fbpx

ความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม คือ ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมขององค์กร ด้วยความโปร่งใสและมีจริยธรรม โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จะต้องตั้งมั่นอยู่บน หลักการความรับผิดชอบต่อสังคม 7 ประการ 1.หลักการความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในสิ่งที่เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากองค์กร โดยองค์กรควรยอมรับการตรวจสอบ และพร้อมที่จะรับผิดชอบในผลการตรวจสอบนั้น 2.หลักการความโปร่งใส (Transparency) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรมีความโปร่งใสในการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมขององค์กร ที่มีผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม

Read More

ด้วยการเติบโตและพัฒนาของภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งมีการขยายกำลังการผลิต และเติบโตอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหามลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาความเป็นธรรมในการจ้างงาน รวมไปถึงผลกระทบอื่น ๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ผู้ประกอบการที่มีธรรมาภิบาล (Good Governance) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ทั้งหมด มิใช่คำนึงถึงผลกำไรของบริษัท กับผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (Shareholders) เพียงเท่านั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีแนวทางในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และมีมาตรฐานในการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้จัดทำมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (Standard

Read More

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 ทางองค์การสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่อง “ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์” เป็นบุคคลสำคัญของโลก และในปี 2559 ที่จะครบรอบ 100 ปี ชาตกาล “ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์” ทางมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป  ได้จัดพิมพ์ปฏิทินตั้งโต๊ะ “100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์

Read More

“Butterfly Effect” “ทฤษฎีผีเสื้อกระพือปีก (Butterfly effect)” อันลือลั่นนั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาวงจรชีวิตของเจ้าผีเสื้อตัวน้อยแต่อย่างใด แต่เกิดจากการทดลองทางด้านการพยากรณ์อากาศ ในปี ค.ศ. 1961 ของเอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ (Edward Lorenz) ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองสภาพอากาศ ซึ่งในการคำนวณครั้งถัดมาเขาไม่ต้องการเริ่มแบบจำลองจากจุดเริ่มต้นใหม่เพื่อประหยัดเวลาในการคำนวณ เขาจึงใช้ข้อมูลในการคำนวณก่อนหน้านี้เพื่อเป็นค่าเริ่มต้น เขาพบว่าสาเหตุเกิดจากการปัดเศษ จากการคำนวณค่าที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีค่าน้อยมากแม้แค่เพียง .0000001 ที่คลาดเคลื่อนไปนั้นก็สามารถนำไปสู่ความแตกต่างอย่างมากมาย เรียกว่าไวต่อสภาวะเริ่มต้น ซึ่งก่อให้เกิดกราฟรูปผีเสื้อ

Read More

วันนี้ (07/11/58) ได้ไปใช้บริการที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ได้เป็นคิวเสริมตรวจกับหมอในช่วงบ่าย ผมไปถึงที่โรงพยาบาลประมาณ 13:20 น. ก็ทำการตรวจวัดความดัน ชั่งน้ำหนักตามปกติ แล้วก็รอคิวเข้าพบหมอ ได้เป็นคิวที่ 7 ในการเข้าตรวจ ก็นั่งรออยู่ประมาณ 25-30 นาที ก็ได้เข้าพบหมอ ใช้เวลาในการพบหมอประมาณ 10 นาที เป็นอันว่าตรวจเสร็จสิ้นเวลา 14:00 น. โดยวันนี้ไม่ได้มีการจ่ายยาใด ๆ

Read More

บุรุษนามว่า OSHO “OSHO” นักปรัชญาร่วมสมัยชาวอินเดีย แม้บุรุษผู้นี้จะล่วงลับไปแล้ว แต่คำบรรยายของ “OSHO” ต่อสานุศิษย์ทั้งหลาย ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ทันสมัย และเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ง่าย จนได้มีการถอดเทปการบรรยายของท่านออกเป็นหนังสือซีรีย์ต่าง ๆ จำนวนมากมาย และได้รับการแปลและเผยแพร่ในหลายภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย โดยส่วนใหญ่หนังสือภาษาไทยของ “OSHO” จะถูกจัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ Freemind ได้แก่ ปัญญาญาณ, อิสรภาพ, วุฒิภาวะ, เชาว์ปัญญา,

Read More

The Lemon Tree บนเส้นทางการเรียนรู้ มีหลากหลายเส้นทางในการเรียนรู้ เพื่อทำให้เรามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ ได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน ที่เราสามารถหาความรู้ได้มากมายทั้งบนโลกออนไลน์ผ่านทาง Google, YouTube ฯลฯ หรือบนโลกที่จับต้องตัวสื่อได้ เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน, นิตยสาร, หนังสือต่าง ๆ “The Lemon Tree” ผลงานของ “SANDY TOLAN”

Read More

คำถาม สำคัญกว่า คำตอบ แท้จริงแล้วในโลกการศึกษาของมนุษย์เราในปัจจุบันตั้งแต่ระดับอนุบาล จนถึงระดับปริญญานั้น เราถูกสอนให้หาแต่ คำตอบ เราถูกสอนให้ว่าต้องเรียนรู้อะไร เราถูกสอนให้เรียนรู้ว่าต้องทำอย่างไร แต่น้อยมากที่จะมีใครจะชี้แนะเราว่า “ทำไมถึงต้องเป็นเช่นนั้น” เด็กโดยธรรมชาติแล้ว เกิดมาพร้อมกับความกระหายใคร่รู้อยู่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นสัญชาตญาณติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เมื่อพบเห็นอะไรใหม่ ๆ ก็จะตั้งคำถามว่าทำไม ทำไม จนเรียกได้ว่าเป็น “เจ้าหนูจำไม” ประจำบ้านกันเลยทีเดียว แต่เพราะผู้ใหญ่นี่แหละครับ ที่ทำให้สัญชาตญาณที่มีอยู่ล้นเปี่ยมของเด็กน้อยนั้นค่อย ๆ เลือนหายไป

Read More

คณิตศาสตร์ข้างถนน ผู้เขียนชื่นชอบการกินเต้าฮวยมาก ๆ ส่วนภรรยาก็ชื่นชอบการกินน้ำเต้าหู้อย่างมากเช่นกัน และแถวบ้านก็มีร้านขายเต้าฮวย-น้ำเต้าหู้อยู่เจ้าหนึ่ง อยู่ในซอยเพชรเกษม 54 เข้าซอยไปประมาณ 30 เมตร อยู่ด้านซ้ายมือ ขอบอกว่าอร่อย…อร่อย…มาก ๆ เนื้อเต้าฮวยเนียนมาก ๆ และน้ำขิงก็เผ็ดได้ใจกำลังดี ซดเข้าปากแล้วสดชื่นทันตา ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผู้เขียนกับภรรยาเวลาซื้อก็มักจะซื้อไปฝากเพื่อนบ้านด้วย ก็ซื้อกันประมาณอย่างละ 3-4 ถุง ซึ่งหากอาเจ๊กแก้ตั้งราคา 10 บาท

Read More

เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วที่ผู้เขียนได้เขียนถึงเรื่อง “ผีเสื้อกระพือปีก” จากการได้พูดคุยกับ ดร.ไสว บุญมา ที่จะขยายแนวคิดโครงการส่งเสริมการอ่านนี้ไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดแรงกระเพื่อมในวงกว้างนั้น ในวันเสาร์ที่ผ่านมา (23/11/56) ที่ร้าน House of  Commons – Café&Space (https://www.facebook.com/HOCSpace) ร้านกาแฟสไตล์ Learning Community เล็ก ๆ ย่านฝั่งธน ริม ถ.เจริญนคร

Read More