fbpx

สัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสเจอกับคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่สองคน คือ “ครูบริ๊งค์” – อติเวทย์ ตั้งอมรสุขสันต์ และ “น้องนิดหน่อย” – สิริรัตน์ รองเดช ที่มีความมุ่งมั่นอยากเปลี่ยนแปลงในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาของประเทศไทย โดยคิดโครงการชื่อว่า “เติมเต็ม” น้องสองคนเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า จากการสำรวจรายได้ของคนไทย พบว่าคนที่มีฐานะดีในประเทศนั้นมีน้อยกว่าคนฐานะไม่ค่อยดี ส่วนหนึ่งที่เกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้นั้น เกิดจากโอกาสทางการศึกษาที่แตกต่างกัน คนที่มีฐานะที่ดีกว่า สามารถมีเงินไปลงเรียนกวดวิชา ทำให้ได้ความรู้ที่ดีกว่า สามารถทำคะแนนสอบได้ดี ทำให้มีโอกาสศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย และคณะที่มีชื่อเสียงที่ใฝ่ฝัน

Read More

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2557 คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้มอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2014 ให้กับมาลาลา ยูซาฟไซ (Malala Yousafzai) เด็กสาววัย 17 ปีชาวปากีสถาน นักเคลื่อนไหวเพื่อการศึกษาของเด็กและสตรีในการเข้ารับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกับผู้ชายในสังคมตอลีบาน ประเทศปากีสถาน ที่ยังคงมีการห้ามไม่ให้เด็กผู้หญิงเรียนหนังสือในโรงเรียน ซึ่งเธอเคลื่อนไหวเรื่องนี้มาตั้งแต่อายุได้ 12 ปี สร้างความไม่พอใจให้กับผู้ก่อการร้ายตอลีบานจนเธอเกือบเสียชีวิตจากการถูกมือปืนตอลีบานยิงในระยะเผาขน ขณะที่เธอกำลังนั่งรถโรงเรียนกลับบ้าน ในเดือนตุลาคม 2555 เธอเคยได้รับรางวัลเยาวชนเพื่อสันติภาพแห่งชาติ (National

Read More

ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสได้พบกับกัลยาณมิตรที่ดีที่มีความตั้งใจที่ดีในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย ท่านแรก คือ ดร.ไสว บุญมา อดีตเศรษฐกรอาวุโสของ World Bank ผู้ก่อตั้งมูลนิธินักอ่านบ้านนา และคุณสุภกร บัวสาย กรรมการ และเลขานุก่าร ในคณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน ในเวที “ล้อมวงคุย กับ ดร.ไสว บุญมา” ที่จัดขึ้นที่ร้าน House of Commons –

Read More

แนะนำหนังสือดีดีที่น่าอ่านครับ วิชา “ความคิด” ที่คุ้มค่าหน่วยกิตที่สุดในโลก เขียนโดย Tina Seelig ผู้เขียนหนังสือ “น่าจะรู้อย่างนี้ตั้งแต่ตอนอายุ 20” หนังสือเล่มนี้เกริ่นนำไว้อย่างน่าสนใจว่า “ในทุกๆแวดวงคนที่ประสบความสำเร็จล้วนแต่เป็นนักคิดสร้างสรรค์ทั้งสิ้น …แต่ในโรงเรียนกลับแทบไม่เคยสอนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หรือแทบไม่มองว่ามันเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้กันได้ด้วยซ้ำ” เปรียบเทียบ “วิธีคิดเชิงวิทยาศาสตร์” กับ “วิธีคิดเชิงสร้างสรรค์” ได้อย่างชัดเจนว่า “คุณสามารถค้นพบ สิ่งต่างๆได้ด้วยวิธ๊คิดเชิงวิทยาศาสตร์ แต่หากคุณต้องการคิดค้น สิ่งใหม่ ๆ นั้นย่อมต้องใช้วิธีคิดเชิงสร้างสรรค์” การทลายกรอบความคิดด้วยคำถามว่า “ทำไม” เช่น

Read More

(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ ​23/11/2557) ในชีวิตของทุกคนไม่ว่าผู้ใหญ่ หรือเด็ก ล้วนแต่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างต่างนานา ไม่ว่าจะเล็กหรือว่าใหญ่ เพียงแต่ใครจะมองว่าสิ่งนั้นเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้น หรือเป็นสิ่งนั้นเป็นความท้าทายที่ทำให้เราเติบโตทางปัญญา แท้ที่จริงแล้วประเภทของปัญหา สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท Standard Problem คือ ความแตกต่างระหว่าง “สิ่งที่เป็นอยู่” กับ “สิ่งที่ควรจะเป็น” Challenge

Read More

เมื่อวานเย็นเรียกรถ TAXI จากร้านกลับบ้าน รถค่อนข้างติดเหมือนกันบนเส้นราชพฤกษ์ ได้คุยกับคนขับมีทั้งเรื่องมีสาระ และเรื่องมีขำขัน มาเล่าสู่กันฟัง เริ่มที่เรื่องขำขันกันก่อน พี่คนขับ TAXI บอกว่า เนี่ยศุกร์กลางเดือนรถไม่ติดเท่าไหร่หรอก กลับบ้านกินมาม่ากันหมด ต้นเดือนเที่ยวกินราเมง ถ่ายรูปลง Facebook กันจัง พอกลางเดือนเงินหมดกินมาม่าอยู่ห้องเสือกไม่ถ่ายรูปลง Facebook บ้าง ก็เลยชวนคุยต่อว่าต้นเดือน กลางเดือน ปลายเดือนมีผลไหมต่อรายได้ค่า TAXI พี่คนขับบอกว่าคนอื่นผมไม่รู้หรอกนะ

Read More

ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้ไปบรรยายหลักสูตร “Heart of Analytical Thinking skills – HATs) ให้กับครูผู้บริหารโรงเรียน และบุคลากรผู้สอน ของ โรงเรียนหินกอง (พิบูลอนุสรณ์) จ.สระบุรี และโรงเรียนบ้านเขาแดง (ราษฎร์อุปถัมภ์) จ.สงขลา ภายใต้การสนับสนุนจาก ปตท. ในชื่อโครงการ “โรงเรียนพลังไทย” เพื่อพัฒนาแลกเปลี่ยนทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์

Read More

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2557 ผู้เขียนได้ไปร่วมงานสัมมนา “Super Corporate Power สร้างพลังเพื่อองค์กรที่แข็งแกร่ง” ที่จัดโดย ธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับ นานมีบุ๊คส์ ก่อนเริ่มงานสัมมนาผู้เขียนได้แวะเลือกซื้อหนังสือที่บูธของนานมีบุ๊คส์ หนึ่งในหนังสือเล่มหนึ่งที่เลือกมาวันนั้น และอยากจะหยิบมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ คือ หนังสือที่ชื่อว่า “คุยกับลูกด้วยวิธีชี้แนะดีกว่า Coaching Conversation” น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่ทำหน้าที่วิทยากร และที่ปรึกษาอย่างผม ที่หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอมุมมองในการนำทักษะการ Coaching

Read More