fbpx

"แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วย Systems Thinking"

เมื่อเอ่ยถึง Learning Organization หลายคนจะนึกถึงหนังสือที่ชื่อว่า “The Fifth Discipline” ของ Peter M. Senge ซึ่งพูดถึงวินัยทั้ง 5 ประการ ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้แก่

  1. Personal Mastery
  2. Mental Models
  3. Shared Vision
  4. Team Learning
  5. Systems Thinking

แต่เหตุใด Peter M. Senge จึงตั้งชื่อว่า The Fifth Discipline เพราะ Senge เชื่อว่า “Systems Thinking” คือ วินัยที่เป็นเสาหลักสำคัญขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (The Cornerstone of the Learning Organization)

Systems Thinking คือ ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ที่มุ่งเน้นในการมองภาพรวม มองให้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ แทนที่จะมองแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มองให้เห็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะมองเฉพาะจุด

จริง ๆ แล้ว ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking) เป็นเรื่องที่เราสามารถมองเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ถ้าลองจินตนาการถึงการเติมน้ำใส่แก้วเพื่อแปรงฟัน คุณอาจจะคิดว่าก็คงไม่มีอะไร “ก็แค่เปิดก๊อกน้ำเติมน้ำใส่แก้ว” ดูเหมือนลำดับความคิดจะเป็นแบบเส้นตรง (Linear Thinking)

แต่ในความเป็นจริง รูปแบบความคิดในสมองคุณไม่ได้เป็นเช่นนั้น ขณะที่คุณกำลังเติมน้ำนั้น สายตาคุณก็กำลังมองระดับน้ำในแก้วที่ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้น สมองคุณก็เริ่มเปรียบเทียบระดับน้ำในแก้วกับระดับน้ำที่ต้องการ จากนั้นสมองคุณก็เริ่มสั่งการร่างกายให้มือขยับไปหมุนก็อกน้ำให้ค่อย ๆ ปิดลง จนปิดสนิทเมื่อระดับน้ำในแก้วขึ้นมาถึงระดับที่ต้องการ

จะเห็นว่ากระบวนการ “เติมน้ำใส่แก้ว” นั้น ก็เป็นตัวอย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ที่ใช้ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)

Slide1

กระบวนการแก้ปัญหาก็เช่นกัน ที่ผ่านมาเราก็เรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหา เช่น 7 Steps of QC Story ซึ่งเราก็จะรับรู้กระบวนการแก้ปัญหาในรูปแบบวิธีคิดแบบเส้นตรง (Linear Thinking)

สิ่งที่ผู้เขียนอยากนำเสนอ ก็คือ กระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systems Problem Solving) ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยเริ่มต้นที่

Step 1 – Problem ต้องรู้ให้แน่ชัดเสียก่อนว่าปัญหาของเรา คือ อะไร ? ซึ่งเราจะรู้ได้จาก

1.1 Actual Performance สิ่งที่ทำได้จริง ทำได้อยู่ที่เท่าไหร่

1.2 Target สิ่งที่เราต้องการได้ หรือ เป้าหมาย อยู่ที่เท่าไหร่

ซึ่งก็จะทำให้เรารู้ว่าปัจจุบันมีช่องว่าง (GAP) อยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

Step 2 – Measure การสำรวจสถานะปัจจุบัน เพื่อทำความเข้าใจปัญหาให้ชัดเจน

Step 3 – Analysis การวิเคราะห์ปัญหาว่ามีสาเหตุจากอะไร ซึ่งมีหลากหลายเครื่องมือในการวิเคราะห์

Step 4 – Implement เมื่อรู้สาเหตุแล้ว ก็หามาตรการแก้ไขสาเหตุนั้น ซึ่งเมื่อเราลงมือแก้ไข ก็จะส่งผลให้ค่า Actual Performance เปลี่ยนแปลงไป

ทำการเปรียบเทียบค่าระหว่าง Target กับ Actual ว่ายังมีความแตกต่างกันหรือไม่ ? หากยังมีอยู่ก็ต้องทำการแก้ไขจนกว่าปัญหาจะหมดไป เมื่อดำเนินการไปจนบรรลุเป้าหมาย คือ ปัญหาหมดไปแล้ว จึงจัดการควบคุมให้อยู่ในมาตรฐาน

จะเห็นว่าทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking) นับเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้หมดไป

ดูรายละเอียดหลักสูตร “Systems Problem Solving and Decision Making”

สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466

contact@nairienroo.com

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts