หลายโรงงานที่รับซื้อวัตถุดิบเป็นของสด เพื่อนำเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า น่าจะเจอปัญหาอย่างหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ บางครั้งราคาวัตถุดิบก็ช่างเย้ายวนใจให้ซื้อเสียเหลือเกิน แต่ปริมาณก็อาจจะมีไม่มาก จะเดินเครื่องผลิตที่ไม่รู้จะคุ้มค่าแรง ค่าไฟหรือเปล่า ? ปัญหาในลักษณะนี้ คงต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุนการผลิต (บาทต่อหน่วย) ที่ผันแปรไปตามปริมาณการผลิต (หน่วย) ว่าเป็นเช่นไร ? เพื่อนำข้อมูลในส่วนตรงนี้ไปให้ฝ่ายที่จัดหาวัตถุดิบเข้าโรงงาน ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะรับซื้อหรือไม่ ? จะเห็นได้ว่า การบริหารต้นทุนที่ดี ต้องอาศัยข้อมูลตัวเลขที่แท้จริงของแต่ละส่วน เข้ามาประกอบการพิจารณากันให้ดี สร้างเป็น Model
Author: นายเรียนรู้
ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างนี้ พนักงานหลาย ๆ คนคงได้รับมอบหมายนโยบายจากผู้บริหาร หัวหน้างาน ให้ช่วยกันหาแนวทางในการปรับปรุงงาน เพื่อลดต้นทุนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต หลายคนอาจจะเริ่มต้นไม่ถูก ไม่รู้จะมองหาไอเดียในการลดต้นทุนอย่างไร ? เทคนิคหนึ่งที่อยากจะแนะนำ ก็คือ ให้ลองเริ่มต้นค้นหาจากการทำงานรอบ ๆ ตัว ว่ามีความสูญเสียอะไรบ้างหรือเปล่า ? ความสูญเสียโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกออกได้ 8 ประเภทด้วยกัน Defects – งานผิด คือ การทำงานผิดพลาด
ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ถือเป็นทักษะการคิดพื้นฐานที่สำคัญ และขาดไม่ได้ในการทำงานภายในองค์กรในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบริหาร (Top Management) จนถึงระดับหน้างาน (Shop Floor) และเกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลิต กระทั่งฝ่ายบุคคล หลักคิดของการคิดเชิงวิเคราะห์นั้น เมื่อพิจารณาจากเครื่องมือการคิดวิเคราะห์ต่าง ๆ จะพบว่าเป็นการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงหาความสัมพันธ์ของข้อมูลในมิติต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์หาโอกาสในการพัฒนาและปรับปรุง เช่น การวิเคราะห์กลยุทธ์ธุรกิจด้วย TOWS Matrix โดยวิเคราะห์พิจารณาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายใน ได้แก่
Productivity Facilitator ฟันเฟืองสำคัญเพิ่มผลผลิตองค์กร
ในโลกแห่งการแข่งขันทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน องค์กรจะต้องมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งในแง่คุณภาพ (Quality) ระยะเวลาในส่งมอบ (Time) และต้นทุน (Cost) กิจกรรมเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) นับเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพนักงานทุกระดับตั้งแต่ระดับบริหาร (Top Management) จนถึงระดับหน้างาน (Shop Floor) ผ่านกิจกรรมปรับปรุงงานต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ การตอบสนองความต้องการลูกค้าอันนำมาสู่ผลกำไรขององค์กร นักส่งเสริมกิจกรรมเพิ่มผลผลิต (Productivity Facilitator) ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการดำเนินกิจกรรมเพิ่มผลผลิตโดยทำหน้าที่กระตุ้น
