fbpx

Just-in-time : JIT คือ สถานะในอุดมคติที่มีการไหลของงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Flow) ที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า ได้แก่ ทำเฉพาะสินค้าที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น ทำให้เสร็จภายในเวลาที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น ทำในปริมาณที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น เพราะฉะนั้นการออกแบบกระบวนการไหลของสินค้า ตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมวัตถุดิบ ไปผ่านขั้นตอนการแปรรูปต่าง ๆ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ จนไปถึงกระบวนการบรรจุหีบห่อ และส่งมอบสินค้า จะต้องมีจังหวะที่สอดประสานกัน เกิดการไหลอย่างต่อเนื่อง ไม่มีจุดคอขวด (Bottleneck) ที่ทำให้กระบวนการชะงักงัน สภาวะในอุดมคติของ

Read More

เพราะทุกวินาทีมีค่า การทำงานที่ล่าช้าแม้เพียงเสี้ยววินาที อาจหมายถึง ความพ่ายแพ้ในการแข่งขัน SMED (Single Minute Exchange of Die) คือ เทคนิคในการลดเวลาการปรับตั้งเครื่องจักรให้อยู่ในระยะเวลาอันสั้นที่สุด โดยมีเป้าหมายต้องให้ไม่เกิน 10 นาที แต่ยิ่งรวดเร็วมากที่สุดเท่าไหร่ยิ่งดี ถูกคิดค้นขึ้น โดย Dr. Shingeo Shingo ซึ่งเป็นผู้ร่วมกันคิดระบบการผลิตแบบ โตโยต้า ร่วมกับ Taiichi Ohno

Read More

ระบบการบริหารงานหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น 5S, TQM, TPM, TPS (Toyota Production System) หรือที่เรารู้จักกันในนามว่า “LEAN” นั้น มักมีคำถากถางคนไทยอยู่เสมอว่า “ระบบพวกนี้โตที่ญี่ปุ่น แต่ต้องมาตายที่เมืองไทย” ก็น่าสนใจนะครับว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? ผมเองได้มีโอกาสไปศึกษาเรื่อง LEAN Production ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ Tsunami

Read More

กุญแจสำคัญในการบริหารงานแบบลีน (Lean Management)  ประกอบไปด้วย การทำให้ลูกค้าพึงพอใจ คือ ให้บริการได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ภายใต้เวลาที่น้อยลง รวดเร็วขึ้น การมุ่งเข้าไปปรับปรุงกระบวนการ โดยเข้าไปขจัดข้อบกพร่อง (Defect) ที่ลูกค้าไม่ต้องการออกไป การร่วมกันทำงานเป็นทีม ที่จะช่วยกันแบ่งปันความคิดในการร่วมกันแก้ปัญหา การอ้างอิงข้อมูลข้อเท็จจริง (Fact Based) ในการตัดสินใจ โดยจุดเริ่มต้นต้องเริ่มจากข้อแรก คือ การทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ที่จะต้องไปสืบค้นถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ฟังเสียงของลูกค้า (Voice

Read More

เพื่อให้การปรับปรุงกระบวนการโดยการนำแนวคิดบริหารแบบลีน (Lean Management) มาใช้ สามารถวัดและประเมินมูลค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นที่สามารถเชื่อมโยงสะท้อนไปที่บัญชีต้นทุนได้อย่างแท้จริงว่า สามารถลดต้นทุนจากการลดความสูญเสียในกระบวนการได้เท่าไหร่ ก็จะต้องนำแนวคิดของ “MFCA” มาประยุกต์ใช้ “MFCA” คือ อะไร ? MFCA ย่อมาจากคำว่า Material Flow Cost Accounting บัญชีต้นทุนการไหลวัสดุ ที่มีจุดเริ่มต้นจากประเทศเยอรมนี และมาเริ่มใช้แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่นในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นที่จะเข้าไปวัดมูลค่าวัตถุดิบ

Read More

การปรับปรุงงานด้วยการนำแนวคิดการบริหารงานแบบลีน (Lean Management) มาใช้นั้น นอกจากเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำให้งานคล่องตัวแล้ว ก็ยังมีวัตถุประสงค์ในด้านสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เรียกว่า “Lean for Environment” โดยนำแนวคิด “3 R” มาประยุกต์ใช้ อันได้แก่ R – Reduce การลดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า น้ำ เชื้อเพลิง โดยพยายามเข้าไปลดจุดรั่วไหลที่เกิดขึ้นในกระบวนการ

Read More

การนำระบบการบริหารงานแบบลีน (Lean Management) มาปรับใช้ ก็เพื่อมุ่งเน้นขจัดความสูญเสียให้หมดไป ความคาดหวังในทางอุดมคติ เรียกว่า ต้องพยายามอย่างเต็มที่ที่จะต้องทำให้เกิดขึ้น คือ การมุ่งสู่ “5 Zero” อันประกอบด้วย 1. ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect) เนื่องจากของเสีย เป็นต้นทุน 2. การรอคอยเป็นศูนย์ (Zero Delay) เนื่องจากการรอคอยทำให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น

Read More

ปรัชญาในเรื่องการปรับปรุงงาน ที่จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงนั้น จะต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการ “3G” อันประกอบไปด้วย “GENBA” – การลงไปดูที่สถานที่จริง “GENBUTSU” – การลงไปดูสภาพความผิดปกติที่เกิดขึ้นจริง “GENJITSU” – การพิจารณาสภาพแวดล้อมจริง ณ สถานที่เกิดเหตุ ซึ่งการที่เราลงไปดูสถานที่จริง ดูสภาพความผิดปกติที่เกิดขึ้นจริง และสภาพแวดล้อมจริง ก็จะทำให้เรามองเห็นว่าสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร ปัญหาอยู่ที่ตรงไหน ? ดูรายละเอียดหลักสูตร “Business Process

Read More

เริ่มต้นปีใหม่ ก็นับเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะตั้งต้นในการกำหนดเป้าหมาย (Goal) ในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัว โดยมีหลักการตั้งเป้าหมายง่าย ๆ คือ “SMART” S – Specific เป้าหมายที่ดีต้องระบุให้เฉพาะเจาะจงว่าจะทำเรื่องอะไร M – Measurable เป้าหมายที่ดีต้องสามารถวัดผลได้ A – Achievable เป้าหมายที่ดีต้องมีความท้าทายที่สามารถทำให้บรรลุได้ R – Realistic เป้าหมายที่ดีต้องสมเหตุสมผล

Read More

เริ่มต้นปีใหม่ หลายคนถือเป็นฤกษ์ในการที่จะเอาเครื่องมือพื้นฐานง่าย ๆ แต่เป็นจุดเริ่มต้นในการปรับปรุงงานที่สำคัญ นั่นก็คือ “5 ส.” นั่นเอง อันประกอบไปด้วย สะสาง (Sort) – แยกแยะสิ่งของ จำเป็นต่อการใช้งาน / ไม่ต้องการใช้งาน ออกจากกัน ถ้ายังไม่แน่ใจให้แยกไว้ต่างหาก สะดวก (Stabilize) – จัดระเบียบของที่จำเป็นต่อการใช้งาน ให้มีหมวดหมู่ชัดเจน และจัดเรียงไว้ในที่ของมัน สะอาด

Read More