เปิดต้นศักราช ในวันที่ 2 มกราคม 2560 ได้มีโอกาสอันดีในการมาอบรมที่ศศนิเวศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ “Understand Yourself & Others with the MBTI” กับอาจารย์วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช ผู้แปลหนังสือที่ชื่อว่า “ไขรหัสใจ ค้นใจฉัน เข้าใจกัน ด้วย MBTI” และผู้แปลหนังสือ Enneagram ในเมืองไทยหลายเล่ม
ที่มีความสนใจในเรื่อง MBTI นั้น บอกได้เลยว่าเป็นเพราะความเชื่อมั่นในตัวอาจารย์วาจาสิทธิ์ เป็นการส่วนตัว เพราะอาจารย์เป็นคนที่ศึกษาเรื่องใดนั้นก็จะศึกษาอย่างจริงจัง อย่างเช่นที่อาจารย์ให้ความสำคัญ และลงลึกในการศึกษา Enneagram เมื่ออาจารย์มาศึกษาเรื่อง MBTI อีก แสดงว่ามันต้องมีอะไรดีเป็นพิเศษ
MBTI ย่อมาจากคำว่า Myers Briggs Type Indicator ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยแม่ และลูกสาวคู่หนึ่ง ที่สนใจในเรื่องจิตวิทยา โดยได้พัฒนามาจากการศึกษาแนวคิดของคาร์ล จุง
MBTI เป็นแบบทดสอบบุคคลิกภาพที่เป็นตัวต้นของเราแต่ดั้งเดิม เป็นโดยเนื้อแท้โดยเปรียบเทียบความถนัดในแต่ละคู่ทั้ง 4 คู่ ซึ่งคำว่าโดยเนื้อแท้นั้นมีความหมายในเชิงเปรียบเทียบกับคนเราที่มีความถนัดมือซ้ายมือขวา ที่บางคนที่ถนัดมือซ้าย ก็จะถูกคุณครูบังคับให้เขียนด้วยมือขวา ก็เลยสามารถเขียนได้ทั้ง 2 มือ แต่โดยเนื้อแท้ที่เป็นธรรมชาติก็จะมีความถนัดซ้ายเป็นหลัก
คู่แรก E กับ I (Extrovert กับ Introvert)
ตัวบ่งชี้ที่ว่าเราเป็นคนแบบไหนก็คือ Source of Energy ให้พิจารณาว่าเวลาเราออกไปข้างนอก เรารู้สึกได้รับพลัง แสดงว่าเราเป็น E แต่ถ้าเราออกไปข้างนอก เรารู้สึกสูญเสียพลัง แสดงว่าเราเป็น I กลับกันหากเราอยู่ที่บ้านคนเดียว ทำงานคนเดียว เรารู้สึกได้รับพลัง แสดงว่าเราเป็น I แต่ถ้าเรารู้สึกสูญเสียพลัง แสดงว่าเราเป็น E
อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นชัดก็คือ อาจารย์เปรียบเทียบในเรื่องการสื่อสารว่า ถ้าเป็น I จะ Prefer to communicate with writing แต่ถ้าเป็น E จะ Prefer to communicate with talking รู้อย่างนี้แล้วก็คงเดาไม่ยากว่าผู้เขียนเป็นคนแบบ E หรือ I
หรือถ้าเป็น I ในเรื่องการคิดจะเน้น Process การคิดที่ภายใน จะต้องคิดให้ดีก่อนจึงจะพูดออกมา ส่วนถ้าเป็น E ในเรื่องการคิดจะเน้น Process การคิดที่ภายนอก พูดไปคิดไป จึงอาจจะดูว่า พูดไม่คิด แต่มันเป็น Process ในการคิดของคนแบบ E
คู่ที่สอง S กับ N (Sensing กับ Intuition)
ตัวบ่งชี้ที่ว่าเราเป็นคนแบบไหนก็คือ ในเรื่อง Perception เรามีการรับรู้อย่างไร Way of Gather Info