ก่อนเริ่มทำกิจกรรมปรับปรุงงานใด ๆ สิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจก่อน ก็คือในเรื่องบัญชีต้นทุน เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนของกิจการเราว่าเป็นอย่างไร ? การทำกิจกรรมปรับปรุงงานแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วม จะต้องเริ่มจากจุดนี้ โดยผู้บริหารระดับสูงขององค์กรจะต้องกำหนดเป้าหมายในภาพรวมว่าต้องการกำไรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ? เมื่อกระจายเป้าหมายไปแล้ว ฝ่ายขายต้องไปทำยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ? ไปลดต้นทุนการบริหารงานขายเท่าไหร่ ? ฝ่ายผลิตต้องไปลดต้นทุนเท่าไหร่ ? ถ้าเราลองไปวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต (Manufacturing Cost) ก็จะประกอบไปด้วยต้นทุนวัตถุดิบ (Raw Material Cost) ต้นทุนโสหุ้ยการผลิต
หลาย ๆ โรงงานที่ผลิตสินค้าบรรจุถุงขายเป็นแพ็กกรัม แพ็กกิโล ปัญหาอย่างหนึ่งที่ต้องเผชิญก็คือ จะควบคุมกระบวนการบรรจุถุงอย่างไร เพื่อไม่ให้ชั่งน้ำหนักสินค้าขาดไป ต่ำกว่าค่าน้ำหนักที่ระบุไว้ข้างถุง แต่จะชั่งเผื่อเกินไปมาก ก็จะทำให้กำไรหดหาย ดังนั้นในกระบวนการบรรจุถุง (Packing) จะต้องมีการเฝ้าติดตาม (monitor) ขีดความสามารถในการควบคุมกระบวนการ (Process Capability) ว่าสามารถควบคุมค่าน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักสินค้าที่กำหนดได้หรือไม่ จากรูปข้างบน Spec. ในการควบคุมน้ำหนักสินค้าค่าจะอยู่ระหว่างช่วง 200 g – 205
ช่วงนี้ได้มีโอกาสฟังข่าวการเลิกจ้างพนักงานบริษัทที่คืนใบอนุญาต ผู้ประกอบการ TV Digital หลายๆ บริษัททยอยเลิกจ้างพนักงานมาตั้งแต่เดือนเมษายน เริ่มตั้งแต่แจ้งคืนใบอนุญาต ขณะที่หลายๆ บริษัทเลิกจ้างในวินาทีสุดท้าย ซึ่งแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกัน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า “การถูกเลิกจ้าง” ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป ในฐานะคนทำงาน HR ที่เกี่ยวข้องกับการเลิกจ้างพนักงาน ก็มีประสบการณ์ตรงที่อยากแชร์เพื่อให้ทุกคนตระหนักและเตรียมพร้อมรับมือกับการเลิกจ้างที่สามารถเกิดขึ้นได้กับพวกเราทุกคนสมัยที่เริ่มทำงาน HR ในบริษัทข้ามชาติ เหตุการณ์การเลิกจ้างเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ช่วงเริ่มทำงานใหม่ๆ รู้สึกตกใจมากเมื่อทราบว่าบริษัทมีนโยบายเลิกจ้างพนักงาน แต่เจ้านายซึ่งเป็น HR Director อธิบายว่าเป็น
Facilitator หรือที่เราคุ้นหูกันในภาษาไทยคือ “กระบวนกร” ในขณะที่อีกหลายคนเรียกว่า นักอำนวยการเรียนรู้, นักไกล่เกลี่ย ฯลฯ และไม่ว่าจะมีชื่อเรียกใด Guru กล่าวถึงบทบาทของ “กระบวนกร” ว่าหมายถึง “ผู้ดำเนินกระบวนการเพื่อให้เกิดความง่ายต่อกลุ่มผู้มีส่วนร่วมเพื่อบรรลุข้อสรุปร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (to make things easy for participants to conclude something together)”. กลุ่มผู้มีส่วนร่วมหรือกลุ่มผู้เกี่ยวข้องอาจหมายถึงสมาชิกในองค์กรเดียวกัน หรือผู้มีส่วนร่วมจากต่างองค์กร
ประเด็นสำคัญในการแก้ปัญหาด้วย QC Story และ QC 7 Tools มีดังนี้ มุมมองในการทำความเข้าใจกับปัญหา คือ ความแตกต่างระหว่าง ผลงานที่เกิดขึ้นจริง (Actual Performance) กับผลงานที่ควรจะเป็น (Should Performance) ดังนั้นถ้าแก้ปัญหาได้สำเร็จจริง ผลงานจะต้องดีขึ้น สิ่งที่สำคัญก่อนการวิเคราะห์สาเหตุ คือ ต้องสังเกตการณ์อาการ ปรากฏการณ์ที่เป็นตัวบ่งชี้ปัญหาอย่างละเอียดโดยใช้หลัก 5G คือ
TQM, QCC, QC Story และ 7 QC Tools มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร ? TQM ย่อมาจาก Total Quality Management แต่ไม่ใช่เรื่องของแผนกคุณภาพเพียงแผนกเดียว เป็นเรื่องของการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้ได้สินค้า / บริการที่มีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า การนำแนวคิดการบริหารแบบ TQM มาใช้ให้ประสบผลสำเร็จนั้น ต้องส่งเสริมให้พนักงานทุกคนช่วยกันคิดปรับปรุงงานและแก้ไขปัญหาที่หน้างานของตนเองผ่านการรวมกลุ่มทำกิจกรรมด้วยกันในรูปแบบกลุ่ม