดสินใจดังกล่าว อบรม หัวหน้า งาน Model หนึ่งที่หลาย ๆ องค์กรนิยมนำมาใช้ในการพิจารณาเพื่อประเมินว่าใครจะอยู่ ใครจะไป คือ Model ที่พิจารณาคนอยู่ 2 แกน ประกอบด้วย แกนด้านผลงาน