ถ้าเป็นแบบ S จะเน้นในเรื่องการรับรู้ผ่านสัมผัสทั้ง 5 ยึดในข้อเท็จจริงเป็นหลัก
ส่วนถ้าเป็นแบบ N จะรับรู้ข้อมูล แล้วนำมาเชื่อมโยงเข้ากับสิ่งรอบ ๆ ตัว แล้วตีความเพิ่มเติม
คู่ที่สาม T กับ F (Thinking กับ Feeling)
ตัวบ่งชี้ที่ว่าเราเป็นคนแบบไหนก็คือ เวลาเราตัดสินใจ Decision Making เรื่องใดก็ตาม เรายึดถืออะไรเป็นเกณฑ์ตัดสิน ถ้าเรายึดเป้าหมาย เน้นตรรกะเหตุผลเป็นสำคัญ มีมุมมองแบบ Objective View แสดงว่าเราเป็นคนแบบ T แต่ถ้าเราให้ความใส่ใจถึงผลกระทบต่อผู้คน people-centered มีมุมมองแบบ Emphatic View แสดงว่าเราเป็นคนแบบ F
คู่ที่สี่ J กับ P (Judging กับ Perceiving)
ตัวบ่งชี้ที่ว่าเราเป็นคนแบบไหนก็คือ Life Style ในการดำเนินชีวิตทั้งเรื่องส่วนตัว และเรื่องงาน ถ้าใครชอบที่จะวางแผน ทำสิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้เป็นระบบระเบียบ แสดงว่าเป็นคนแบบ J แต่ถ้าใครที่มักทำตัวสบาย ๆ มีความยืดหยุ่น พร้อมปรับเปลี่ยนตอบโต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้โดยทันที หรือที่เรียกว่าเป็นคน Spontaneous ก็จะเป็นคนแบบ P จึงไม่ค่อยมีมีความเครียดความกังวลกับ Dead-line ตรงข้ามกับคนแบบ J จะรู้สึกเครียดทันทีเมือใกล้ถึง Dead-line แล้วงานยังไม่เรียบร้อย
เมื่อนำคู่เปรียบเทียบทั้ง 4 คู่มาทำการประเมินแล้ว เราจะได้คนที่มีบุคลิกลักษณะออกเป็น 16 แบบ ตามตาราง
ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ 4 ประเภท
กลุ่ม NF – ให้ดูที่คอลัมน์ที่ 3 (INFJ, INFP, ENFP, ENFJ) จะเป็น “นักอุดมคติ”
กลุ่ม NT – ให้ดูที่คอลัมน์ที่ 4 (INTJ, INTP, ENTP, ENTJ) จะเป็น “นักแสวงหาความรู้”
กลุ่ม SJ – ให้ดูที่คอลัมน์ 1 และ 2 เฉพาะแถวที่ 1 และ 4 (ISTJ, ISFJ, ESTJ, ESFJ) จะเป็น “ผู้ทำตามหน้าที่”
กลุ่ม SP – ให้ดูที่คอลัมน์ 1 และ 2 เฉพาะแถวที่ 2 และ 3 (ISTP, ISFP, ESTP, ESFP) จะเป็น “ผู้ทำตามหน้าที่”
ซึ่งหลักการแบ่งในตารางนี้มีความน่าสนใจตรงที่ว่า
คอลัมน์ที่ 1 เป็น ST -Sensing and Thinking
คอลัมน์ที่ 2 เป็น SF -Sensing and Feeling
คอลัมน์ที่ 3 เป็น NF -Intuition and Feeling
คอลัมน์ที่ 4 เป็น NT -Intuition and Thinking
ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดในเรื่อง Whole Brain อีกด้วย
“นายเรียนรู้”
วิทยากร และที่ปรึกษา
A@LERT Learning and Consultant
มือถือ 086-7771833
E-mail : boonlert.alert@gmail.com
Facebook : นายเรียนรู้
Line ID : @lert
www.nairienroo.com