Benchmarking คือ กระบวนการในการเทียบเคียงความสามารถในด้านต่าง ๆ เทียบกับคู่แข่ง ซึ่งบริษัท Xerox ผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารชั้นนำของโลก ได้นำวิธีการ Benchmarking นี้มาใช้ในช่วงปี 1980 เพื่อปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของตนเอง เนื่องจากบริษัท Xerox ประสบปัญหาด้านการตลาดอย่างรุนแรง สูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทคู่แข่งจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามาตีตลาดด้วยราคาสินค้าที่ต่ำกว่า และคุณภาพที่ดีกว่า
กระบวนการทำ Benchmarking คือ การวัด และเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติงานกับองค์กรที่ดีกว่า เพื่อนำผลเปรียบเทียบนั้นมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเองให้มุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยต้องเข้าไปเสาะแสวงหาวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ขององค์กรอื่น ๆ ค้นหาว่าอะไร คือ Key Success Factor ในการที่องค์กรนั้นทำจนประสบผลสำเร็จ แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรของเรา ขอย้ำนะครับอย่าไป copy คนอื่นมาทั้งดุ้น เพราะแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกัน
ประเภทการทำ Benchmarking
- Internal Benchmarking คือ การทำ Benchmark เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีลักษณะงานเหมือน ๆ กัน ภายในองค์กร เช่น แผนกผลิตที่ 1 กับ แผนกผลิตที่ 2 ซึ่งจะเหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ๆ ที่มีหลาย ๆ หน่วยงาน
- Competitive Benchmarking คือ การทำ Benchmark เปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน ซึ่งจะทำให้เรามองเห็นจุดอ่อน จุดแข็งขององค์กร เมื่อเทียบกับคู่แข่ง ข้อเสียของวิธีนี้ คือ จะหาข้อมูลได้ยาก เนื่องจากคู่แข่งต่างไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลให้กันและกัน
- Functional Benchmarking คือ การทำ Benchmark ที่สนใจเฉพาะลักษณะงานที่มีความคล้ายคลึงกัน โดยไม่ได้สนใจว่าจำเป็นต้องเป็นธุรกิจประเภทเดียวกัน ข้อดีของวิธีนี้ คือ จะหาข้อมูลเปรียบเทียบได้ง่าย เพราะไม่ต้องกังวลในเรื่องที่จะมาเป็นคู่แข่งกัน
สุดท้ายแล้วเมื่อทำ Benchmarking แล้วก็ต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อมุ่งมันสู่ความเป็นเลิศ
ดูรายละเอียดหลักสูตร “Systems Problem Solving and Decision Making”
สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466
contact@nairienroo.com
“นายเรียนรู้”
วิทยากร และที่ปรึกษา
A@LERT Learning and Consultant
มือถือ 086-7771833
E-mail : boonlert.alert@gmail.com
Facebook : นายเรียนรู้
Line ID : @lert
www.nairienroo.com