ความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม คือ ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมขององค์กร ด้วยความโปร่งใสและมีจริยธรรม
โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จะต้องตั้งมั่นอยู่บน
หลักการความรับผิดชอบต่อสังคม 7 ประการ
1.หลักการความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability)
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในสิ่งที่เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากองค์กร โดยองค์กรควรยอมรับการตรวจสอบ และพร้อมที่จะรับผิดชอบในผลการตรวจสอบนั้น
2.หลักการความโปร่งใส (Transparency)
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรมีความโปร่งใสในการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมขององค์กร ที่มีผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
3.หลักการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม (Ethical behavior)
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรมีการพัฒนาโครงสร้างธรรมาภิบาลที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม อยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ และความยุติธรรม
4.หลักการยอมรับถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย (Respect for stakeholder interests)
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรชี้บ่งผู้มีส่วนได้เสีย เคารพต่อผลประโยชน์และความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย และควรพิจารณาผลกระทบจากการตัดสินใจหรือการดำเนินกิจกรรมขององค์กรในมุมมองของผู้มีส่วนได้เสีย
5.หลักการเคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for the rule of law)
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมาย และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมขององค์กร
6.หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติสากล (Respect for international norms of behavior)
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรเคารพ และยึดมั่นต่อแนวปฏิบัติสากล หลีกเลี่ยงการร่วมกับองค์กรอื่นในการดำเนินกิจกรรมที่ผิดต่อแนวปฏิบัติสากล
7.หลักการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน (Respect for human rights)
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในระดับสากลที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกประเทศ ทุกวัฒนธรรม และทุกสถานการณ์
(อ้างอิงจาก : มาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม หน้า 16-19)
“นายเรียนรู้”
วิทยากร และที่ปรึกษา
A@LERT Learning and Consultant
มือถือ 086-7771833
E-mail : boonlert.alert@gmail.com
Facebook : นายเรียนรู้
Line ID : @lert
www.nairienroo.com