บันทึกเรื่องราว “ครูไม่กั๊ก ศิษย์รักทำ” เป็นเรื่องราวที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้ติดตาม อ.ไชยยศ ปั้นสกุลไชย ไปทำหน้าที่ผู้ช่วยวิทยากร (Trainer Assistant) ในหลักสูตรต่าง ๆ ซึ่งเป็นเทคนิค ความรู้ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่ได้เรียนรู้โดยตรงผ่านประสบการณ์จริง (Experience Learning) ที่หลายเรื่อง อ.ไชยยศ ไม่สามารถถ่ายทอดได้หมดในหลักสูตร Innovative Trainer ที่เรียนในห้อง 5 วัน เรียกได้ว่าเป็นการถ่ายทอดกระบวนยุทธ์วิทยากรแบบ “ครูไม่กั๊ก” ส่วนผู้เป็น “ศิษย์” ใจต้อง “รัก” และลงมือ “ทำ”
Case Study เป็นอีกกลยุทธ์วิธีการสอนหนึ่งที่วิทยากรหลาย ๆ คน เลือกที่จะนำมาใช้ในการสอน อ.ไชยยศ เองก็เช่นกันก็จะมี Case Study มาใช้ประกอบในหลักสูตรเช่นกัน โดยแบ่งที่มาได้ดังนี้
1. เขียนจากประสบการณ์จริงโดยตรง
2. เขียนจาก Case ที่เคยเกิดปัญหาขึ้นจริงของบริษัทของลูกค้า
3. เขียนจากสิ่งที่พบจากการลงหน้างานจริง ก่อนนำมาสอนใน Class
4. อ่านหนังสือพิมพ์เป็นประจำ และตัดเรื่องดีดีที่มีเขียนไว้ในหนังสือพิมพ์มาใช้เลย
5. ให้ผู้เรียนดู Clip VDO กรณีศึกษาด้านธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ (ความยาวคลิปไม่ควรเกิน 5 นาที)
ในหลักสูตร “การแก้ปัญหา และตัดสินใจ” ก็จะมี Case Study หนึ่งที่ อ.ไชยยศ หยิบมาใช้เป็นประจำ คือ บทความของคุณธนา เธียรอัจฉริยะ ที่เขียนไว้ใน นสพ.ประชาชาติธุรกิจ “Just Do It วิธีของมวยรอง” ซึ่งเอกสารประกอบการสอนใน Case Study นี้ อ.ไชยยศ ก็ได้สั่งให้เลขาฯ คือ คุณวาสนา ไปกว้านซื้อหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นไว้ บางส่วนก็มาถ่ายสีเพิ่มเติม และเคลือบพลาสติกแข็งอย่างดี มีอยู่ประมาณ 25 ชุด ซึ่งเพียงพอสำหรับการสอน Class ปกติทั่วไปของอาจารย์ที่คนเรียนจะอยู่ประมาณ 20 คน
แต่ในวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2557 ที่ไปจัดสอนที่ LPN Academy นั้น ผู้เรียนเยอะมาก 36 คนเลยทีเดียว แต่ทางคุณวาสนาก็เตรียมแผนสำรองไว้พร้อมมีถ่ายเป็นชุดเอกสารขาว-ดำมาอีก 20 ชุด
ตอนเช้าผมก็จัดเรียงเอกสารไว้พร้อมทั้งหมด 6 กลุ่มกลุ่มละ 6 ชุด โดยจัดเป็นเอกสารขาว-ดำ 3 กลุ่ม (18 ชุด) และเอกสารสีอีก 3 กลุ่ม (18 ชุด) เพื่อพร้อมจะแจกในช่วงทำกิจกรรมนี้ เหลือเอกสารสีที่คุณวาสนาเตรียมมาอีก 7 ชุด พอถึงช่วงทำกิจกรรมก็แจกเอกสารให้แต่ละกลุ่มตามที่เตรียมไว้
พอตกเย็น มานั่งรอรถตู้ที่ Lobby ใต้ตึก PST City Home ระหว่างรอรถตู้มารับเพื่อเดินทางไป Workshop ที่ชะอำ กันต่อนั้น อ.ไชยยศ ก็เอ่ยถามขึ้นมาว่า
“คุณบุญเลิศครับ วันนี้วาสนาเขาเตรียมตัวเอกสาร Case Study ที่เป็นสีมาไม่พอเหรอครับ”
“พอครับอาจารย์ มีทั้งหมด 25 ชุด แต่ผมแบ่งแจกไปเอกสารสี 3 กลุ่ม เอกสารขาว-ดำ 3 กลุ่มนะครับ”
“ทำไมคุณบุญเลิศ จึงเลือกแจกอย่างนั้นละครับ ?”
“ก็ไม่ได้คิดอะไรมากครับ เพราะที่คุณวาสนาเตรียมมามีทั้งแบบขาว-ดำ และแบบสี ผมเลยแบ่งใช้เท่า ๆ กัน”
“แต่ถ้าเป็นอาจารย์นะ อาจารย์จะเลือกใช้เอกสารสีเป็นหลัก ใช้ให้หมดก่อน และพยายามกระจายให้แต่ละกลุ่มมีเอกสารสีเท่า ๆ กัน ที่เหลือค่อยเติมด้วยเอกสารขาว-ดำ”
“ทำไมอาจารย์จึงเลือกทำเช่นนั้นครับ ?”
“คุณบุญเลิศ คิดดูนะ Feeling เวลาที่เราได้อ่านเอกสารสีเรารู้สึกอย่างไร และที่อาจารย์ให้คุณวาสนาไปไล่กว้านซื้อหนังสือพิมพ์มานั้น เพราะอาจารย์อยากให้ผู้เรียนได้ Feeling เหมือนอ่านหนังสือพิมพ์จริง ๆ”
“เข้าใจแล้วครับ”
อีกหนึ่งบทเรียนทำให้ได้เรียนรู้ว่า “เอกสารประกอบ Case Study…อย่าคิดว่าไม่สำคัญ”
“นายเรียนรู้”
วิทยากร และที่ปรึกษา
A@LERT Learning and Consultant
มือถือ 086-7771833
E-mail : boonlert.alert@gmail.com
Facebook : นายเรียนรู้
Line ID : @lert
www.nairienroo.com